สนามบินชะเอียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สนามบินชะเอียน
ข้อมูลสำคัญ
การใช้งานสนามบินทหาร
พิกัด08°28′16.13″N 99°57′20.25″E / 8.4711472°N 99.9556250°E / 8.4711472; 99.9556250
แผนที่
NSTตั้งอยู่ในจังหวัดนครศรีธรรมราช
NST
NST
NSTตั้งอยู่ในประเทศไทย
NST
NST
ทางวิ่ง
ทิศทาง ความยาว พื้นผิว
เมตร ฟุต
18/36 2,300 7,546 ลาดยาง

ท่าอากาศยานชะเอียน หรือ สนามบินชะเอียน[1] (อังกฤษ: Cha Eian Airport) ตั้งอยู่ที่ ค่ายวชิราวุธ ตำบลปากพูน อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช อดีตบริษัทเดินอากาศไทย จำกัด เคยใช้เป็นสนามบินขนส่งผู้โดยสารระหว่าง นครศรีธรรมราช - สุราษฎร์ธานี - กรุงเทพมหานคร ปัจจุบัน สนามบินชะเอียน ใช้ในการทหารและใช้ในการรับเสด็จเครื่องบินพระที่นั่งของพระบรมวงศานุวงศ์

ประวัติ[แก้]

ท่าอากาศยานชะเอียน เมื่อปี 2459 พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ตกลงพระทัยสร้างที่ประทับชั่วคราวขึ้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ณ บริเวณตำบสวนจันทร์ ซึ่งปัจจุบันคือบริเวรณสนามบินกองทัพภาคที่ 4 หรือ ท่าอากาศยานชะเอียน[2]

เมื่อปี 2528 บริษัท เดินอากาศไทย จำกัด ได้ใช้ท่าอากาศยานชะเอียนในการรับส่งผู้โดยสาร ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ทำให้ให้ชาวนครศรีธรรมราช มีเส้นทางคมนาคมครบทั้ง 3 รูปแบบคือ ทางรถไฟ ทางรถทัวร์ และทางอากาศยาน ซึ่งทำให้ชาวนครศรีธรรมราชมีความสะดวกสบายและมีช่องทางในการเดินทางเพิ่มมากยิ่งขึ้น

1 ธันวาคม 2541 ท่าอากาศยานเชิงพาณิชย์ของนครศรีธรรมราช หรือ ท่าอากาศยานนครศรีธรรมราชได้เปิดให้บริการครั้งแรก ทำให้ต้องมีการย้ายการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ไปยังท่าอากาศยานนครศรีธรรมราชดูแลแทนทั้งหมด ท่าอากาศยานชะเอียดจึงใช้เป็นสนามบินของมลฑลทหารบกที่ 41 กองทัพภาคที่ 4 ใช้ในกิจการด้านการทหารและรับเสด็จและส่งเสด็จเครื่องบินพระที่นั่งของพระบรมวงศานุวงศ์

สายการบิน[แก้]

สายการบินระหว่างประเทศ[แก้]

ไม่มีสายการบินพาณิชย์เปิดให้บริการ

สายการบินภายในประเทศ[แก้]

ไม่มีสายการบินพาณิชย์เปิดให้บริการ

สายการบินที่เคยทำการบิน[แก้]

เหตุการณ์ที่สำคัญ[แก้]

  • 2528 บริษัท เดินอากาศไทย จำกัด เปิดเส้นทางบินตรงจาก กรุ่งเทพมหานคร สู่ นครศรีธรรมราช เป็นครั้งแรก โดยใช้สนามบินชะเอียน เป็นการชั่วคราว[3]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ประกาศกระทรวงคมนาคม ที่ ๑/๒๔๙๘ เรื่อง กำหนดสนามบินอนุญาต
  2. "กองทัพภาคที่ 4". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-10-17. สืบค้นเมื่อ 2010-02-16.
  3. พิพิธภัณฑ์ เมืองนครศรีธรรมราช[ลิงก์เสีย]