สถาบันวิทยาการสารสนเทศแห่งมหาวิทยาลัยศรีปทุม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สถาบันวิทยาการสารสนเทศ
แห่งมหาวิทยาลัยศรีปทุม
Information Science Institute of Sripatum University : ISIS
ที่อยู่
มหาวิทยาลัยศรีปทุม 61 ถนนพหลโยธิน แขวงเสนานิคม เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
เว็บไซต์http://isi.spu.ac.th/

สถาบันวิทยาการสารสนเทศแห่งมหาวิทยาลัยศรีปทุม เป็นหน่วยงานภายใต้คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ดำเนินงานด้านวิจัยพัฒนา ด้านวิทยาการสารสนเทศ ระบบคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ ระบบสื่อสารโทรคมนาคม และการประยุกต์ใช้วิทยาการคอมพิวเตอร์ในรูปแบบที่สามารถนำผลงานวิจัยพัฒนามาใช้ในการสร้างสินค้าและบริการใหม่ๆ รวมทั้งการสนับสนุนการนำไปใช้ในภาคอุตสาหกรรม ธุรกิจ กิจการภาครัฐ ตลอดจนด้านความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ

บุคลากร[แก้]

บุคลากรของสถาบันฯ ประกอบด้วยคณาจารย์และนักวิจัยจากสถาบันฯ และหน่วยงานอื่นๆ เช่น คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะดิจิทัล มีเดีย คณะบริหารธุรกิจ และ คณะอื่นๆ รวมทั้งหน่วยงานต่างๆของมหาวิทยาลัยศรีปทุม ที่มีความเชี่ยวชาญในการประยุกต์ไอซีทีในศาสตร์ต่างๆ ผู้เชี่ยวชาญจากวงการอุตสาหกรรมและหน่วยงานภาครัฐ ตลอดจนวิศวกร นักวิจัย และนักศึกษาระดับมหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิตรวมทั้งสิ้นกว่า 100 คน

โครงสร้างของสถาบันวิทยาการสารสนเทศแห่งมหาวิทยาลัยศรีปทุม[แก้]

ประกอบด้วย 5 ฝ่าย

  1. ศูนย์บัณฑิตศึกษาไอที
  2. ฝ่ายวิจัยและพัฒนา
  3. แผนกบริการวิชาการ
  4. แผนกอบรมสัมมนา
  5. แผนกอำนวยการ
    • แผนกลิขสิทธิ์

ศูนย์บัณฑิตศึกษาไอที[แก้]

สถาบันฯ ร่วมทำงานกับนักศึกษาระดับปริญญาโท และปริญญาเอก โดยมีหลักสูตรการศึกษาดังต่อไปนี้

  • หลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • หลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาระบบสารสนเทศคอมพิวเตอร์
  • หลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์
  • หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ

ฝ่ายวิจัยและพัฒนา[แก้]

ฝ่ายวิจัยและพัฒนา ดำเนินการวิจัยแบบพื้นฐานและแบบประยุกต์ในด้านระบบสารสนเทศ เทคโนโลยีซอฟต์แวร์ และฮาร์ดแวร์ การสื่อสารและโทรคมนาคม การวิจัยประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศในด้านต่างๆ เช่นด้านธนาคารและการเงิน สาธารณสุข และวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ด้านสังคมศาสตร์และแรงงาน ศิลปและวัฒนธรรม การท่องเที่ยว แบ่งเป็นด้านต่างๆ ดังต่อไปนี้

กลุ่มเว็บเทคโนโลยี งานวิจัยในด้านนี้จะศึกษารูปแบบเว็บที่ใช้เทคโนโลยีแบบบูรณาการ โดยจะเน้นที่การศึกษา Semantic Technology และ Ontology ตลอดจนการจัดการเนื้อหาในรูปแบบกระจาย เพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพการเข้าถึงได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ นอกจากนั้นยังดำเนินการวิจัยในด้าน ไอทีและธุรกิจที่ใช้ไอที นอกจากนี้ กลุ่มเว็บเทคโนโลยี มุ่งพัฒนาทักษะให้นักศึกษาให้สามารถสร้างซอฟต์แวร์และเนื้อหาบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ และ Google App. นักวิจัยกล่มนี้นำโดย ดร. ศศิพร ภายใต้ห้องปฏิบัติการ นวัตกรรมเว็บ

