สงครามประกาศอิสรภาพตุรกี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก สงครามอิสรภาพตุรกี)
สงครามประกาศอิสรภาพตุรกี

หมุนตามเข็มนาฬิกาจากซ้ายบน: คณะผู้แทนรวมตัวกันในสภาคองเกรสซิวัส เพื่อกำหนดเป้าหมายของขบวนการแห่งชาติตุรกี; พลเรือนชาวตุรกีได้แบกอาวุธไปยังแนวหน้า; ทหารราบของ Kuva-yi Milliye; กองทหารม้าตุรกีอยู่ในการไล่ล่า; กองทัพตุรกีได้เข้ายึดครองเมืองอิซเมียร์; ทหารในจัตุรัสยูรัสของอังการาเพื่อเตรียมตัวที่จะออกเดินทางไปยังแนวหน้า
วันที่19 พฤษภาคม ค.ศ. 1919 – 22 ตุลาคม ค.ศ. 1922 (การพักรบ)
24 กรกฎาคม ค.ศ. 1923 (สันติภาพ)
(4 ปี, 2 เดือน และ 5 วัน)
สถานที่
อานาโตเลีย ดินแดนตุรกีฝั่งยุโรป และเมโสโปเตเมียเหนือ
ผล

ตุรกีได้ชัยชนะอย่างเด็ดขาด

ดินแดน
เปลี่ยนแปลง
กองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรได้ถอนกำลังออกจากดินแดนยึดครองตุรกี
คู่สงคราม
จักรวรรดิออตโตมัน รัฐบาลอังคารา
สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย โซเวียตรัสเซีย
ราชอาณาจักรกรีซ ราชอาณาจักรกรีซ
ฝรั่งเศส ฝรั่งเศส
อาร์มีเนีย อาร์มีเนีย
 สหราชอาณาจักร
 จักรวรรดิออตโตมัน
 อิตาลี
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
จักรวรรดิออตโตมัน มุสตาฟา เคมาล อตาเติร์ก
จักรวรรดิออตโตมัน Fevzi Pasha
จักรวรรดิออตโตมัน Kâzım Pasha
จักรวรรดิออตโตมัน Ali Fuat Pasha
จักรวรรดิออตโตมัน อิสเมท อีเนอนือ
สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย วลาดีมีร์ เลนิน
ราชอาณาจักรกรีซ Anastasios Papoulas
ราชอาณาจักรกรีซ Georgios Hatzianestis
ราชอาณาจักรกรีซ Leonidas Paraskevopoulos
ฝรั่งเศส Henri Gouraud
อาร์มีเนีย Drastamat Kanayan
อาร์มีเนีย Movses Silikyan
สหราชอาณาจักร George Milne
จักรวรรดิออตโตมัน Süleyman Şefik Pasha

สงครามประกาศอิสรภาพตุรกี (ตุรกี: Kurtuluş Savaşı "War of Liberation", ยังเป็นที่รู้จักโดยปริยายคือ İstiklâl Harbi "สงครามประกาศอิสรภาพ" หรือ Millî Mücadele "การทัพชาตินิยม"; 19 พฤษภาคม ค.ศ. 1919 – 24 กรกฎาคม ค.ศ. 1923) เป็นการสู้รบกันระหว่างขบวนการแห่งชาติตุรกีกับตัวแทนฝ่ายสัมพันธมิตร - คือ กรีซบนแนวรบด้านตะวันตก อาร์มีเนียทางด้านตะวันออก ฝรั่งเศสทางตอนใต้ พวกนิยมกษัตริย์และผู้ที่ต้องการแบ่งแยกดินแดนในเมืองต่างๆ และสหราชอาณาจักรและอิตาลีในกรุงอิสตันบูล – ภายหลังจากส่วนต่างๆ ของจักรวรรดิออตโตมันได้ถูกยึดครองและแบ่งแยกภายหลังจากความปราชัยของออตโตมันในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง มีทหารฝ่ายยึดครองอย่างบริติซ ฝรั่งเศส และอิตาลีเพียงไม่กี่คนที่กรีฑาทัพหรือเข้าร่วมการสู้รบ

