ศุภโชค

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ศุภโชค
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
อาณาจักร: พืช
เคลด: พืชมีท่อลำเลียง
เคลด: พืชดอก
เคลด: พืชใบเลี้ยงคู่แท้
เคลด: โรสิด
อันดับ: ชบา
วงศ์: ชบา
สกุล: Pachira
Aubl.
สปีชีส์: Pachira aquatica
ชื่อทวินาม
Pachira aquatica
Aubl.
ชื่อพ้อง

Carolinea macrocarpa
Bombax macrocarpum
Pachira macrocarpa

ศุภโชค (ชื่อวิทยาศาสตร์: Pachira aquatica) หรือ นุ่นน้ำ[2] เป็นไม้ยืนต้นเขตร้อน มีถิ่นกำเนิดแถบทวีปอเมริกาใต้ กระจายพันธุ์ในบริเวณประเทศเม็กซิโก บราซิล หมู่เกาะฮาวาย นิยมนำมาถักเป็นไม้แคระกระถาง และมีความเชื่อว่าเป็นไม้มงคล[3] ภาษาจีนเรียกว่า “เหยาเฉียนซู่” (จีนตัวย่อ: 摇钱树; จีนตัวเต็ม: 搖錢樹; พินอิน: Yáoqiánshù) แปลว่า เรียกเงินหรือเขย่าเงิน[4]

ถ้าปลูกลงดินโตเต็มที่สูง 15–20 ฟุต ทรงพุ่มกว้าง 2–3 เมตร แตกกิ่งเป็นชั้น ๆ เป็นไม้เนื้ออ่อนขึ้นได้ดีในเขตที่มีอากาศอบอุ่น ทนต่อสภาพแห้งแล้ง ขยายพันธุ์โดยตอนกิ่งปักชำ มีระบบรากใหญ่ และลึกเหมาะสำหรับที่จะส่งเสริมปลูกเป็นพืชในเชิงอนุรักษ์ต้นน้ำ[5]

  • ใบ เป็นใบติดกัน หนึ่งก้านใบจะมีใบ 5–7 ใบ ใบมีความเงาเป็นมัน สีเขียวเข้ม
  • ดอก ออกเป็นช่อลักษณะพู่สีขาว ยาว 5–8 เซนติเมตร มีกลิ่นหอมเวลากลางคืน ช่วงมีนาคมและสิงหาคมจะออกดอกติดผลมากที่สุดในรอบปี ส่วนเดือนอื่น ๆ ทยอยออก
  • ผล เป็นผลรวม เปลือกแข็ง คล้ายนุ่นแต่ผลสั้นและกลมกว่า ขนาดผลเส้นผ่าศูนย์กลาง 2–4 นิ้ว ยาว 6–8 นิ้ว ใน 1 ผลมี 12–15 เมล็ด เมื่อแก่จัดเปลือกจะดีดตัวเปิดออก และเมล็ดข้างในจะร่วงลงใต้ต้น เมล็ดกินดิบได้ รสชาติคล้ายถั่วลิสง[6]ผลผลิต เมื่อนำมาแปรรูป จำหน่ายได้ในราคาระหว่าง 300–600 บาท/กิโลกรัม[5] โดย 1 กิโลกรัม มีเมล็ดประมาณ 300–380 เมล็ด[3]

ภาพ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Botanic Gardens Conservation International (BGCI); IUCN SSC Global Tree Specialist Group (2019). "Pachira aquatica". IUCN Red List of Threatened Species. 2019: e.T146783390A146783392. doi:10.2305/IUCN.UK.2019-2.RLTS.T146783390A146783392.en. สืบค้นเมื่อ 13 December 2022.
  2. ศูนย์วิจัยและพัฒนาสง่า สรรพศรี (2011). "นุ่นน้ำ". ฐานข้อมูลพรรณไม้. องค์การสวนพฤกษศาสตร์ กระทรวงทรัพยากรธรรมขาติและสิ่งแวดล้อม.
  3. 3.0 3.1 "Plant of the week". ไม้ทิพย์. 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 กรกฎาคม 2008. สืบค้นเมื่อ 21 สิงหาคม 2008.
  4. "ต้นศุภโชค". MeArtProbuilt. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-10. สืบค้นเมื่อ 2008-08-21.
  5. 5.0 5.1 "ศุภโชค". ฝ่ายส่งเสริมการเกษตรที่สูง กองส่งเสริมพืชสวน กรมส่งเสริมการเกษตร. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 กันยายน 2008. สืบค้นเมื่อ 21 สิงหาคม 2008.
  6. "'ศุภโชค' เมล็ดกินได้". คมชัดลึก. 5 สิงหาคม 2017.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]