อูว์นีดรัว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สถาบันระหว่างประเทศเพื่อสร้างเอกภาพให้แก่กฎหมายเอกชน
วิลลาอัลโดบรันดีนี (Villa Aldobrandini) ที่ตั้งของอูว์นีดรัวในกรุงโรม ประเทศอิตาลี
ชื่อย่ออูว์นีดรัว
ก่อตั้งค.ศ. 1926
ประเภทองค์การระหว่างประเทศ
สํานักงานใหญ่กรุงโรม ประเทศอิตาลี
สมาชิก
65 รัฐ (ค.ศ. 2023)
ภาษาทางการ
  • ฝรั่งเศส
  • เยอรมัน
  • สเปน
  • อังกฤษ
  • อิตาลี
เว็บไซต์https://www.unidroit.org/

อูว์นีดรัว (ฝรั่งเศส: UNIDROIT; [ynidʁwɑ])[1] ชื่อเต็มว่า สถาบันระหว่างประเทศเพื่อสร้างเอกภาพให้แก่กฎหมายเอกชน (อังกฤษ: International Institute for the Unification of Private Law; ฝรั่งเศส: Institut international pour l'unification du droit privé) เป็นองค์การระหว่างประเทศซึ่งมุ่งสร้างเอกภาพให้แก่กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล (กฎหมายเอกชนระหว่างประเทศ) มีชื่อจากการร่างสนธิสัญญาและจัดทำกฎหมายแม่แบบ (model law)

อูว์นีดรัวสถาปนาขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1926 และใน ค.ศ. 2023 มีรัฐสมาชิกทั้งสิ้น 65 รัฐ[2]

ความเป็นมา[แก้]

อูว์นีดรัวสถาปนาขึ้นเป็นแผนกของสันนิบาตชาติ (League of Nations) เมื่อ ค.ศ. 1926 มีวัตถุประสงค์เพื่อปฏิรูปกฎหมายเอกชนให้เป็นหนึ่งเดียว[3]

เมื่อสิ้นสงครามโลกครั้งที่สองแล้ว อูว์นีดรัวก็เลิกล้มไปพร้อมกับการสิ้นสุดลงของสันนิบาตชาติ แต่มีการจัดตั้งอูว์นีดรัวขึ้นใหม่ใน ค.ศ. 1940 ด้วยสนธิสัญญาซึ่งเรียก "ธรรมนูญประมวลบทแก้ไขเพิ่มเติมข้อ 6 (1)" (Statue Incorporating the Amendment to Article 6(1)) หรือมักเรียกกันว่า "ธรรมนูญอูว์นีดรัว" (UNIDROIT Statute)[3]

ที่ตั้ง[แก้]

อูว์นีดรัวตั้งอยู่ในใจกลางกรุงโรม ประเทศอิตาลี[3] บางโอกาสจึงมีผู้ออกนามสถาบันนี้ว่า "สถาบันกรุงโรม" (Rome Institute)[4]

อาคารของอูว์นีดรัว คือ วิลลาอัลโดบรันดีนี (Villa Aldobrandini) คฤหาสน์อันสร้างขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 17 อยู่ทางเหนือของสันตะมหาวิทยาลัยนักบุญทอมัส อะไควนัส (Pontifical University of Saint Thomas Aquinas)

สมาชิก[แก้]

รัฐเข้าเป็นสมาชิกอูว์นีดรัวได้โดยภาคยานุวัติธรรมนูญอูว์นีดรัว ปัจจุบัน อูว์นีดรัวมีสมาชิกดังนี้[2]

รัฐสมาชิก ปีที่เข้าร่วม (ค.ศ.)
 กรีซ 1940
 เกาหลีใต้ 1981
 คิวบา 1940
 แคนาดา 1968
 โครเอเชีย 1996
 โคลอมเบีย 1940
 จีน 1986
 ชิลี 1951
 ซานมารีโน 1945
 ซาอุดีอาระเบีย 2008
 เซอร์เบีย 2001
 ไซปรัส 1999
 ญี่ปุ่น 1954
 เดนมาร์ก 1940
 ตุรกี 1950
 ตูนิเซีย 1980
 นอร์เวย์ 1951
 นิการากัว 1940
 เนเธอร์แลนด์ 1940
 ไนจีเรีย 1964
 บราซิล 1940
 บัลแกเรีย 1940
 เบลเยียม 1940
 โบลิเวีย 1940
 ปากีสถาน 1964
 ปารากวัย 1940
 โปแลนด์ 1979
 โปรตุเกส 1949
 ฝรั่งเศส 1948
 ฟินแลนด์ 1940
 มอลตา 1970
 มองโกเลีย 2023
 เม็กซิโก 1940
 เยอรมนี 1940
 รัสเซีย 1990
 โรมาเนีย 1940
 ลักเซมเบิร์ก 1951
 ลัตเวีย 2006
 ลิทัวเนีย 2007
 เวเนซุเอลา 1940
 สเปน 1940
 สโลวาเกีย 1993
 สโลวีเนีย 1995
 สวิตเซอร์แลนด์ 1940
 สวีเดน 1940
 สหรัฐ 1964
 บริเตนใหญ่ 1948
 เช็กเกีย 1993
 ออสเตรเลีย 1973
 ออสเตรีย 1948
 อิตาลี 1940
 อินเดีย 1950
 อินโดนีเซีย 2008
 อิรัก 1973
 อิสราเอล 1954
 อิหร่าน 1951
 อียิปต์ 1951
 อาร์เจนตินา 1972
อาณาจักรอันศักดิ์สิทธิ์ 1945
 อุรุกวัย 1940
 เอสโตเนีย 2001
 แอฟริกาใต้ 1971
 ไอร์แลนด์ 1940
 ฮังการี 1940

