สถานีอิสรภาพ

พิกัด: 13°44′18.3″N 100°29′07.1″E / 13.738417°N 100.485306°E / 13.738417; 100.485306
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อิสรภาพ
BL32

Itsaraphap
ชั้นขายบัตรโดยสาร เสาประดับด้วยลายหงส์
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งถนนอิสรภาพ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร
พิกัด13°44′18.3″N 100°29′07.1″E / 13.738417°N 100.485306°E / 13.738417; 100.485306
เจ้าของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
ผู้ให้บริการทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM)
สาย
ชานชาลา1 ชานชาลาเกาะกลาง
ราง2
โครงสร้าง
ประเภทโครงสร้างใต้ดิน
ข้อมูลอื่น
รหัสสถานีBL32
ประวัติ
เริ่มเปิดให้บริการ29 กรกฎาคม พ.ศ. 2562; 4 ปีก่อน (2562-07-29)
ผู้โดยสาร
25641,502,553
การเชื่อมต่อ
สถานีก่อนหน้า รถไฟฟ้ามหานคร สถานีต่อไป
ท่าพระ
มุ่งหน้า หลักสอง
สายสีน้ำเงิน สนามไชย
มุ่งหน้า ท่าพระ ผ่าน บางซื่อ
ที่ตั้ง
แผนที่

สถานีอิสรภาพ (อังกฤษ: Itsaraphap Station, รหัส BL32) เป็นสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินในเส้นทางรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล โดยเป็นสถานีสถานีแรกและสถานีเดียวของสายเฉลิมรัชมงคลที่มีโครงสร้างใต้ดินที่ตั้งอยู่ที่ฝั่งธนบุรี สถานีตั้งอยู่ในแนวตัดขวางใต้ถนนอิสรภาพ บริเวณใต้ซอยอิสรภาพ 23 และซอยอิสรภาพ 34 ในพื้นที่แขวงวัดท่าพระ เขตบางกอกใหญ่ โดยเป็นสถานีใต้ดินสถานีสุดท้ายก่อนยกระดับเข้าสู่สถานีท่าพระ รวมถึงเป็นสถานีที่เชื่อมต่อไปยังอุโมงค์ลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาเพื่อข้ามไปฝั่งพระนครอีกด้วย

ที่ตั้ง[แก้]

ระหว่างซอยอิสรภาพ 23 (ซอยวัดราชสิทธาราม) และซอยอิสรภาพ 34 (ซอยพิเศษสุข) ในพื้นที่แขวงวัดท่าพระ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร

การออกแบบ[แก้]

สถานีอิสรภาพเป็นสถานีเดียวที่การออกแบบตัวสถานีจะไม่ใช้ลักษณะการออกแบบเดียวกับสถานีใต้ดินก่อนหน้า (วัดมังกร สามยอด และสนามไชย) เช่นการก่อสร้างอาคารเพื่อใช้เป็นทางเข้า การทำลวดลายบนฝ้าเพดาน หรือการตกแต่งโดยละเอียดของสถานี ซึ่งการออกแบบสถานีอิสรภาพจะเน้นลักษณะการออกแบบตัวสถานีแบบเดียวกับสถานีรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคลรูปแบบเดิม แต่เปลี่ยนโทนสีในการตกแต่งให้เป็นสีทองเป็นหลัก มีการนำรูปหงส์ ที่เป็นสัตว์สิริมงคลและศักดิ์สิทธิ์ และยังเป็นสัญลักษณ์ของวัดหงส์รัตนารามราชวรวิหารมาปรับใช้ในการออกแบบ เพื่อสื่อให้เห็นถึงประวัติศาสตร์ของพื้นที่[1][2]

