โรงพยาบาลลำปาง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงพยาบาลลำปาง
Lampang Hospital
แผนที่
ประเภทรัฐ (โรงพยาบาลศูนย์)
ที่ตั้งเลขที่ 280 ถนนพหลโยธิน ตำบลหัวเวียง อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง
ข้อมูลทั่วไป
ก่อตั้งพ.ศ. 2473
สังกัดกระทรวงสาธารณสุข
ความร่วมมือคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ผู้อำนวยการนายแพทย์วรเชษฐ เต๋ชะรัก
จำนวนเตียง743
แพทย์222 คน
เว็บไซต์www.lph.go.th

โรงพยาบาลลำปาง เป็นโรงพยาบาลศูนย์ประจำจังหวัดลำปาง ขนาด 743 เตียง สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ให้บริการรักษาทั่วผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก ตั้งอยู่ที่เลขที่ 280 ถนนพหลโยธิน ตำบลหัวเวียง อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง และทำหน้าที่เป็นศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิกและสถาบันสมทบเพื่อการผลิตแพทย์ให้กับคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ประวัติ[แก้]

 โรงพยาบาลศูนย์ลำปาง ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 4  พ.ศ. 2520 – 2524 เพื่อสกัดกั้นผู้ป่วยที่อยู่ในต่างจังหวัดมิให้ต้องเสียเวลา และค่าใช้จ่ายโดยไม่จำเป็นในการขอรับบริการที่มีคุณภาพจากโรงพยาบาลในกรุงเทพมหานคร และเพื่อรับการส่งต่อผู้ป่วยจากโรงพยาบาลจังหวัดอื่นๆ ที่มีอยู่โดยรอบ ตลอดจนเป็นสถานที่ฝึกอบรมบุคลากรสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุขจึงได้มีการสร้างและยกฐานะโรงพยาบาลจังหวัดขึ้นเป็นโรงพยาบาลศูนย์จำนวน 15 แห่ง โรงพยาบาลลำปางได้รับการปรับเป็น “โรงพยาบาลศูนย์ลำปาง” รับผิดชอบเขต 5 ภาคเหนือตอนบน ซึ่งในตอนนั้นมีจังหวัดในเครือข่ายรวม 8 จังหวัด คือ เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา ลำพูน ลำปาง แม่ฮ่องสอน แพร่ และน่าน

ปัจจุบัน โรงพยาบาลลำปาง เป็นศูนย์เชี่ยวชาญการแพทย์เฉพาะทาง เช่น สาขาโรคหัวใจ มีศูนย์โรคหัวใจสามารถทำการผ่าตัดหัวใจ การสวนหลอดเลือดหัวใจ, สาขาอุบัติเหตุ ให้การดูแลผู้ป่วยฉุกเฉิน Trauma Fast Track การผ่าตัดสมอง, สาขามะเร็ง มีการรักษาผู้ป่วยมะเร็ง ผ่าตัด ให้ยาเคมีบำบัด และรังสีรักษา, สาขาทารกแรกเกิด มีการดูแลทารกแรกเกิดที่มีภาวะวิกฤต และมีการผ่าตัดตาและเรติน่า ผ่าตัดกระดูกสันหลัง การฟอกเลือดด้วยไตเทียม อีกทั้งได้จัดตั้งศูนย์แพทยศาสตร์ชั้นคลินิกขึ้นในโรงพยาบาล โดยมีหน้าที่จัดการเรียนการสอนชั้นคลินิก ให้กับนักศึกษาของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และเป็นสถาบันฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านสาขาอายุรกรรม, สาขาศัลยกรรม, สาขาศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์, สาขากุมารเวชกรรม, สาขาสูติ-นรีเวชกรรม, สาขาเวชศาสตร์ฉุกเฉินและสาขาเวชศาสตร์ครอบครัว ตั้งแต่ ปี 2558 ที่ผ่านมา โรงพยาบาลลำปางได้มีการพัฒนาอาคารและสถานที่เพื่อรองรับการให้บริการแก่ประชาชนและเป็นสถานที่สำหรับฝึกอบรมแก่บุคลากรทางสาธารณสุข เช่น อาคารสิทธิเกษม, อาคารเมตตา, อาคารสิรินธร, อาคารนวมินทรราชประชาภักดี, อาคารผู้ป่วยนอก 8 ชั้น, อาคารทันตกรรม, อาคารเภสัชกรรม, อาคารโภชนศาสตร์ และอาคารนิติเวช มีการจัดระบบกำจัดขยะติดเชื้ออัตโนมัติชนิดบดและฆ่าเชื้อในเครื่องเดียวกัน (Autoclave) และศูนย์สุขภาพชุมชนม่อนกระทิง เพื่อความสะดวกในการให้บริการและตอบสนองการดูแลผู้ป่วยซับซ้อนระดับตติยภูมิอีกทั้งโรงพยาบาลลำปางยังมีแผนพัฒนาศักยภาพศูนย์สุขภาพผู้สูงอายุระยะยาวในอนาคตต่อไป[1]

ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก[แก้]

ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลลำปาง ภายใต้โครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิกโรงพยาบาลลำปาง ก่อตั้งขึ้นภายใต้โครงการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท (the Collaborative Project to Increase Production of Rural Doctor : CPIRD) ตั้งแต่ พ.ศ. 2537 เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนแพทย์และการกระจายแพทย์ที่ไม่เหมาะสมในชนบท โดยมียุทธศาสตร์เริ่มต้นคือ รับจากชนบท เรียนที่ชนบท และกลับสู่ชนบท และได้ลงนามความร่วมมืออย่างเป็นทางการกับคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในวันที่ 10 พฤษภาคม 2543 โดยการจัดการเรียน การสอนนักศึกษาชั้นปีที่ 1 จะเรียนกระบวนวิชาในหมวดวิชาศึกษาทั่วไปตามข้อบังคับเพื่อการศึกษา ขั้นปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ชั้นปีที่ 2-3 เรียนร่วมกับชั้นปรีคลินิกของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ส่วนในชั้นคลินิกปีที่ 4-6 เรียนที่ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลลำปาง[2]

หลักสูตรการศึกษา[แก้]

ปัจจุบัน ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลลำปาง จัดการเรียนการสอนในระดับชั้นคลินิก ตามหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ใน 1 หลักสูตร คือ

ปริญญาตรี
สถาบันอุดมศึกษา

ระยะเวลาในการศึกษา[แก้]

ใช้ระยะเวลาในการศึกษาตลอดหลักสูตรรวม 6 ปี ดังนี้

ระดับชั้น
สถานที่ศึกษา
  • ระดับชั้นเตรียมแพทยศาสตร์และชั้นปรีคลินิก (ชั้นปี 1 - 3)
  • ระดับชั้นคลินิก (ชั้นปี 4 - 6)
  • มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลลำปาง

การรับบุคคลเข้าศึกษาในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต[แก้]

ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลลำปาง รับสมัครบุคคลเข้าศึกษาในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ผ่านทางคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในระบบรับสมัครประจำปีตามประกาศมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

อ้างอิง[แก้]

  1. ประวัติรพ.ลำปาง http://www.lph.go.th/lpweb/aboutus/สีบค้นเมื่อ 29 ตุลาคม 2563
  2. ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลลำปางhttp://mec-lp.com/index.php?n_page=historyสืบค้นเมื่อ 29 ตุลาคม 2563