อนุสัญญา[แก้]

ตลอดหลายปีที่ผ่านมา อูว์นีดรัวได้ร่างความตกลงระหว่างประเทศดังต่อไปนี้ขึ้น ซึ่งได้ตกลงรับกันในการประชุมทางทูตของสมาชิกอูว์นีดรัว[5]

ที่ อนุสัญญา สถานที่การตกลงรับ ปีที่ตกลงรับ
1 อนุสัญญาเกี่ยวกับกฎหมายเอกรูปว่าด้วยการซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ (Convention relating to a Uniform Law on the International Sale of Goods) เฮก 1964
2 อนุสัญญาเกี่ยวกับกฎหมายเอกรูปว่าด้วยการก่อสัญญาซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ (Convention relating to a Uniform Law on the Formation of Contracts for the International Sale of Goods) เฮก 1964
3 อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยสัญญาการเดินทาง (International Convention on Travel Contracts) บรัสเซล 1970
4 อนุสัญญากำหนดกฎหมายเอกรูปว่าด้วยแบบแห่งพินัยกรรมระหว่างประเทศ (Convention providing a Uniform Law on the Form of an International Will) วอชิงตันดีซี 1973
5 อนุสัญญาว่าด้วยตัวแทนในการซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ (Convention on Agency in the International Sale of Goods) เจนีวา 1983
6 อนุสัญญาอูว์นีดรัวว่าด้วยการเช่าการเงินระหว่างประเทศ (UNIDROIT Convention on International Financial Leasing) ออตตาวา 1988
7 อนุสัญญาอูว์นีดรัวว่าด้วยแฟ็กเตอริงระหว่างประเทศ (UNIDROIT Convention on International Factoring) ออตตาวา 1988
8 อนุสัญญาอูว์นีดรัวว่าด้วยวัตถุทางวัฒนธรรมที่ถูกโจรกรรมหรือส่งออกโดยมิชอบด้วยกฎหมาย (UNIDROIT Convention on Stolen or Illegally Exported Cultural Objects) โรม 1995
9 อนุสัญญาว่าด้วยประโยชน์ระหว่างประเทศในอุปกรณ์เคลื่อนที่ (Convention on International Interests in Mobile Equipment) พร้อมด้วยพิธีสารว่าด้วยอากาศยาน (Protocol on Aircraft), พิธีสารว่าด้วยล้อเลื่อนรถไฟ (Protocol on Railway rolling stock), และพิธีสารว่าด้วยสินทรัพย์อวกาศ (Protocol on Space Assets) เคปทาวน์ 2001
10 อนุสัญญาหลักทรัพย์เจนีวา (Geneva Securities Convention) เจนีวา 2009

อนึ่ง อูว์นีดรัวยังเป็นผู้รับฝากอนุสัญญาสองฉบับในอนุสัญญาข้างต้น คือ อนุสัญญาเคปทาวน์พร้อมด้วยพิธีสารแนบท้ายทั้งสามฉบับ และอนุสัญญาหลักทรัพย์เจนีวา

อ้างอิง[แก้]

  1. Forvo (n.d.). "Pronuncia di UNIDROIT in Francese".
  2. 2.0 2.1 UNIDROIT (n.d.). "Membership".
  3. 3.0 3.1 3.2 "UNIDROIT: An Overview". UNIDROIT. 2009. สืบค้นเมื่อ 1 February 2013.
  4. John Honnold (1965). "The Uniform Law for the International Sale of Goods: The Hague Convention of 1964". Law and Contemporary Problems. 30 (Spring). สืบค้นเมื่อ 1 February 2013.
  5. "UNIDROIT Conventions". UNIDROIT. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-04-16. สืบค้นเมื่อ 26 February 2012.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]