สกุลหมูป่าหน้าหูด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สกุลหมูป่าหน้าหูด
หมูป่าหน้าหูดธรรมดา (P. africanus)
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
อันดับ: Artiodactyla
วงศ์: Suidae
วงศ์ย่อย: Phacochoerinae
สกุล: Phacochoerus
F. Cuvier, 1826
ชนิด
ชื่อพ้อง[1]
  • Aper Pallas, 1766
  • Dinochoerus Gloger, 1841
  • Eureodon G. Fischer von Waldheim, 1817
  • Macrocephalus Frisch, 1775
  • Macrocephalus Palmer, 1904
  • Phacochaeres Gray, 1821
  • Phacocherus Fleming, 1822
  • Phacochoerus G. Cuvier, 1816
  • Phascochaerus Desmarest, 1822
  • Phascochoeres Ranzani, 1821
  • Phascochoerus Ranzani, 1821

สกุลหมูป่าหน้าหูด สัตว์กีบคู่จำพวกหนึ่ง จัดอยู่ในวงศ์ย่อย Phacochoerinae และสกุล Phacochoerus ในวงศ์หมู (Suidae)

หมูป่าหน้าหูด มีลักษณะแตกต่างจากหมูป่าทั่วไปอย่างเห็นได้ชัดเจน คือ มีลักษณะตัวโต หน้าแบนกว้าง ตาเล็ก มีจุดเด่นคือใต้ตาทั้งสองข้างมีก้อนเนื้อคล้ายหูดขนาดใหญ่ปรากฏอยู่ มีเขี้ยวโง้งออกมานอกปากเห็นชัดเจน ซึ่งเขี้ยวนี้จะใหญ่กว่าหมูป่าทั่วไป ประโยชน์ของการมีหูดนี้คือ ช่วยป้องกันใบหน้าและดวงตาเมื่อต่อสู้กัน อีกทั้งยังเป็นเครื่องหมายที่บ่งบอกถึงความแตกต่างระหว่างเพศอีกด้วย โดยในตัวผู้จะมีทั้งหูดและเขี้ยวโง้งยาวกว่าตัวเมีย เขี้ยวของตัวผู้จะมีเขี้ยวด้านบนถึงสองเขี้ยว มีความยาวได้ถึง 20 เซนติเมตร[2] ซึ่งนอกจากใช้ต่อสู้แล้ว ยังสามารถใช้ประโยชน์ในการขุดหาอาหารได้อีกด้วย ซึ่งจากหมูจำพวกอื่น[3]

หมูป่าหน้าหูด มีขนสาก ๆ ปกคลุมตัว แต่เมื่อมองจากระยะไกลจะเห็นว่าส่วนคอไปจนถึงใบหน้าจะไม่มีขน แต่จะมีขนแผงหลังไปจนถึงส่วนหัว หมูป่าหน้าหูดขุดกินอาหารจำพวกพืชเป็นหลัก เช่น หน่อไม้, รากพืชต่าง ๆ ตลอดจนถึงสัตว์ขนาดเล็ก ๆ ด้วย[4] แม้จะมีรูปร่างลักษณะน่าเกรงขาม แต่หมูป่าหน้าหูดกลับมีอุปนิสัยขี้ตื่นตกใจและขี้ขลาดกว่าหมูป่าธรรมดา เมื่อพบกับศัตรูมักจะเป็นฝ่ายวิ่งหนีมากกว่าสู้ [3]

พบกระจายพันธุ์ในพื้นที่เปิดโล่งของทวีปแอฟริกา นับตั้งแต่ส่วนแอฟริกาใต้สะฮาราลงไป

การจำแนก[แก้]

แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "Phacochoerus F. Cuvier, 1826". itis.gov. สืบค้นเมื่อ 9 December 2014.
  2. Novak, R. M. (editor) (1999). Walker's Mammals of the World. Vol. 2. 6th edition. Johns Hopkins University Press, Baltimore. ISBN 0-8018-5789-9
  3. 3.0 3.1 เรื่องของหมูป่า, "เรื่องเล่าข้ามโลก". สารคดีโดย ปองพล อดิเรกสาร ทางช่อง NOW26: เสาร์ที่ 6 ธันวาคม 2557
  4. Kingdon, J. (1997). The Kingdon Guide to African Mammals. Academic Press Limited, London. ISBN 0-12-408355-2

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Phacochoerus ที่วิกิสปีชีส์