ขบวนการแห่งชาติตุรกี (Kuva-yi Milliye) ในอานาโตเลีย ได้มีการจัดตั้งสมัชชาใหญ่แห่งชาติ (GNA; ตุรกี: BMM) โดยมุสทาฟา เคมัล อาทาทืร์ค และเพื่อนร่วมขบวนการของเขา ภายหลังสิ้นสุดลงของแนวรบตุรกี-อาร์มีเนีย ฝรั่งเศส-ตุรกี และกรีซ-ตุรกี (มักจะเรียกว่า แนวรบด้านตะวันออก แนวรบทางใต้ และแนวรบตะวันตกของสงคราม, ตามลำดับ) สนธิสัญญาเซเวร์ได้ถูกยกเลิก และสนธิสัญญาคาร์ส(เดือนตุลาคม ค.ศ. 1921) และสนธิสัญญาโลซาน(เดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1923) ได้ถูกลงนาม ฝ่ายสัมพันธมิตรได้ออกจากอานาโตเลียและดินแดนตุรกีฝั่งยุโรป(East Thrace) และสมัชชาใหญ่แห่งชาติของตุรกีได้ตัดสินใจที่จะจัดตั้งสาธารณรัฐตุรกี ซึ่งถูกประกาศเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม ค.ศ. 1923

ด้วยการจัดตั้งขบวนการชาตินิยมตุรกี การแบ่งแยกดินแดนของจักรวรรดิออตโตมัน และการยกเลิกการปกครองของระบอบสุลต่าน ยุคสมัยออตโตมันและจักรวรรดิได้มาถึงจุดจบ และด้วยการปฏิรูปของอาทาทืร์ค พวกเติร์กได้สร้างประเทศรัฐฆราวาสที่ก้าวหน้าและทันสมัยของตุรกีบนแนวหน้าทางการเมือง เมื่อวันที่ 3 มีนาคม ค.ศ. 1924 กาหลิบ(หัวหน้าศาสนาอิสลาม)แห่งออตโตมันได้ถูกยกเลิกอย่างเป็นทางการและกาหลิบองค์สุดท้ายก็ถูกเนรเทศ

ดูเพิ่ม[แก้]

เชิงอรรถ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

บรรณานุกรม[แก้]

  • Barber, Noel (1988). Lords of the Golden Horn: From Suleiman the Magnificent to Kamal Ataturk. London: Arrow. ISBN 978-0-09-953950-6.
  • Gingeras, Ryan (2022). The Last Days of the Ottoman Empire. Dublin: Random House. ISBN 978-0-241-44432-0.
  • Dobkin, Marjorie Housepian, Smyrna: 1922 The Destruction of City (Newmark Press: New York, 1988). ISBN 0-966 7451-0-8.
  • Kinross, Patrick (2003). Atatürk: The Rebirth of a Nation. London: Phoenix Press. ISBN 978-1-84212-599-1. OCLC 55516821.
  • Kinross, Patrick (1979). The Ottoman Centuries: The Rise and Fall of the Turkish Empire. New York: Morrow. ISBN 978-0-688-08093-8.
  • Landis, Dan; Albert, Rosita, บ.ก. (2012). Handbook of Ethnic Conflict:International Perspectives. Springer. p. 264. ISBN 9781461404477.
  • Lengyel, Emil (1962). They Called Him Atatürk. New York: The John Day Co. OCLC 1337444.
  • Mango, Andrew (2002) [1999]. Ataturk: The Biography of the Founder of Modern Turkey (Paperback ed.). Woodstock, NY: Overlook Press, Peter Mayer Publishers, Inc. ISBN 1-58567-334-X.
  • Mango, Andrew, The Turks Today (New York: The Overlook Press, 2004). ISBN 1-58567-615-2.
  • Milton, Giles (2008). Paradise Lost: Smyrna 1922: The Destruction of Islam's City of Tolerance (Paperback ed.). London: Sceptre; Hodder & Stoughton Ltd. ISBN 978-0-340-96234-3. สืบค้นเมื่อ 28 July 2010.
  • Sjöberg, Erik (2016). Making of the Greek Genocide: Contested Memories of the Ottoman Greek Catastrophe. Berghahn Books. ISBN 978-1785333255.
  • Pope, Nicole and Pope, Hugh, Turkey Unveiled: A History of Modern Turkey (New York: The Overlook Press, 2004). ISBN 1-58567-581-4.
  • Yapp, Malcolm (1987). The Making of the Modern Near East, 1792–1923. London; New York: Longman. ISBN 978-0-582-49380-3.