สถานีเมืองทองธานี

พิกัด: 13°53′50″N 100°32′54″E / 13.89722°N 100.54833°E / 13.89722; 100.54833
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เมืองทองธานี
PK10

Muang Thong Thani
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งถนนแจ้งวัฒนะ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี
พิกัด13°53′50″N 100°32′54″E / 13.89722°N 100.54833°E / 13.89722; 100.54833
เจ้าของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
ผู้ให้บริการนอร์ทเทิร์น บางกอกโมโนเรล (เอ็นบีเอ็ม)
สาย
ชานชาลา3 ชานชาลาด้านข้างผสมเกาะกลาง
ราง3
โครงสร้าง
ประเภทโครงสร้างยกระดับ
ข้อมูลอื่น
รหัสสถานีPK10
ประวัติ
เริ่มเปิดให้บริการ7 มกราคม พ.ศ. 2567 (0 ปี)
ชื่อเดิมศรีรัช
การเชื่อมต่อ
สถานีก่อนหน้า รถไฟฟ้ามหานคร สถานีต่อไป
ศรีรัช สายสีชมพู แจ้งวัฒนะ 14
มุ่งหน้า มีนบุรี
อิมแพ็ค เมืองทองธานี สายสีชมพู
สายแยก
สถานีปลายทาง
ที่ตั้ง
แผนที่

สถานีเมืองทองธานี (อังกฤษ: Muang Thong Thani station; รหัส: PK10) เป็นสถานีรถไฟฟ้ามหานครแบบยกระดับในเส้นทางสายสีชมพู โดยยกระดับเหนือถนนแจ้งวัฒนะในพื้นที่อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี เป็นสถานีสุดท้ายของสายสีชมพูที่อยู่ในเขตการปกครองของจังหวัดนนทบุรี และเป็นสถานีแรกของประเทศไทยที่เป็นสถานีรถไฟฟ้าชุมทางที่ให้บริการร่วมกันระหว่างสายหลักกับสายสาขา

ที่ตั้ง[แก้]

สถานีเมืองทองธานีตั้งอยู่เหนือถนนแจ้งวัฒนะ ทางทิศตะวันออกของทางแยกต่างระดับแจ้งวัฒนะ (จุดตัดระหว่างถนนแจ้งวัฒนะ ทางพิเศษศรีรัช และทางพิเศษอุดรรัถยา) ทางทิศตะวันออกของคลองเกลือ และด้านหน้าสำนักเครื่องกลและสื่อสาร กรมทางหลวง ในพื้นที่หมู่ที่ 1 บ้านคลองเกลือ ตำบลคลองเกลือ และหมู่ที่ 8 บ้านคลองเกลือ ตำบลบางตลาด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี

เดิมสถานีแห่งนี้ใช้ชื่อว่า "สถานีศรีรัช" เพื่อสื่อถึงที่ตั้ง (กล่าวคือ ใกล้กับทางพิเศษศรีรัช) แต่เนื่องจากเอ็นบีเอ็มได้เสนอให้มีการก่อสร้างสายแยกศรีรัช–เมืองทองธานี เพื่อนำรถไฟฟ้ามหานคร สายสีชมพู เข้าสู่พื้นที่ใจกลางเมืองทองธานีอันเป็นที่ตั้งของอิมแพ็ค เมืองทองธานี จึงทำให้สถานีแห่งนี้กลายเป็นสถานีชุมทางระหว่างสายหลักกับสายแยก แต่การใช้ชื่อสถานีศรีรัชอาจทำให้เกิดความสับสนกับสถานี PK09 ซึ่งในขณะนั้นใช้ชื่อว่า "สถานีเมืองทองธานี" เอ็นบีเอ็มจึงเสนอให้มีการสลับชื่อสถานีระหว่างสถานีแห่งนี้กับสถานี PK09 เพื่อป้องกันความสับสนของผู้โดยสารที่จะมาใช้บริการสายแยกที่สถานีแห่งนี้

รายละเอียด[แก้]

สีสัญลักษณ์[แก้]

ใช้สีชมพูตกแต่งสถานีเพื่อสื่อให้เห็นว่าเป็นสถานีของโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู

รูปแบบ[แก้]

เป็นสถานียกระดับ มีชานชาลาด้านข้าง ขนาดมาตรฐาน ประกอบด้วยชั้นขายบัตรโดยสารและชั้นชานชาลา มีประตูอัตโนมัติกั้นชานชาลาแบบครึ่งความสูง ในส่วนหลังคาชานชาลามีการออกแบบให้ป้องกันฝนสาดและแดดส่อง

ทางเข้า–ออก[แก้]

ประกอบด้วยทางขึ้น–ลงปกติ ได้แก่

  • 1 สำนักเครื่องกลและสื่อสาร กรมทางหลวง
  • 2 ซอยแจ้งวัฒนะ-ปากเกร็ด 43 (เข้าหมู่บ้านสหกรณ์การบินไทย)
  • 3 แม็คโคร แจ้งวัฒนะ
  • 4 ถนนแจ้งวัฒนะขาเข้า (มุ่งหน้าทางแยกปากเกร็ด)

