สถานีรัชดาภิเษก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รัชดาภิเษก
BL16

Ratchadaphisek
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งถนนรัชดาภิเษก เขตดินแดงและเขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร
เจ้าของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
ผู้ให้บริการทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM)
สาย
ชานชาลา1 ชานชาลาเกาะกลาง
ราง2
โครงสร้าง
ประเภทโครงสร้างใต้ดิน
ทางเข้าออกสำหรับผู้พิการมีบริการ
ข้อมูลอื่น
รหัสสถานีBL16
ประวัติ
เริ่มเปิดให้บริการ3 กรกฎาคม พ.ศ. 2547; 19 ปีก่อน (2547-07-03)
ชื่อเดิมรัชดา
ผู้โดยสาร
25641,571,151
การเชื่อมต่อ
สถานีก่อนหน้า รถไฟฟ้ามหานคร สถานีต่อไป
สุทธิสาร
มุ่งหน้า หลักสอง
สายสีน้ำเงิน ลาดพร้าว
มุ่งหน้า ท่าพระ ผ่าน บางซื่อ
ที่ตั้ง
แผนที่

สถานีรัชดาภิเษก (อังกฤษ: Ratchadaphisek Station, รหัส BL16) เป็นสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน ในเส้นทางรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ที่ถนนรัชดาภิเษก-ห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่ในย่านอาคารสำนักงานและที่พักอาศัยบริเวณซอยโชคชัยร่วมมิตร

ที่ตั้ง[แก้]

ถนนรัชดาภิเษก บริเวณทิศเหนือของปากซอยโชคชัยร่วมมิตร (ซอยรัชดาภิเษก 19) และสะพานข้ามคลองบางซื่อ ในพื้นที่แขวงรัชดาภิเษก เขตดินแดง และแขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร

บริเวณโดยรอบสถานีรัชดาภิเษก เป็นย่านที่พักอาศัยหนาแน่นใจกลางเมือง โดยเฉพาะบริเวณริมคลองบางซื่อ และซอยโชคชัยร่วมมิตร (ซอยรัชดาภิเษก 19 หรือซอยวิภาวดีรังสิต 16) ที่เป็นซอยเชื่อมต่อจากถนนรัชดาภิเษก ออกสู่ถนนวิภาวดีรังสิต บริเวณด้านหลังบริษัทการบินไทย สำนักงานใหญ่ มีชุมชนทั้งที่เป็นบ้านเดี่ยวและคอนโดมิเนียมอยู่จำนวนมาก

เนื่องจากบริเวณโดยรอบสถานีแห่งนี้ไม่มีสถานที่สำคัญใกล้เคียงที่มีความโดดเด่นเพียงพอ นอกเหนือไปจากซอยโชคชัยร่วมมิตร ดังนั้นจึงตั้งชื่อสถานีตามถนนรัชดาภิเษกที่เป็นถนนสายหลัก โดยก่อนหน้าที่จะมีการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สถานีแห่งนี้ได้ใช้ชื่อว่า "สถานีรัชดา" และได้เปลี่ยนมาใช้ชื่อ "สถานีรัชดาภิเษก" ในภายหลัง เพื่อให้ถูกต้องตามชื่อถนนอย่างเป็นทางการ

แผนผังสถานี[แก้]

G
ระดับถนน
- ป้ายรถประจำทาง, ลานจอดรถ
โรงเรียนปัญจทรัพย์
B1
ทางเดินลอดถนน
ทางเดินลอดถนน ทางออก 1-4, ศูนย์การค้า เมโทรมอลล์
B2
ชั้นขายบัตรโดยสาร
ชั้นขายบัตรโดยสาร ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร
B3
ชานชาลา
ชานชาลา 2 สายสีน้ำเงิน มุ่งหน้า ท่าพระ (ผ่าน บางซื่อ)
ชานชาลาเกาะกลาง, ประตูรถจะเปิดทางด้านขวา
ชานชาลา 1 สายสีน้ำเงิน มุ่งหน้า หลักสอง

รายละเอียดของสถานี[แก้]

สีสัญลักษณ์ของสถานี[แก้]

ใช้สีชมพูตกแต่งกระเบื้องที่เสา ผนังและขอบด้านบนของแนวประตูกั้นชานชาลา[1]

รูปแบบของสถานี[แก้]

