สงครามรวมชาติของฉิน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สงครามรวมชาติของฉิน
ส่วนหนึ่งของ ยุครณรัฐ
วันที่พ.ศ. 313–พ.ศ. 322
สถานที่
ผล ฉินได้ชัยชนะ
ดินแดน
เปลี่ยนแปลง
รวบรวมแผ่นดินจีนภายใต้ราชวงศ์ฉิน
คู่สงคราม
แคว้นฉิน รัฐหาน
รัฐจ้าว
รัฐยาน
รัฐเว่ย์
รัฐฉู่
รัฐฉี
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
จิ๋นซีฮ่องเต้ อ๋องของแต่ละแคว้น
กำลัง
600,000+ 1,000,000+
ความสูญเสีย
เบา หนัก

สงครามรวมชาติของฉิน (จีน: 秦灭六国之战) เป็นการรบที่เริ่มขึ้นในช่วงปลายศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาลโดยรัฐฉินเพื่อสู้กับรัฐสำคัญอีก 6 รัฐ ได้แก่ หาน จ้าว ยาน เว่ย์ ฉู่ และฉี

ระหว่าง 247 ปีก่อนคริสตกาล ถึง 221 ปีก่อนคริสตกาล ฉินได้กลายเป็นหนึ่งในรัฐที่ทรงอำนาจมากที่สุดในบรรดาเจ็ดรณรัฐ ใน 230 ปีก่อนคริสตกาล อิงเจิ้ง ฉินหวาง (กษัตริย์แห่งรัฐฉิน) ทำการรบครั้งสุดท้ายในยุครณรัฐ โดยทำการพิชิตทั้ง 6 รัฐที่เหลือ หลังจากการล่มสลายของรัฐฉีเมื่อ 221 ปีก่อนคริสตกาล จีนก็รวมเป็นหนึ่งเดียวภายใต้การปกครองของรัฐฉิน อิ๋งเจิ้งประกาศตัวเองเป็น "จิ๋นซีฮ่องเต้" (หมายถึง "จักรพรรดิองค์แรกของราชวงศ์ฉิน") และสถาปนาราชวงศ์ฉิน กลายเป็นจักรพรรดิองค์แรกของจีนที่รวมเป็นหนึ่งเดียว

ปูมหลัง[แก้]

การเติบโตของฉินและการพิชิตช่วงแรก[แก้]

ในช่วงระหว่างยุครณรัฐ รัฐฉินได้พัฒนาจนกลายเป็นรัฐที่มีอำนาจมากที่สุดในเจ็ดรณรัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากการปฏิรูปของซางยางในช่วงกลางศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสตกาล อีก 6 รัฐเข้าร่วมเป็นพันธมิตรต่อต้านรัฐฉิน รัฐฉินเองก็เป็นพันธมิตรกับรัฐอื่น ๆ โดยทำสงครามต่อกันหลายครั้ง

ใน 316 ปีก่อนคริสตกาล ฉินขยายลงไปทางใต้สู่ลุ่มน้ำเสฉวนโดยการพิชิตรัฐปาและฉู่

จักรพรรดิองค์แรก[แก้]

ใน 238 ปีก่อนคริสตกาล อิ๋งเจิ้ง ฉินหวาง กุมพระราชอำนาจไว้อย่างเบ็ดเสร็จหลังจากกำจัดคู่แข่งทางการเมืองของพระองค์คือลฺหวี่ ปู้เหวย์ และเล่า ไอ่ ออกไปให้พ้นทาง ด้วยความช่วยเหลือจากหลี่ ซือ, เว่ย์ เหลียว และขุนนางคนอื่นๆ อิ๋งเจิ้งได้กำหนดแผนการพิชิตรัฐสำคัญอีก 6 รัฐและรวมจีนเป็นหนึ่งเดียว[1] แผนซึ่งมุ่งเน้นไปที่การผนวกแต่ละรัฐนั้นมีพื้นฐานมาจาก "กลยุทธ์คบไกลตีใกล้" ซึ่งเป็นหนึ่งในสามสิบหกกลยุทธ์ ขั้นตอนสำคัญคือการเป็นพันธมิตรกับยาน และฉี ขัดขวางเว่ย์ และฉู่ และพิชิตหาน และจ้าว

การรวมแผ่นดิน[แก้]

การพิชิตรัฐจ้าว[แก้]

จาก 283 ถึง 257 ปีก่อนคริสตกาล ฉินและจ้าวต่อสู้ในสงครามนองเลือด ความพ่ายแพ้ของจ้าวต่อฉินที่สงครามฉางผิง ใน 260 ปีก่อนคริสตกาล ทำให้จ้าวอ่อนแอลงเป็นอย่างมาก

อ้างอิง[แก้]

  1. Li & Zheng 2001, p. 184.

แหล่งที่มา[แก้]

  • Bodde, Derk (1987), "The State and Empire of Qin", ใน Twitchett, Denis; Loewe, Michael (บ.ก.), The Cambridge History of China, vol. I: the Ch'in and Han Empires, 221 BC – AD 220, Cambridge: Cambridge University Press, pp. 20–103, ISBN 0-521-24327-0.
  • Li, Bo; Zheng, Yin (2001), 《中华五千年》 [5000 years of Chinese History] (ภาษาจีน), Inner Mongolian People's publishing, ISBN 7-204-04420-7.
  • Sima, Qian. Records of the Grand Historian.