นอกจากการใช้ "หงส์" เป็นสัญลักษณ์หลักของสถานี ตัวสถานียังมีการนำลายค้างคาวและเหรียญจีนมาตกแต่งตามกระเบื้องหัวเสา ป้ายประเพณีประจำสถานี ป้ายบอกทางภายในสถานี บานประตูฉุกเฉินและจุดรับน้ำดับเพลิง ซึ่งอาศัยความเชื่อของจีนมาใช้ในการออกแบบสัญลักษณ์ โดยความหมายของสัญลักษณ์คือ ค้างคาว เป็นการเล่นคำเล่นเสียงของจีน คือ เปี่ยน-ฝู ซึ่งคำว่า ฝู ออกเสียงคล้ายกับคำว่า ฝู หรือ ฮก ในภาษาแต้จิ๋ว หมายถึงความสุขหรือโชคลาภ และเมื่อนำสัญลักษณ์ค้างคาวมาออกแบบร่วมกับเหรียญของจีน อันเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึงความมั่งคั่งร่ำรวย ความเป็นมงคล และเป็นสิ่งมีค่าตามความเชื่อโบราณว่าเป็น 1 ในสุดยอด 28 ของมงคลของจีน ถือว่าเป็นสิ่งที่นำพาโชคลาภมาให้ ฉะนั้นแล้วการรวมสองสัญลักษณ์ความเป็นมงคลของจีนเข้าด้วยกัน สัญลักษณ์ของสถานีจะมีความหมายว่า "การขอให้มีความสุขเกิดขึ้นก่อนใคร" (Wealth is on the Horizon)

แผนผังสถานี[แก้]

G
ระดับถนน
- ป้ายรถประจำทาง และรถรับจ้างประจำทาง
มัสยิดดิลฟัลลาห์, กุฎีเจริญพาศน์, วัดหงส์รัตนารามราชวรวิหาร, วัดราชสิทธารามราชวรวิหาร
B1
ชั้นร้านค้า
ทางออก 1-2, ร้านค้า
B2
ชั้นขายบัตรโดยสาร
ชั้นขายบัตรโดยสาร ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร
B3
ชั้น Plant
ห้องเครื่อง ชั้นคั่นกลางระหว่างชั้นขายบัตรโดยสารและชั้นชานชาลา
B4
ชานชาลา
ชานชาลา 2 สายสีน้ำเงิน มุ่งหน้า ท่าพระ (ผ่าน บางซื่อ)
ชานชาลาเกาะกลาง, ประตูรถจะเปิดทางด้านขวา
ชานชาลา 1 สายสีน้ำเงิน มุ่งหน้า หลักสอง

รายละเอียดสถานี[แก้]

สัญลักษณ์ของสถานี[แก้]

สัญลักษณ์รูปหงส์ อันเป็นตราสัญลักษณ์ของสถานี

ตราสัญลักษณ์สถานีเป็นรูปหงส์ เพื่อสื่อถึงตราสัญลักษณ์ประจำของวัดหงส์รัตนารามราชวรวิหาร กระเบื้องหัวเสาและป้ายสถานี ออกแบบโดยใช้ลายค้างคาวและเหรียญจีน เพื่อแสดงถึงความเป็นสิริมงคล โดยมีความหมายว่า "การขอให้มีความสุขเกิดขึ้นก่อนใคร" และใช้สีทองตกแต่งสถานีเพื่อสื่อถึงความเป็นสิริมงคลและเป็นสีที่เกี่ยวข้องกับราชวงศ์

รูปแบบของสถานี[แก้]

เป็นสถานีใต้ดิน ใช้ชานชาลาแบบเกาะกลาง (Station with Central Platform)

ทางเข้า-ออกสถานี[แก้]

  • 1 ซอยอิสรภาพ 34, วัดหงส์รัตนาราม, สถานีตำรวจนครบาลบางกอกใหญ่, มัสยิดผดุงธรรมอิสลาม (ลิฟต์)
  • 2 ซอยอิสรภาพ 23, วัดราชสิทธาราม, วัดใหม่พิเรนทร์, มัสยิดดิลฟัลลาห์ (ลิฟต์)

การจัดพื้นที่ในตัวสถานี[แก้]

แบ่งเป็น 5 ชั้น ประกอบด้วย

  • G ชั้นระดับถนน (Ground level)
  • B1 ชั้นร้านค้า
  • B2 ชั้นออกบัตรโดยสาร เหรียญโดยสาร และห้องประชาสัมพันธ์ (Concourse level)
  • B3 ชั้นคั่นกลางระหว่างชั้นออกบัตรโดยสารกับชั้นชานชาลา
  • B4 ชั้นชานชาลา (Platform level) ชานชาลา 1 มุ่งหน้าสถานีหลักสอง และชานชาลา 2 มุ่งหน้าสถานีท่าพระ (ผ่านสถานีบางซื่อ)

