สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (องค์การมหาชน)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (องค์การมหาชน)
Thailand institute of Justice (Public Organization)
ตราสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (องค์การมหาชน)
ภาพรวมหน่วยงาน
ก่อตั้ง13 มิถุนายน พ.ศ. 2554 (12 ปี)
สำนักงานใหญ่999 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร
งบประมาณประจำปี147.8667 ล้านบาท (พ.ศ. 2559)[1]
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน
ต้นสังกัด[[รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม (ไทย)|]]
เว็บไซต์http://www.tijthailand.org

สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (องค์การมหาชน) (อังกฤษ: Thailand Institute of Justice (Public Organization)) เป็นสถาบันที่ได้จัดตั้งตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2554 [3] เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2554 ภารกิจสำคัญของ TIJ คือ การส่งเสริมให้เกิดการอนุวัติ “ข้อกำหนดกรุงเทพ” หรือข้อกำหนดสหประชาชาติว่าด้วยการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิงและมาตรการที่ไม่ใช่การคุมขังสำหรับผู้กระทำความผิดหญิง (The Bangkok Rules) รวมถึงส่งเสริมมาตรฐานสหประชาชาติอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะด้านเด็กและสตรีในกระบวนการยุติธรรม อีกทั้งยังทำหน้าที่ขับเคลื่อนประเด็นสำคัญต่างๆ ในเวทีระหว่างประเทศ เช่น หลักนิติธรรม การพัฒนา สิทธิมนุษยชน สันติภาพ และความมั่นคง

ประวัติ[แก้]

สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย ตั้งขึ้นมาจากโครงการ ELFI (enhancing lives of female inmates project) ในสังกัดสำนักงานกิจการยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม ซึ่งเป็นโครงการในพระราชดำริของ สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ซึ่งเล็งเห็นถึงความสำคัญเกี่ยวกับความอ่อนไหวทางเพศชาย–หญิงของผู้ถูกคุมขังในเรือนจำ พระองค์จึงได้ริเริ่มโครงการดังกล่าวขึ้นมาเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ต้องขังหญิงในเรือนจำซึ่งกลุ่มผู้ต้องขังหญิงเปรียบเสมือนกลุ่มบุคคลที่ถูกลืมจากสังคมเนื่องจากมีจำนวนที่น้อย โดยพระองค์ภาได้ร่วมกับคณะผู้เชี่ยวชาญทางกฎหมาย และกลุ่มสิทธิมนุษยชนในการร่างกฎการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิง และมาตรการที่มิใช่การคุมขังสำหรับผู้กระทำผิดหญิงขึ้น และในท้ายที่สุดพระองค์ได้ทรงผลักดันกฎการปฏิบัติกล่าวนี้จนประสบความสำเร็จ ก้าวขึ้นไปสู่เวทีระดับโลกและได้รับความยอมรับจากสหประชาติในชื่อที่เรียกว่า ข้อกำหนดกรุงเทพ (The Bangkok Rules)

นอกจากนี้ TIJ ยังได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติในฐานะหน่วยงานที่มีความเป็นเลิศด้านการวิจัยและมีศักยภาพด้านการป้องกันอาชญากรรม การพัฒนากระบวนการยุติธรรมทางอาญา และส่งเสริมหลักนิติธรรม โดยในวันที่ 24 พฤษภาคม 2559 สำนักงานว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Office on Drugs and Crime – UNODC) ได้รับรองสถานะให้ TIJ เป็นสถาบันเครือข่ายแผนงานสหประชาชาติด้านการป้องกันอาชญากรรมและความยุติธรรมทางอาญา (United Nations Programme Network Institutes – PNIs) โดยเป็นสถาบัน PNI ลำดับที่ 18 ของโลก และเป็นสถาบันแรกของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของ PNI

ต่อมาในวันพฤหัสบดีที่ 16 ธันวาคม ปี พ.ศ. 2564 ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (องค์การมหาชน) พ.ศ. ๒๕๖๔ ขึ้นแทนที่พระราชกฤษฎีกาฉบับเดิมที่ถูกยกเลิกไปโดยให้มีผลบังคับใช้นับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาคือในวันศุกร์ที่ 17 ธันวาคม ปี พ.ศ. 2564[4]

อ้างอิง[แก้]