สนธิสัญญาเฮลิโกแลนด์-แซนซิบาร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พิธีส่งมอบในเฮลโกลันด์, 10 สิงหาคม ค.ศ. 1890

สนธิสัญญาเฮลลอโกแลนด์-แซนซิบาร์ (อังกฤษ: Heligoland–Zanzibar Treaty) วันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1890 หรือที่รู้จักกันในชื่อ ข้อตกลงอังกฤษ-เยอรมัน ค.ศ. 1890 (Anglo-German Agreement of 1890) เป็นข้อตกลงระหว่างบริเตนใหญ่และประเทศเยอรมนีเกี่ยวกับอาณาเขตของผลประโยชน์ในทวีปแอฟริกา เยอรมนีได้รับเกาะเล็กๆ ซึ่งเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่อยู่ใกล้ท่าเรือ และสละสิทธิ์ในการควบคุมอาณานิคมแซนซิบาร์

ข้อตกลง[แก้]

ประเทศเยอรมนีได้รับหมู่เกาะของเฮลโกลันด์ (เยอรมัน: Helgoland) ในทะเลเหนือ ซึ่งแต่เดิมเป็นส่วนหนึ่งของฮ็อลชไตน์-กอทท์ทอร์ท (Holstein-Gottorp) ของเดนมาร์ก แต่อังกฤษได้เข้าครอบครองตั้งแต่ ค.ศ. 1814 หรือที่เรียกว่าฉนวนคาพรีวิ (Caprivi Strip) ในประเทศนามิเบียในปัจจุบัน และอิสรภาพในการควบคุมและกรรมสิทธิ์ในชายฝั่งของดาร์-เอส-ซาลาม ที่เป็นแกนหลักของเยอรมันแอฟริกาตะวันออก (ภายหลังแทนกันยีกาเป็นส่วนหนึ่งของประเทศแทนซาเนีย)

เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยน ประเทศเยอรมนีส่งมอบดินแดนในอารักขาของสุลต่านน้อยแห่งวิทูลแลนด์ (Wituland) (Deutsch-Witu, บนชายฝั่งประเทศเคนยา) ให้แก่อังกฤษ และแอฟริกาตะวันออกบางส่วนที่สำคัญสำหรับสร้างทางรถไฟสู่ทะเลสาบวิกตอเรีย และปฏิญาณว่าจะไม่ไปแทรกแซงอังกฤษในการประจันหน้ากับสุลต่านแห่งแซนซิบาร์ (เช่น หมู่เกาะอันกูจา (Unguja) และเพมบา (Pemba)) นอกจากนี้ สนธิสัญญาได้กำหนดเขตอิทธิพลของเยอรมันในเยอรมันแอฟริกาตะวันตกเฉียงใต้ (German South-West Africa) (ปัจจุบันคือประเทศนามิเบีย) และการปักปันเขตแดนระหว่างโทโกแลนด์ (Togoland) ของเยอรมัน และโกลด์โคสต์ (Gold Coast) (ปัจจุบันเป็นประเทศกานา) ของอังกฤษ และระหว่างเคเมอรัน (Kamerun) (ปัจจุบันคือประเทศแคเมอรูน) ของเยอรมันและประเทศไนจีเรียของอังกฤษ

ผลที่ตามมา[แก้]

อังกฤษถอนตัวจากเกาะห่างไกลที่ยากต่อการป้องกันหากเกิดกรณีของการเผชิญหน้าด้วยอาวุธ อังกฤษได้ประกาศแซนซิบาร์เป็นรัฐในอารักขาในทันที หลังสงครามอังกฤษ–แซนซิบาร์ใน ค.ศ. 1896 และเข้าควบคุมสุลต่านอย่างเบ็ดเสร็จ

สนธิสัญญามีส่วนช่วยในเป้าหมายของนายกรัฐมนตรีเยอรมัน เลโอ วอน คาพรีฟี (Leo von Caprivi) ในการตกลงกับอังกฤษ หลังการประชุมเบอร์ลิน (Berlin Conference) ค.ศ. 1884 เยอรมนีได้สูญเสีย "การล่าอาณานิคมในแอฟริกา" บริษัทเยอรมันแอฟริกาตะวันออก (German East Africa Company) ภายใต้คาร์ล พีเตอร์ซ (Karl Peters) ได้ดินแดนฉนวน (strip) ของชายฝั่งแทนกันยีกา (นำไปสู่กบฏอาบูชีรี ค.ศ. 1888) แต่ไม่สามารถควบคุมหมู่เกาะของสุลต่านแห่งแซนซิบาร์ ดังนั้น เยอรมันยอมมอบให้แบบไม่ให้ความสำคัญ ในทางกลับกัน เยอรมันได้รับเฮลโกลันด์ สถานที่ยุทธศาสตร์สำคัญที่จะมีอำนาจควบคุมเหนือเยอรมันไบต์ (German Bight, โค้งชายฝั่งเยอรมัน) ซึ่งมีการก่อสร้างคลองคีลใน ค.ศ. 1887 ภายหลังได้เป็นองค์ประกอบสำคัญในแผนของพระจักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2 ที่จะขยายขนาดของกองทัพเรือจักรวรรดิ กองทัพเรือของวิลเฮล์มมีนโยบายยกเลิกข้อตกลงกับอังกฤษและท้ายสุดได้นำไปสู่การฟื้นสัมพันธไมตรีระหว่างสหราชอาณาจักรและฝรั่งเศส จบลงด้วย ความตกลงฉันทไมตรี ใน ค.ศ. 1904

อ้างอิง[แก้]