กลุ่มความมั่งคงปลอดภัย ความมั่งคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศมีความสำคัญมากในสถานการณ์ปัจจุบัน เนื่องจากการใช้ ไอซีที ในเกือบทุกกิจกรรมของสังคมมนุษย์ งานวิจัยจะมุ่งเน้นในการศึกษาถึงธรรมชาติและพฤติกรรมการบ่อนทำลายระบบ ตลอดจนศึกษาถึงกิจกรรม วิธีและเทคนิคในการทดสอบการเจาะระบบ (Penetration Testing) การพัฒนาเทคนิคสร้างความแข็งแรงการประยุกต์ใช้มาตรฐานความมั่งคงปลอดภัย เช่น COBIT, IS017799, ฯลฯการศึกษาด้านเทคนิคและการประยุกต์ Common Criteria การวิจัยความมั่นคงปลอดภัยของ ระบบมือถือ ระบบ e-Commerce และอุปกรณ์ แอล ที อี กลุ่มความมั่งคงปลอดภัยระบบสารสนเทศ นำทีมโดย ดร. ประสงค์ ซึ่งเป็นผู้จัดการ ห้องปฏิบัติการไซเบอร์ซีคิวริตี้

กลุ่มวิศวกรรมซอฟต์แวร์ งานวิจัยและพัฒนาในด้านนี้จะศึกษาถึงกรรมวิธีการพัฒนาซอฟต์แวร์ในระดับบุคคล ระดับทีม และระดับโครงการ เทคโนโลยีการสร้างซอฟต์แวร์ตามกรรมวิธีสายการผลิต การบริหารการ พัฒนาซอฟต์แวร์ตามแนวทาง CMMi และการวิจัยการทดสอบซอฟต์แวร์แบบบูรณาการ การวิจัยเพื่อค้นหาซอฟต์แวร์ที่สามารถประกอบตัวเองได้ ซึ่งชิ้นส่วนซอฟต์แวร์จะต้องมีความฉลาดและมีกลไกที่จะปรับตนเองให้หล่อหลอมกับชิ้นส่วนอื่นๆ ภายในกรอบการออกแบบเดียวกัน นอกจากนั้นยังมุ่งเน้นในการค้นหากรรมวิธีที่มีประสิทธิภาพในการออกแบบหน้าจอยุคที่ 4 ในด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์ สถาบันฯให้ความสำคัญงานวิจัยแบบ Demand Computing บนระบบ Cloud และ การทดสอบ นอกจากงานวิจัยและพัฒนาแล้ว ห้องปฏิบัติการ ISIS Software Engineering Lab สนับสนุน หลักสูตรวิศวกรรมซอฟต์แวร์ MSSE ที่แยกเป็น 4 เทคโนโลยี ประกอบด้วย Google Track, Apple Track, Microsoft Track, และ IBM Track ซึ่งนักศึกษาสามารถเลือกความชำนาญเฉพาะทางตั้งแต่วันแรกที่เข้าศึกษาในหลักสูตรระดับ ป. โท MSSE

กลุ่มระบบที่สามารถเรียนรู้ ระบบที่สามารถเรียนรู้ตามพฤติกรรมของมนุษย์ จะต้องเป็นระบบที่มีปัญญา (Intelligent System) งานวิจัยในด้านนี้ จะศึกษาแบบปฏิสัมพันธ์ ระหว่างผู้เรียนและผู้สอนทั้งในรูปแบบต่างๆ และระบบที่ช่วยให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้ได้ดีขึ้น โดยใช้ ตัวแทนอัจฉริยะ ทำงานเป็นติวเตอร์ นอกจากนี้ยังศึกษาวิจัยถึงการนำมาตรฐาน SCORM มาประยุกต์ใช้ในการสร้างเส้นทางเรียนที่ปรับเส้นทางได้ สิ่งที่ท้าทายการวิจัยระบบที่สามารถเรียนรู้ได้ คือการศึกษาถึงกรรมวิธีที่ประชาชนสามารถใช้ระบบบริการภาครัฐได้อย่างมั่นใจ โดยที่ระบบบริการภาครัฐสามารถตอบสนองต่อผู้มีทักษะการใช้ในระดับต่างๆได้อย่างอัตโนมัติ ห้องปฏิบัติการนวัตกรรมเทคโนโลยีการเรียนรู้ ภายใต้การนำของ ดร. สุรศักดิ์ และกลุ่มนักวิจัยยังได้เริ่มค้นคว้าการผลิต Serious Game เพื่อการศึกษาและการอธิบายนโยที่ซับซัอนแก่สาธารณชนภายใต้บริบทการเล่นเกม

