สนธิสัญญาไม่รุกรานกันระหว่างจีน-โซเวียต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สนธิสัญญาไม่รุกรานกันระหว่างจีน-โซเวียต (อังกฤษ: Sino-Soviet Non-Aggression Pact จีน: 中蘇互不侵犯條約) ได้มีการลงนามเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม ค.ศ. 1937 ระหว่างสาธารณรัฐจีนและสหภาพโซเวียต ระหว่าง สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สอง

เครื่องบินไอ-16 ซึ่งเป็นเครื่องบินรบหลักที่ใช้กันในกองทัพอากาศจีน และอาสาสมัครนักบินชาวโซเวียต

สนธิสัญญาดังกล่าวเป็นการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างสาธารณรัฐจีน ซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของพรรคก๊กมินตั๋ง กับสหภาพโซเวียต หลังจากการเซ็นสัญญาเรียบร้อยแล้ว สหภาพโซเวียตได้ส่งเครื่องบินรบให้แก่รัฐบาลชาตินิยมจีนในปฏิบัติการเซท และให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจเพื่อลดปัญหาที่เกิดขึ้นจากการยึดครองของญี่ปุ่น ผู้นำจีน นายพลเจียงไคเช็คเชื่อว่านี่จะเป็นตัวบ่งชี้ว่าสหภาพโซเวียตเตรียมตัวจะมทำสงคราม อย่างไรก็ตาม เมื่อเวลาผ่านไป เขาก็รู้สึกตัวว่าสหภาพโซเวียตนั้นได้จำกัดการให้ความช่วยเหลือของตัวเอง รวมไปถึงไม่ได้เตือนจีนในกรณีการตกลงเป็นพันธมิตรกันอย่างเงียบๆ กับอังกฤษ ฝรั่งเศส และในภายหลัง คือ สหรัฐอเมริกา ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อจีน ซึ่งจีนและญี่ปุ่นจะอ่อนแอลงกันทั้งคู่

สนธิสัญญาดังกล่าวยังเป็นการมุ่งความสนใจของสหภาพโซเวียตมาสนใจทางด้านแนวชายแดนตะวันออก ขณะที่นาซีเยอรมนีเตรียมทำสงครามกับสหภาพโซเวียต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลังจากที่สนธิสัญญาความเป็นกลางโซเวียต-ญี่ปุ่นได้ลงนามไปแล้ว ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างจีนและนาซีเยอรมนีเลวร้ายลงไป และในที่สุดเยอรมนีก็ยุติ ความร่วมมือทางการทหารกับจีน ที่มีมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1911

สนธิสัญญาดังกล่าวนี้เป็นหนึ่งในสนธิสัญญาทางการทูตฉบับแรกๆ หลังจากจักรวรรดิจีนล่มสลาย และเป็นหนึ่งในเอกสารเบื้องต้นที่ชี้ถึงความร่วมมือกันระหว่างสหภาพโซเวียตและสาธารณรัฐประชาชนจีน สหภาพโซเวียต ในฐานะของผู้อัปถัมภ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทางเศรษฐกิจ และจีนซึ่งเป็นรัฐบริวาร ซึ่งได้ลงเอยกันด้วยสนธิสัญญามิตรภาพจีน-โซเวียตแห่งปี ค.ศ. 1950

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  • Low,Alfred D.The Sino-Soviet Dispute: An Analysis of the Polemics.Madison, Jersey: FDU Press,1976.
  • Lee, Chong-Sik.Revolutionary Struggle in Manchuria: Chinese Communism and Soviet Interest, 1922-1945.Berkley:U of CA Press,1983.
  • Lawrance, Alan.China Since 1919: Revolution and Reform, A Sourcebook.New York: Routledge,2004.
  • Garver, John W. "Chiang Kai-shek's Quest for Soviet Entry into the Sino-Japanese War." Political Science Quarterly 102, no. 102 (1987): 295-316.