สนธิสัญญาเจย์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สนธิสัญญาเจย์
อังกฤษ: Jay Treaty
วันลงนามพฤศจิกายน ค.ศ. 1794
ที่ลงนามลอนดอน
วันมีผล29 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1796
ภาคีสหรัฐอเมริกา
เกรตบริเตน

สนธิสัญญาเจย์ หรือ สนธิสัญญาบริติช หรือ สนธิสัญญาลอนดอน ค.ศ. 1794 (อังกฤษ: Jay Treaty หรือ Jay's Treaty หรือ The British Treaty หรือ Treaty of London of 1794[1]) คือสนธิสัญญาระหว่างสหรัฐอเมริกา และ เกรตบริเตนที่ทำขึ้นเพื่อการหลีกเลี่ยงการเกิดสงครามระหว่างคู่สัญญา[2] และแก้ปัญหาหลายประเด็นที่ยังคงตกค้างอยู่หลังจากการปฏิวัติอเมริกา[3] และเป็นการเปิดโอกาสในการสร้างความสัมพันธ์ทางการค้าในบรรยากาศของความมีสันติระหว่างทั้งสองประเทศท่ามกลางสงครามปฏิวัติฝรั่งเศส[4] แม้ว่าสนธิสัญญาเจย์จะเป็นสนธิสัญญาที่ได้รับการประท้วงอย่างรุนแรงโดยกลุ่มเจฟเฟอร์สันนิยม (Jeffersonian political philosophy) แต่ก็ได้รับการอนุมัติจากรัฐสภาคองเกรสแห่งสหรัฐอเมริกา และกลายมาเป็นปัจจัยสำคัญของการก่อตั้งระบบปฐมพรรค (First Party System) สนธิสัญญาได้รับการลงนามกันในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1794 แต่มิได้มีผลบังคับใช้จนกระทั่งวันที่ 29 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1796

เนื้อหาของข้อตกลงส่วนใหญ่ร่างขึ้นโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอเล็กซานเดอร์ แฮมิลตันโดยได้รับการเห็นชอบอย่างเต็มที่โดยประธานาธิบดีจอร์จ วอชิงตันและจอห์น เจย์ผู้นำในการเจรจา สนธิสัญญาหลีกเลี่ยงสงครามและเพิ่มความสัมพันธ์ทางการค้าขายซึ่งนำความพอใจมาให้แก่ทั้งสองฝ่าย เจย์สามารถเจรจาตกลงได้สิ่งที่สหรัฐอเมริกาต้องการได้สำเร็จ ที่รวมทั้งการถอนตัวของบริเตนจากที่ตั้งมั่นต่างๆ ในดินแดนตะวันตกเฉียงเหนือ (Northwest Territory) ของสหรัฐอเมริกา ที่ฝ่ายบริเตนเคยสัญญาว่าจะถอนตัวมาตั้งแต่ ค.ศ. 1783 หนี้สงครามและเขตแดนระหว่างสหรัฐและแคนาดาได้รับการส่งให้ตัดสินโดยการอนุญาโตตุลาการ (arbitration) ซึ่งเป็นการใช้อนุญาโตตุลาการครั้งใหญ่เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การทูต นอกจากนั้นฝ่ายสหรัฐอเมริกายังได้รับสิทธิบางส่วนในการค้าขายกับดินแดนของบริติชในอินเดียและแคริบเบียนเป็นการแลกเปลี่ยนกับการจำกัดการส่งออกของฝ้ายโดยสหรัฐอเมริกา

