ศูนย์พัฒนาการประมงแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ศูนย์พัฒนาการประมงแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อังกฤษ: Southeast Asian Fisheries Development Center, SEAFDEC) เป็นองค์กรระหว่างประเทศระดับภูมิภาคที่ก่อตั้งขึ้นตามข้อตกลงระหว่างประเทศ มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ ณ ประเทศไทย

ประวัติและความเป็นมา[แก้]

ศูนย์พัฒนาการประมงแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นองค์กรระหว่างประเทศระดับภูมิภาคที่ก่อตั้งขึ้นตามข้อตกลงระหว่างประเทศเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2510 โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะดำเนินการอันก่อให้เกิดการพัฒนาการประมงให้เจริญรุดหน้า เพื่อให้สามารถนำสัตว์ทะเลมาใช้เป็นอาหารได้เพียงพอแก่ความต้องการของประชาชน และนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ ทางการประมงมาประยุกต์และเผยแพร่ต่อชาวประมงภายในภูมิภาค

ปัจจุบันศูนย์ฯ มีสมาชิกรวม 11 ประเทศ ได้แก่ ญี่ปุ่น มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ กัมพูชา ลาว อินโดนีเซีย เวียดนาม พม่า สิงคโปร์ บรูไน และไทย โดยเหตุที่ประเทศไทยเป็นผู้ริเริ่มเสนอโครงการก่อตั้งศูนย์ฯ ต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ ครั้งที่ 1 เมื่อปี พ.ศ. 2509 ประเทศไทยจึงได้รับเกียรติให้เป็นที่ตั้งของสำนักเลขาธิการและสำนักงานฝ่ายฝึกอบรม และให้ผู้แทนไทยทำหน้าที่เป็นเลขาธิการและผู้อำนวยการฝ่ายฝึกอบรม มานับตั้งแต่แรกตั้งจนถึงปัจจุบัน เลขาธิการทำหน้าที่เป็นผู้ควบคุมการปฏิบัติงาน และประสานงานระหว่างประเทศสมาชิกและประเทศหรือองค์กรอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

องค์ประกอบหน่วยงาน[แก้]

ศูนย์พัฒนาการประมงแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แบ่งส่วนการบริหาร ซึ่งมีที่ตั้งในระหว่างประเทศสมาชิก ดังนี้ คือ

  • สำนักเลขาธิการ (Secretariat) ตั้งอยู่ที่ประเทศไทย
  • สำนักงานฝ่ายฝึกอบรม (Training Department:TD) ตั้งอยู่ที่ประเทศไทย
  • สำนักเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (Aquaculture Department:AQD) ตั้งอยู่ที่ประเทศฟิลิปปินส์
  • สำนักงานฝ่ายวิจัยผลิตภัณฑ์ประมง และการแปรรูปสัตว์น้ำ (Marine Fisheries Research Department:MFRD) ตั้งอยู่ที่ประเทศสิงคโปร์
  • สำนักงานฝ่ายพัฒนาและการจัดการทรัพยากรประมงทะเล (Marine Fishery Resources Development and Management Department:MFRDMD) ตั้งอยู่ที่ประเทศมาเลเชีย
  • สำนักงานฝ่ายพัฒนาและการจัดการทรัพยากรประมงน้ำจืด (Inland Fishery Resources Development and Management Department:IFRDMD) ตั้งอยู่ที่ประเทศอินโดนิเชีย

ตราศูนย์พัฒนาการประมงแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[แก้]

รายนามเลขาธิการ[แก้]

ลำดับ รายนาม ชื่อตำแหน่ง ช่วงเวลา ระยะเวลา หมายเหตุ
1. นายทวนไทย บำราศอรินทร์พ่าย เลขาธิการ พ.ศ. 2512-พ.ศ. 2514 2 ปี
2. ดร.อาภรณ์ ศรีพิพัฒน์ เลขาธิการ พ.ศ. 2515-พ.ศ. 2518 4 ปี
3. ดร.เทพ เมนะเศวต เลขาธิการ พ.ศ. 2519-พ.ศ. 2524 4 ปี
4. ดร.วีรวัฒน์ หงสกุล เลขาธิการ พ.ศ. 2524-พ.ศ. 2532 8 ปี
5. ดร.ธีรพันธ์ ภูคาสวรรค์ เลขาธิการ พ.ศ. 2532-พ.ศ. 2536 4 ปี
6. ดร.ไมตรี ดวงสวัสดิ์ เลขาธิการ พ.ศ. 2536-พ.ศ. 2540 4 ปี
7. นายอุดม ปาติยะเสวี เลขาธิการ พ.ศ. 2540-พ.ศ. 2542 2 ปี
8. นายภาณุ เทวรัตน์มณีกุล เลขาธิการ พ.ศ. 2542-พ.ศ. 2546 4 ปี
9. นายนิเวศน์ เรืองพานิช เลขาธิการ พ.ศ. 2546-พ.ศ. 2548 2 ปี
10. ดร.สิริ เอกมหาราช (ทุกข์วินาศ) เลขาธิการ พ.ศ. 2548-พ.ศ. 2552 4 ปี
11. ดร.ชำนาญ พงษ์ศรี เลขาธิการ พ.ศ. 2552-พ.ศ. 2558 6 ปี
12. ดร.คมน์ ศิลปาจารย์ เลขาธิการ พ.ศ. 2559-พ.ศ. 2562 4 ปี
13 นางมาลินี สมิทธิ์ฤทธี เลขาธิการ พ.ศ. 2562-พ.ศ. 2566 4 ปี (ดำรงตำแหน่งปัจจุบัน)

หลักสูตร[แก้]

ประกาศนียบัตรวิชาการประมงและวิชาวิศวกรรมประมง (รับรองโดยสำนักงาน กพ.)[1]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-12-29. สืบค้นเมื่อ 2010-08-26.