กล่มเทคโนโลยีซอฟต์แวร์และมีเดีย ธุรกิจบันเทิงที่ใช้สื่อดิจิทัล คือ ภาพยนตร์ เกม ดนตรีซึ่งต้องอาศัยเทคโนโลยีซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์จิตนการและพลังสร้างสรรค์ของมนุษย์ งานวิจัยในด้านนี้จะมุ่งเน้นการศึกษารูปแบบการนำเสนออันหลากหลาย ที่เป็นที่พึงพอใจของมนุษย์ ซึ่งจะเป็นฐานในการวิจัยถึง เรื่อง Visualization ที่มีผลกระทบสูงในการสร้างความพึงพอใจแก่ผู้รับประสบการณ์ดังกล่าว การพัฒนาระบบปฏิสัมพันธ์ระหว่าง Virtual Objects และ Real Objects การสร้างซอฟต์แวร์ Agent ที่ใช้ควบคุมตัวละคร การวิจัยถึงการผลิตชิ้นงานดิจิทัลมีเดียที่สามารถใช้ข้ามระบบได้เช่นใช้กับระบบแอนดรอยด์ และระบบ iPhone/iPad ได้ ดร. ธนารักษ์ นำทีมวิจัยภายใต้ ISIS Interactive Media Lab ซึ่งยังได้ศึกษาการใช้ NFC (Near Field Communication) ในการสร้าง Next Generation Mobile Application แนววิจัยอีกด้านหนึ่งที่ต้องมีการผสมผสานการใช้มีเดียที่ควบคุมโดยซอฟต์แวร์ภายใต้บริบทที่อิงพฤติกรรมมนุษย์ ที่ต้องนำเสนอข้อมูลเพื่อการค้า การประสานงาน การเรียนรู้ การบันเทิง การติดต่อเชื่อมโยง สารสนเทศสำหรับการบริหารจัดการ Event ต่างๆและการใช้สื่อ Multimedia ในการบริหารจัดการการแข่งขันและการฝึกอบรม ดร. กิตติมาเป็นผู้นำทีมดำเนินการวิจัยในแนวทางภายใต้ ISIS Social Media Lab

กลุ่มแอปปลิเคชั่นไอซีที งานวิจัยด้านการประยุกต์ระบบคอมพิวเตอร์ในงานธุรกิจและอุตสาหกรรมตลอดจนหน่วยงานภาครัฐ โดยใช้แนวคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมด้านต่างๆ การศึกษาถึงการใช้ระบบ Cloud การพัฒนา Software-as-a-Service ศึกษาถึงมิติความยุ่งยากในการใช้งาน การใช้ IT ในภาคการเกษตร ซึ่ง โครงการ e-Farmer ของสถาบันฯ ถือว่าเป็นโครงการระดับ Flagship นอกจากนั้น การวิจัยถึงการสร้างสินค้าใหม่โดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการออกแบบ โดย Sripatum Embedded System Lab นำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศไทย การวิจัยการนำไอซีทีมาใช้ในด้านการเกษตรนำทีมโดย ดร. พิลาศพงษ์ ภายใต้ ISIS Center for Agri-IT Development

แผนกบริการวิชาการ[แก้]

สถาบันวิทยาการสารสนเทศแห่งมหาวิทยาลัยศรีปทุม ให้บริการแก่ภาคเอกชนและภาครัฐ ในด้านให้คำปรึกษาและด้านการดำเนินการวิจัยและพัฒนาตามพันธสัญญา ในปัจจุบัน การดำเนินงานตามพันธกิจของหน่วยงานภาครัฐและการดำเนินการธุรกิจของภาคเอกชนในสถาบันที่มีการแข่งขันรุนแรงและในสภาวะที่มีการเปลี่ยนแปลงสูง จะต้องมีการประยุกต์แนวคิด กรรมวิธี เทคโนโลยีใหม่ๆ ที่สามารถก่อให้เกิดความได้เปรียบในการดำเนินงาน นอกจากนี้ยังต้องมีการพัฒนาบุคลากร ทั้งในด้านกระบวนทัศน์ และทักษะที่สร้างสมรรรถนะที่แท้จริงในการปฏิบัติงาน คณะที่ปรึกษาของสถาบันฯ ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์ จากการปฏิบัติงานทั้งภายในและภายนอกประเทศ โดยมีข้ขีดความสามารถในด้านต่างๆ ดังนี้