สนธิสัญญาหลีกเลี่ยงสงครามที่อาจจะเกิดขึ้นโดยการที่สาระสำคัญกลายมาเป็นส่วนหนึ่งของหัวใจของนโยบายทางการเมืองของสหรัฐอเมริกา โดยมีทอมัส เจฟเฟอร์สัน และ เจมส์ แมดิสันเป็นผู้นำของฝ่ายค้าน ผู้มีความหวาดระแวงว่าความผูกพันทางเศรษฐกิจกับบริเตนจะสร้างความแข็งแกร่งให้แก่พรรคเฟเดอรัลลิสต์ (Federalist Party) สนธิสัญญาสร้างสัมพันธไมตรีทางการค้าระหว่างทั้งสองประเทศเป็นเวลาราวสิบปีก่อนที่จะมายุติลงในปี ค.ศ. 1803 เนื้อหาหลักของสนธิสัญญาหมดอายุลงหลังจากสิบปี ความพยายามที่จะทำความตกลงกันใหม่ประสบความล้มเหลวในปี ค.ศ. 1806 สหรัฐไม่ยอมรับสนธิสัญญามอนโร-พิงค์นีย์เมื่อความตึงเครียดระหว่างทั้งสองประเทศเพิ่มตัวขึ้นจนในที่สุดก็ก่อตัวขึ้นเป็นสงคราม ค.ศ. 1812[5]

อ้างอิง[แก้]

  1. Olson, James Stuart (1991). James S. Olsen (บ.ก.). Historical Dictionary of European Imperialism. Robert Shadle, Ross Marlay, Willam G. Ratliff, Joseph M. Rowe, Jr. Greenwood Press. p. 332. ISBN 0313262578. สืบค้นเมื่อ 2007-11-19. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  2. Jean Edward Smith, John Marshall: Definer of a Nation (1998) p. 177
  3. Todd Estes, The Jay Treaty Debate, Public Opinion, And the Evolution of Early American Political Culture (2006) p. 15
  4. Herring points out the "remarkable and fortuitous economic and diplomatic gains" produced by the treaty; George C. Herring, From colony to superpower: U.S. foreign relations since 1776 (2008) p. 80
  5. Marshall Smelser, The Democratic Republic: 1801–1815 (1968) pp. 139, 145, 155–56.

บรรณานุกรม[แก้]

  • Bemis, Samuel Flagg. Jay's Treaty: A Study in Commerce and Diplomacy (1923) remains the standard narrative of how treaty was written
  • Charles, Joseph. "The Jay Treaty: The Origins of the American Party System," in William and Mary Quarterly, 3rd Ser., Vol. 12, No. 4. (Oct., 1955), pp. 581-630. in JSTOR
  • Combs, Jerald. A. The Jay Treaty: Political Background of Founding Fathers (1970) (ISBN 0-520-01573-8) Focusing on the domestic and ideological aspects, Combs dislikes Hamilton's quest for national power and a "heroic state" dominating the Western Hemisphere, but concludes the Federalists "followed the proper policy" because the treaty preserved peace with Britain
  • Elkins, Stanley M. and Eric McKitrick, The Age of Federalism: The Early American Republic, 1788–1800. (1994), ch. 9
  • Estes, Todd, "The Art of Presidential Leadership: George Washington and the Jay Treaty," Virginia Magazine of History and Biography, 2001, vol 109, no. 2.
  • Estes, Todd, "Shaping the Politics of Public Opinion: Federalists and the Jay Treaty Debate." Journal of the Early Republic (2000) 20(3): 393-422. ISSN in JSTOR
  • Estes, Todd. The Jay Treaty Debate, Public Opinion, And the Evolution of Early American Political Culture (2006)
  • Farrell, James M. "Fisher Ames and Political Judgment: Reason, Passion, and Vehement Style in the Jay Treaty Speech," Quarterly Journal of Speech 1990 76(4): 415-434.
  • Fewster, Joseph M. "The Jay Treaty and British Ship Seizures: the Martinique Cases." William and Mary Quarterly 1988 45(3): 426-452. in JSTOR
  • Perkins, Bradford. The First Rapprochement: England and the United States, 1795–1805 1955.
  • Perkins, Bradford. "Lord Hawkesbury and the Jay-Grenville Negotiations," The Mississippi Valley Historical Review, Vol. 40, No. 2. (Sep., 1953), pp. 291-304. in JSTOR
  • Rakove, Jack N. Original Meanings: Politics and Ideas in the Making of the Constitution. Alfred A. Knopf, New York. 1997. ISBN 0-394-57858-9
  • Varg, Paul A; Foreign Policies of the Founding Fathers. 1963.

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]