ศิลานักปราชญ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาพวาด The Alchemist in Search of the Philosopher's Stone โดย โจเซฟ ไรต์ (ค.ศ. 1771)

ศิลานักปราชญ์ (อังกฤษ: philosopher's stone, ละติน: lapis philosophorum) เป็นสสารในวิชาการเล่นแร่แปรธาตุตามตำนานซึ่งกล่าวกันว่าสามารถเปลี่ยนโลหะฐาน (เช่น ตะกั่ว) ให้เป็นทองคำหรือเงิน บ้างเชื่อว่ามีสรรพคุณเสมือนเป็นน้ำอมฤต ทำให้คืนสู่วัยหนุ่มสาว และบรรลุความเป็นอมตะ[1] ศิลานักปราชญ์ถือเป็นเป้าหมายสูงสุดในศาสตร์การเล่นแร่แปรธาตุตะวันตก ศิลานักปราชญ์เป็นสัญลักษณ์ใจกลางของการเล่นแร่แปรธาตุ โดยเป็นสัญลักษณ์แห่งความเป็นอริยสมบูรณ์ การเห็นแจ้ง และความเกษมสุข ความพยายามแสวงหาศิลานักปราชญ์เรียกว่า "มหากิจ" (ละติน: Magnum opus)[2]

ในศาสนาพุทธและศาสนาฮินดู จินตามณีเป็นวัตถุที่เทียบเท่ากับศิลานักปราชญ์[3]

คุณสมบัติ[แก้]

เชื่อกันว่าศิลานักปราชญ์มีคุณสมบัติทางเวทมนตร์หลายอย่าง คุณสมบัติที่มีการบอกเล่ากว้างขวางที่สุด คือ ความสามารถเปลี่ยนโลหะฐานให้เป็นทองคำหรือเงิน รักษาความเจ็บป่วยทุกประเภท และต่อชีวิตได้หากบริโภคศิลานักปราชญ์ส่วนเล็ก ๆ ผสมกับไวน์[4] คุณสมบัติอื่นมีกล่าวถึงได้แก่ การสร้างตะเกียงที่ลุกไหม้ชั่วกัลปาวสาน[4] การเปลี่ยนผลึกธรรมดาให้เป็นอัญมณีมีค่าและเพชร[4] ชุบชีวิตพืชที่ตายแล้ว[4] การสร้างแก้วที่ยืดหยุ่นหรือนำมาตีเป็นแผ่นได้[5] หรือการสร้างโคลนหรือฮอมุงกุลุส (มนุษย์จำลอง)[6]

รูปลักษณ์[แก้]

สัญลักษณ์ของศาสตร์เล่นแร่แปรธาตุ วงกลมตรงกลางคือศิลานักปราชญ์

มีคำบรรยายลักษณะของศิลานักปราชญ์หลากหลาย ตามตำราเล่นแร่แปรธาตุ ศิลานักปราชญ์มีสองประเภทซึ่งมีวิธีการเตรียมเกือบเหมือนกัน คือ สีขาว (สำหรับทำเงิน) และสีแดง (สำหรับทำทอง) ศิลาสีขาวเป็นรุ่นที่เสร็จสมบูรณ์น้อยกว่าศิลาสีแดง[7] ตำราเล่นแร่แปรธาตุโบราณและสมัยกลางบางเล่มทิ้งคำใบ้ถึงรูปลักษณ์ทางการภาพที่ควรเป็นของศิลานักปราชญ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งศิลาสีแดง ศิลานักปราชญ์มักกล่าวขานกันบ่อยครั้งว่า จะมีสีส้ม (สีหญ้าฝรั่น) หรือแดงเมื่อบดให้เป็นผง หรือในรูปของแข็ง สีกลางระหว่างแดงกับม่วงแดง โปร่งใส คล้ายแก้ว[8] เชื่อกันว่าศิลานักปราชญ์นั้นหนักกว่าทองคำ[9] และละลายได้ในของเหลวทุกชนิด แต่ไม่ติดไฟ[10]

นักประพันธ์เล่นแร่แปรธาตุบางครั้งเสนอว่า การบรรยายรูปลักษณ์ของศิลานั้นเป็นเพียงการอุปมา แม้ถูกเรียกว่าศิลา แต่มิใช่เพราะมันดูเหมือนศิลา[11]

อ้างอิง[แก้]

  1. Highfield, Roger. "A history of magic: Secrets of the Philosopher's Stone". The British Library. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-20. สืบค้นเมื่อ 27 August 2020.
  2. Heindel, Max. "Freemasonry and Catholicism: an exposition and Investigation.". Rosicrucian Fellowship. ISBN 0-911274-04-9
  3. Guénon, René (2004) (1962). Symbols of Sacred Science. Sophia Perennis, USA. ISBN 0900588780. pp. 277.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 Theophrastus Paracelsus. The Book of the Revelation of Hermes. 16th century
  5. An Unknown German Sage. A Very Brief Tract Concerning the Philosophical Stone. (unknown date, possibly 16th Century)
  6. Theophrastus Paracelsus. Of the Nature of Things. 16th century
  7. A German Sage. A Tract of Great Price Concerning the Philosophical Stone. 1423.
  8. John Frederick Helvetius. Golden Calf. 17th Century.
  9. Anonymous. On the Philosopher's Stone. (unknown date, possibly 16th century)
  10. Eirenaeus Philalethes. A Brief Guide to the Celestial Ruby. 1694 CE
  11. Charles John Samuel Thompson. Alchemy and Alchemists. p.70

ดูเพิ่ม[แก้]