แผนผัง[แก้]

U3
ชานชาลา
ชานชาลา 3
(ยังไม่เปิดใช้งาน)
(ป้ายหน้ารถ: ทะเลสาบเมืองทองธานี) สายสีชมพู มุ่งหน้า ทะเลสาบเมืองทองธานี (อิมแพ็ค เมืองทองธานี)
(ป้ายหน้ารถ: มีนบุรี) สายสีชมพู มุ่งหน้า มีนบุรี (แจ้งวัฒนะ 14)
ชานชาลาเกาะกลาง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย/ขวา
ชานชาลา 1 สายสีชมพู มุ่งหน้า มีนบุรี
ชานชาลา 2 สายสีชมพู มุ่งหน้า ศูนย์ราชการนนทบุรี
ชานชาลาด้านข้าง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย
U2
ชั้นขายบัตรโดยสาร
ชั้นขายบัตรโดยสาร ทางออก 1–4, ศูนย์บริการผู้โดยสาร, ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร, ร้านค้า
G
ระดับถนน
ป้ายรถประจำทาง, ถนนแจ้งวัฒนะ, สำนักเครื่องกลและสื่อสาร กรมทางหลวง, แม็คโคร แจ้งวัฒนะ, นิว โนเบิล แจ้งวัฒนะ

เนื่องจากเป็นสถานีปลายทางสำหรับสายแยกเมืองทองธานี ขบวนรถที่มาจากสถานีอิมแพ็ค เมืองทองธานี จะสิ้นสุดการให้บริการที่ชานชาลาที่ 3 จากนั้นผู้โดยสารที่มาจากสถานีรายทางจะต้องลงจากขบวนรถทั้งหมด และผู้โดยสารที่ต้องการไปยังสถานีทะเลสาบเมืองทองธานีจะใช้ชานชาลาร่วมกับผู้โดยสารที่เดินทางมาจากสถานีรายทาง โดยผู้โดยสารที่ต้องการไปยังสถานีอื่น ๆ จะต้องรอจนกว่าผู้โดยสารที่มาจากสถานีรายทางออกจากขบวนรถทั้งหมด และรอให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบสภาพรถไฟฟ้าให้เรียบร้อยเสียก่อน จากนั้นขบวนรถไฟฟ้าจึงจะออกจากสถานีเข้าสู่สถานีอิมแพ็ค เมืองทองธานี ต่อไป

กรณีผู้โดยสารที่ต้องการเดินทางกลับสู่สายหลักไปยังสถานีมีนบุรี สามารถรอขบวนรถที่ชานชาลา 1 ฝั่งตรงข้ามได้ทันที หรือไปยังสถานีศูนย์ราชการนนทบุรี สามารถเดินข้ามชานชาลาได้โดยการกลับลงมาที่ชั้นจำหน่ายบัตรโดยสาร และขึ้นบันไดไปยังชานชาลาที่ 2 ฝั่งตรงข้ามได้เช่นกัน

ในบางครั้ง เอ็นบีเอ็มอาจมีการจัดการเดินรถต่อเนื่องจากสถานีทะเลสาบเมืองทองธานีไปยังสถานีปลายทางมีนบุรี หากผู้โดยสารที่มากับขบวนรถนี้ต้องการเดินทางต่อไปยังสถานีมีนบุรี ก็สามารถโดยสารต่อได้ทันทีโดยไม่ต้องเปลี่ยนขบวนรถ แต่ผู้โดยสารที่ต้องการเดินทางไปยังสถานีปลายทางศูนย์ราชการนนทบุรี จำเป็นต้องลงจากขบวนรถเพื่อเปลี่ยนไปยังชานชาลาที่ 2 ฝั่งตรงข้าม

เวลาให้บริการ[แก้]

ปลายทาง เชื่อมต่อ ขบวนแรก ขบวนสุดท้าย
สายสีชมพู[1][2]
ชานชาลาที่ 1
PK30 มีนบุรี เต็มระยะ 05.41 00.24
PK14 สายสีแดงเข้ม 23.54
PK16 สายสุขุมวิท (คูคต) 00.14
PK16 สายสุขุมวิท (เคหะฯ) 23.04
ชานชาลาที่ 2
PK01 ศูนย์ราชการนนทบุรี เต็มระยะ 05.35 00.44
PK01 สายสีม่วง (คลองบางไผ่) 23.14
PK01 สายสีม่วง (เตาปูน) 22.44


สถานที่ใกล้เคียง[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "เวลาให้บริการของรถไฟฟ้ามหานคร สายสีชมพู". 2023-12-28.
  2. "เวลาให้บริการของรถไฟฟ้ามหานคร สายสีชมพูขบวนสุดท้าย - ข่าวรถไฟ". 2023-12-28.