เวลาให้บริการ[แก้]

ปลายทาง วัน ขบวนแรก ขบวนสุดท้าย
สายสีน้ำเงิน[3]
ชานชาลาที่ 1
BL38 หลักสอง จันทร์ – ศุกร์ 05:47 00:16
เสาร์ – อาทิตย์ นักขัตฤกษ์ 05:57 00:16
ชานชาลาที่ 2
BL01 ท่าพระ
(ผ่านบางซื่อ)
จันทร์ – ศุกร์ 05:45 23:22
เสาร์ – อาทิตย์ นักขัตฤกษ์ 06:02 23:22
ขบวนสุดท้ายเชื่อมต่อสายสีม่วง 22:36

รถโดยสารประจำทาง[แก้]

  • Handicapped/disabled access เส้นทางที่มีรถรองรับวีลแชร์

องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ[แก้]

สายที่ จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด ประเภทของรถที่ให้บริการ ผู้ให้บริการ หมายเหตุ
208 (3) วงกลม : ตลิ่งชัน อรุณอมรินทร์ 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง ขสมก. เส้นทางรถวิ่งเป็นวงกลม
มีรถให้บริการน้อย

รถเอกชน[แก้]

สายที่ จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด ประเภทของรถที่ให้บริการ ผู้ให้บริการ หมายเหตุ
40 (4-39) Handicapped/disabled access รถโดยสารประจำทาง สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (ตลิ่งชัน) BTS เอกมัย รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีน้ำเงิน (ใช้พลังงานไฟฟ้า) บจก.สมาร์ทบัส
(เครือไทยสมายล์บัส)
56 (4-40) Handicapped/disabled access สะพานกรุงธน บางลำพู บจก.ชัยกรการเดินรถ
(เครือไทยสมายล์บัส)
เส้นทางเป็นวงกลม
57 (4-41) Handicapped/disabled access ตลิ่งชัน วงเวียนใหญ่ บจก.ไทยสมายล์บัส
85 (4-16) Handicapped/disabled access บิ๊กซีพระประแดง การขนส่งระบบราง สถานีรถไฟธนบุรี บจก.สมาร์ทบัส
(เครือไทยสมายล์บัส)
149 (4-53) Handicapped/disabled access บรมราชชนนี รถโดยสารประจำทาง สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (เอกมัย) บจก.ไทยสมายล์บัส
  • รถสี่ล้อเล็ก สายคลองสาน–ศิริราช และตลาดพลู–ศิริราช
  • รถตู้ร่วมให้บริการ สายสถานีอิสรภาพ–โรงพยาบาลธนบุรี

สถานที่สำคัญใกล้เคียง[แก้]

สถาบันการศึกษา[แก้]

วัด[แก้]

โรงพยาบาล[แก้]

การทหาร[แก้]

ย่านการค้า[แก้]

สถานีรถไฟ[แก้]

การเชื่อมต่อระบบรถไฟฟ้าในอนาคต[แก้]

ในอนาคต สถานีอิสรภาพจะเป็นจุดเชื่อมต่อกับสถานีอิสรภาพอีกแห่งหนึ่งของโครงการรถไฟฟ้าสายสีทอง ส่วนต่อขยายช่วงสำเหร่–อิสรภาพ ตามแนวถนนอิสรภาพ เพื่อเชื่อมต่อเข้ากับศูนย์การค้าไอคอนสยาม รถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเข้ม และรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม

อ้างอิง[แก้]

  1. ‘อิสรภาพ’ สถานีใต้ดินแรกของฝั่งธนบุรี
  2. ยลโฉม 4 สถานีรถไฟฟ้าเฉลิมรัชมงคล สถาปัตยกรรมในรัชสมัยรัชกาลที่ 9
  3. "รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ตารางเดินรถไฟฟ้า". www.mrta.co.th.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]