ข้อพิพาทชายแดนโซเวียต–ญี่ปุ่น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ข้อพิพาทชายแดนโซเวียต–ญี่ปุ่น
ส่วนหนึ่งของ สงครามแปซิฟิก

ทหารโซเวียตจับเชลยศึกชาวญี่ปุ่นได้ในยุทธการฮาลฮิน กอล ค.ศ. 1939
วันที่1932–1939
สถานที่
ผล สหภาพโซเวียตได้รับชัยชนะ
คู่สงคราม

สหภาพโซเวียต สหภาพโซเวียต

 ญี่ปุ่น

ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
สหภาพโซเวียต เกออร์กี จูคอฟ
สหภาพโซเวียต วาซีลี บลูย์เคียร์
จักรวรรดิญี่ปุ่น เค็นกิชิ อุเอะดะ
จักรวรรดิญี่ปุ่น โยะชิจิโร อุเมะซุ
ความสูญเสีย
ข้อมูลจากเอกสารราชการ:
เสียชีวิตหรือสูญหาย 20,302 นาย
บาดเจ็บ 18,003 นาย
ประมาณการของญี่ปุ่น:
ทหารเสียชีวิต 29,525 นาย
บาดเจ็บ 8,799 นาย
ประมาณการของโซเวียต:
ความสูญเสียทั้งหมด 147,259 นาย

ข้อพิพาทชายแดนโซเวียต–ญี่ปุ่น ยังเป็นที่รู้จักกันคือ สงครามชายแดนโซเวียต–ญี่ปุ่น เป็นความขัดแย้งตามแนวชายแดนโดยที่ไม่ได้ประกาศสงครามต่อกันซึ่งเป็นการสู้รบระหว่างสหภาพโซเวียตและญี่ปุ่นในเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1932 ถึง ค.ศ. 1939

ญี่ปุ่นได้ขยายพื้นที่ในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีนที่ติดชายแดนกับดินแดนตะวันออกไกลของโซเวียตและเกิดข้อพิพาทเรื่องเส้นแบ่งเขตจนนำไปสู่ความตึงเครียดที่เพิ่มมากขึ้นกับสหภาพโซเวียต โดยที่ทั้งสองฝ่ายมักจะล่วงละเมิดเขตชายแดนและกล่าวหาซึ่งกันและกันว่าได้ล่วงละเมิดเขตชายแดน โซเวียตและญี่ปุ่น รวมทั้งประเทศที่เป็นรัฐบริวารของพวกเขาอย่างมองโกเลียและแมนจูกัว ได้เข้าต่อสู้รบกันบนชายแดนขนาดเล็กที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นและเคลื่อนทัพเพื่อเป็นการสั่งสอน ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1935 จนกระทั่งชัยชนะของโซเวียต-มองโกเลียต่อญี่ปุ่นในยุทธการที่ฮาลฮิน กอล ในปี ค.ศ. 1939 ซึ่งได้ยุติข้อพิพาทและส่งคืนเส้นเขตชายแดนสู่สถานการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนสงคราม(status quo ante bellum)

ความขัดแย้งชายแดนโซเวียต-ญี่ปุ่นมีส่วนอย่างมากต่อการลงนามในกติกาสัญญาความเป็นกลางโซเวียต–ญี่ปุ่น ในปี ค.ศ. 1941

ดูเพิ่ม[แก้]