เป็นสถานีใต้ดิน กว้าง 23 เมตร ยาว 226 เมตร ระดับชานชาลาอยู่ลึก 19 เมตรจากผิวดิน เป็นชานชาลาแบบเกาะกลาง (Station with Central Platform)

ทางเข้า-ออก[แก้]

ทางเข้า-ออกที่ 1
  • 1 โรงเรียนปัญจทรัพย์, โรงแรมเจ้าพระยาปาร์ค, ป้ายรถประจำทางไปสี่แยกรัชดาภิเษก-ลาดพร้าว
  • 2 ซอยโชคชัยร่วมมิตร, ลานจอดรถฟรีริมถนนรัชดาภิเษก, ป้ายรถประจำทางไปสี่แยกรัชดาภิเษก-ลาดพร้าว
  • 3 อาคารโอลิมเปียไทย ทาวเวอร์, ป้ายรถประจำทางไปสี่แยกรัชดาภิเษก-สุทธิสาร
  • 4 ซอยรัชดาภิเษก 24, ลานจอดรถของสถานี, อาคารพี.กะรัต, ป้ายรถประจำทางไปสี่แยกรัชดาภิเษก-สุทธิสาร (ลิฟต์)

การจัดพื้นที่ในตัวสถานี[แก้]

แบ่งเป็น 4 ชั้น ประกอบด้วย

  • 1 ชั้นศูนย์การค้า เมโทรมอลล์
  • 2 ชั้นออกบัตรโดยสาร
  • 3 ชั้นชานชาลา

สิ่งอำนวยความสะดวก[แก้]

  • ลานจอดรถ 30 คัน บริเวณทางเข้า-ออกหมายเลข 4
  • ลิฟท์สำหรับผู้พิการ ทางเข้า-ออกหมายเลข 4 (อาคารพี.กะรัต)

ศูนย์การค้าภายในสถานี[แก้]

ภายในสถานีรัชดาภิเษก ได้จัดให้มีส่วนร้านค้าหรือ เมโทรมอลล์ ที่ชั้นบนสุดของสถานี แต่ขณะนี้ยังไม่เปิดให้บริการ ซึ่งก่อนหน้านี้เมื่อปี พ.ศ. 2549 ทางบริษัท เมโทร มอลล์ ดีเวลลอปเมนท์ ผู้บริหารพื้นที่ค้าปลีกสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน เคยวางแผนจะเปิดให้บริการเมโทรมอลล์ที่สถานีแห่งนี้เป็นสถานีที่ 3 ถัดจากสถานีสุขุมวิทและพหลโยธิน ด้วยรูปแบบ "เลิร์นนิ่งสเตชัน" หรือสถานีแห่งการเรียนรู้ ที่แบ่งพื้นที่ 80% สำหรับโรงเรียนกวดวิชาได้ประมาณ 10 โรงเรียน และพื้นที่ 20% สำหรับบริการทั่วไป เป็นรูปแบบศูนย์การค้าที่เฉพาะทางมากขึ้น เนื่องจากโดยรอบสถานีมีโรงเรียนและสถานศึกษาอยู่มาก แต่จนถึงขณะนี้ยังไม่มีความคืบหน้าแต่อย่างใด [2]

เวลาให้บริการ[แก้]

ปลายทาง วัน ขบวนแรก ขบวนสุดท้าย
สายสีน้ำเงิน[3]
ชานชาลาที่ 1
BL38 หลักสอง จันทร์ – ศุกร์ 05:55 23:43
เสาร์ – อาทิตย์ นักขัตฤกษ์ 05:57 23:43
ชานชาลาที่ 2
BL01 ท่าพระ
(ผ่านบางซื่อ)
จันทร์ – ศุกร์ 05:55 23:54
เสาร์ – อาทิตย์ นักขัตฤกษ์ 05:55 23:54
ขบวนสุดท้ายเชื่อมต่อสายสีม่วง 23:08

รถโดยสารประจำทาง[แก้]

  • ถนนรัชดาภิเษก สาย 73 136 137 179 185 206 514 517

สถานที่สำคัญใกล้เคียง[แก้]

แผนผังบริเวณสถานี

อ้างอิง[แก้]

  1. จุดเริ่มต้นของคนเดินทาง: ดำดินเดินทาง. คอลัมน์นายรอบรู้ นิตยสารสารคดี เดือนตุลาคม 2548
  2. ผู้จัดการออนไลน์ 12 กันยายน 2549
  3. "รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ตารางเดินรถไฟฟ้า". www.mrta.co.th.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]