สพล ชนวีร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สพล ชนวีร์
เกิดปิยะรัชต์ อรรถกรศิริโพธิ์
8 มีนาคม พ.ศ. 2523 (44 ปี)
อาชีพนักแสดง
คู่สมรสขวัญฤดี ธานินทรประชา
บุตร2 คน
บุพการี
  • พลตรีพิษณุ อรรถกรศิริโพธิ์ (บิดา)
ญาติมาติกา อรรถกรศิริโพธิ์ (น้องสาว)

สพล ชนวีร์ (เกิด 8 มีนาคม 2523) เป็นอดีตนักแสดงชายชาวไทย มีชื่อเสียงจากการรับบทเป็นพระเอกในละครจักร ๆ วงศ์ ๆหลายเรื่อง[1]

ประวัติ[แก้]

สพล ชนวีร์ มีชื่อจริงว่า ปิยะรัชต์ อรรถกรศิริโพธิ์ ชื่อเล่นว่า บอย เกิดเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2523 เป็นพี่คนโตในบรรดาพี่น้อง 2 คน เขามีน้องสาวคือ บี–มาติกา อรรถกรศิริโพธิ์ นักแสดงชื่อดัง ซึ่งมีชื่อเสียงจากการแสดงละครจักร ๆ วงศ์ ๆ เช่นเดียวกันและเคยได้แสดงละครร่วมกันหลายเรื่อง

ปัจจุบันสพลหรือปิยะรัชต์ได้หันหลังให้กับวงการบันเทิงตั้งแต่ปี 2550 โดยหันไปทำธุรกิจส่วนตัวและแต่งงานกับหญิงสาวนอกวงการนามว่า "ขวัญฤดี ธานินทรประชา" ซึ่งทั้งคู่มีลูกสาวด้วยกันทั้งหมด 2 คน[2]

ในช่วงปี 2557 สพลป่วยเป็นโรค GBS (Guillain-Barre' Syndrome) ถึงขั้นนอนเฉย ๆ ขยับตัวไม่ได้ กินอาหารและขับถ่ายไม่ได้ ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ แต่ในปัจจุบันรักษาจนหายเป็นปกติ[3]

เข้าสู่วงการ[แก้]

สพลเข้าสู่วงการจากการแสดงเป็น พ่อจันทร์ บุตรชายคนโตของ ขุนไกร กับ ดาวเรือง ในละครพีเรียดอิงประวัติศาสตร์เรื่องสายโลหิต เมื่อปี 2538 ในปีถัดมา เขาได้แสดงละครเรื่องบ้านสอยดาว โดยแสดงเป็น ปวุฒิ (วัยเด็ก) รวมถึงละครเรื่องรัตนโกสินทร์ แสดงเป็น พี่ชายของแม่เพ็ง นางเอกของเรื่อง

ก่อนที่ในปี 2543 เขาจะได้แสดงละครพื้นบ้านเรื่องแรกคือเรื่องนางสิบสอง แสดงเป็น พระรถเสน คู่กับ บี มาติกา น้องสาวของเขาที่แสดงเป็น นางเมรี ซึ่งทั้งคู่ได้แสดงคู่กันอีกในละครเรื่องพระสุธน–มโนห์รา ภาคต่อของเรื่องนางสิบสองในปีเดียวกัน

ในปี 2544 เขาได้แสดงละครพื้นบ้านเรื่อง แก้วหน้าม้า ในบท มานพน้อยวัชรา ร่างแปลงของแก้วมณี ตามด้วยสี่ยอดกุมาร แสดงเป็นแสงสุรีย์ (ไฟ) จากนั้นก็ได้มีผลงานละครกับทางช่อง 7 ซึ่งเป็นต้นสังกัดอีกหลายเรื่องอาทิ วงษ์สวรรค์ (2545), นะหน้าทองและเทพสามฤดู (2546), แหวนทองเหลือง (2547), เกราะกายสิทธิ์ (2549) และละครเรื่องสุดท้ายก่อนหันหลังให้วงการคือเรื่องสังข์ทอง เมื่อปี 2550 โดยแสดงเป็น พยนตรา

ผลงาน[แก้]

ละครโทรทัศน์[แก้]

ปี เรื่อง ช่อง แสดงเป็น
2538 สายโลหิต ช่อง 7 พ่อจันทร์
2539 บ้านสอยดาว ปวุฒิ (วัยเด็ก)
รัตนโกสินทร์ พี่ชายแม่เพ็ง
2546 นะหน้าทอง ทศพร
2547 แหวนทองเหลือง

ละครพื้นบ้าน[แก้]

ปี เรื่อง ช่อง แสดงเป็น
2543 นางสิบสอง ช่อง 7 พระรถเสน
พระสุธน มโนห์รา พระสุธน
2544 แก้วหน้าม้า มานพน้อยวัชรา
สี่ยอดกุมาร แสงสุรีย์ (ไฟ)
2545 วงษ์สวรรค์ วงษ์สวรรค์
2546 เทพสามฤดู สามสี
2549 เกราะกายสิทธิ์ อัคคาส (เกราะวันอังคาร)
2550 สังข์ทอง พยนตรา (เป็นตัวร้ายและเป็นตัวละครใหม่ที่เพิ่มเข้ามา)

อ้างอิง[แก้]