แผนกอบรมสัมมนา[แก้]

แผนกฝึกอบรมและสัมมนาให้บริการหลักสูตรการฝึกอบรมหรือการศึกษาต่อเนื่อง เพื่อการพัฒนาบุคลากรให้มีทักษะระดับสูงที่มีคุณค่าต่อองค์กรหรือต่อการประกอบธุรกิจ และเป็นวิชาชีพที่ยั่งยืนที่สามารถสร้างผลงานหลักสูตรฝึกอบรมของสถาบันฯ ประกอบด้วย

  • หลักสูตรสร้างนักพัฒนาซอฟต์แวร์
  • หลักสูตรสร้างนักพัฒนาสื่อปฏิสัมพันธ์
  • หลักสูตรเทคโนโลยีสมัยใหม่
  • หลักสูตรธุรกิจเศรษฐกิจสร้างสรรค์และฝึกอบรม

แผนกอำนวยการ[แก้]

ฝ่ายอำนวยการ กำกับดูแลด้านการเงินและบุคลากร ด้านการบริหารโครงการ ด้านข้อมูลการตลาด ด้านข้อมูลนักศึกษา ด้านประชาสัมพันธ์ ด้านการประสานงาน ด้านการประชุมอาจารย์ผู้บริหารและประชุมบอร์ด และ ด้านกิจกรรมนักศึกษาสัมพันธ์ นอกจากนี้ ก็กำกับดูแลเรื่อง ลิขสิทธิ์ และ การลงทุน

แผนกลิขสิทธิ์[แก้]

ลิขสิทธิ์
เป็นแผนกที่รับผิดชอบ การมอบหมายลิขสิทธิ์ของทรัพย์สินทางปัญญาที่สถาบันฯเป็นเจ้าของหลักและมีสิทธิ์ในการมอบหมายให้หน่วยงาน บริษัทหรือบุคคลอื่น เพื่อนำไปผลิตเป็น สินคาหรือเป็นบริการ หรือนำไปใช้เป็นส่วนหนึ่งของระบบหรืนำไปใช้เพื่อดัดแปลงให้เข้ากับลักษณะการใช้งานหรือสินค้า หรือบริการ ซึ่งจะก่อให้เกิดธุรกิจ และคุณค่าแก่สังคมและอุตสาหกรรมปัจจุบันสถาบันฯได้เริ่มต้นกระบวนการลิขสิทธิ์เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการคิดค้นแนวคิด กรกรรมวิธี หลักการสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่สามารถนำไปใช้เชิงพาณิชย์ได้นอกจากนี้ แผนก LV ของสถาบันฯยังทำหน้าที่เป็นตัวแทนลิขสิทธิ์ของนักประดิษฐ์และของหน่วยงานอื่น ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ที่ต้องการให้ ISIS LV เป็นตัวกลางในการทำลิขสิทธิ์
การลงทุน
นอกจากนั้นสถาบันฯ ยังมี Venture Capital มีกระบวนการร่วมลงทุนกับผู้ที่ได้คัดกลอง นวัตกรรมซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ และระบบที่มีเอกลักษณ์ และมีส่วนตลาดที่ต้องการสินค้าหรือบริการนั้น โดยแนวทางการได้ร่วมทุนจากวีซีนี้จะเป็นแนวทางสากล ภายใต้กฎหมายที่เกี่ยวข้องการลงทุนของสถาบันฯ ในผู้ประกอบการใหม่มีความสำคัญต้องการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมของประเทศไทย สถาบันฯจะร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐอื่น ๆ เช่น จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร SIPA, OSMEP, NSTDA, NECTEC, NIA ในการพัฒนาผู้ประกอบการใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีหลักด้านคอมพิวเตอร์ที่คิดค้นโดยสถาบันฯ พร้อมที่จะบ่มเพาะ และสนับสนุนการสร้างเครือข่าย การตลาดเพื่อให้ผู้ประกอบการใหม่ เหล่านี้ประสบความสำเร็จ

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]