ศิลาจารึกตรังกานู

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ศิลาจารึกตรังกานู
ศิลาจารึกจำลอง จัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ในกัวลาลัมเปอร์
วัสดุแกรนิต
ความสูงน้อยกว่า 89 เซนติเมตร (35 นิ้ว)
ความกว้างน้อยกว่า 53 เซนติเมตร (21 นิ้ว)
ตัวหนังสืออักษรยาวี ภาษามลายู
สร้างประมาณ ค.ศ. 1303
ค้นพบค.ศ. 1887
กัมปุงบูลุฮ์, กัวลาเบอรัง, ฮูลูเตอเริงกานู
ที่อยู่ปัจจุบันพิพิธภัณฑ์รัฐตรังกานู
ศิลาจารึกตรังกานู *
  ความทรงจำแห่งโลกโดยยูเนสโก
ที่เก็บรักษาพิพิธภัณฑ์รัฐตรังกานู
ประเทศ มาเลเซีย
ภูมิภาค **เอเชียและแปซิฟิก
อ้างอิง2008-37
ประวัติการขึ้นทะเบียน
ขึ้นทะเบียน2552
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีความทรงจำแห่งโลก
** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก

ศิลาจารึกตรังกานู (มลายู: Batu Bersurat Terengganu, باتو برسورت ترڠݢانو) เป็นศิลาจารึกหินแกรนิต[1]ที่มีจารึกภาษามลายูคลาสสิกในอักษรยาวีที่พบในรัฐตรังกานู ประเทศมาเลเซีย[2] จารึกนี้น่าจะถูกบันทึกใน ฮ.ศ. 702 (ตรงกับ ค.ศ. 1303) ทำให้เป็นหลักฐานการเขียนอักษรยาวีแรกที่สุดในโลกมลายู และถือเป็นหนึ่งในหลักฐานที่เก่าแก่ที่สุดที่กล่าวถึงศาสนาอิสลามในฐานะศาสนาประจำชาติในภูมิภาคนี้[3] ศิลานี้มีคำประกาศจากผู้นำในรัฐตรังกานูที่มีพระนามว่า เซอรีปาดูกาตวน ส่งเสริมให้ประชาราษฎรแผยแผ่และสนับสนุนศาสนาอิสลาม และชี้นำด้วยกฎหมายชะรีอะฮ์พื้นฐาน 10 ประการ[4]

ศิลานี้โผล่ครึ่งส่วนในบริเวณริมแม่น้ำเตอร์ซัตที่กัวลาเบอรัง ฮูลูเตอเริงกานู หลังเหตุการณ์น้ำท่วมใน ค.ศ. 1887 เปองีรัน อานุม เอิงกู อับดุล กาดีร์ บิน เอิงกู เบอซาร์ ขุนนางชาวตรังกานูกับไซเย็ด ฮูซิน ฆูลัม อัล บูคารี เพื่อนผู้ตรวจการดีบุก พบศิลาและนำมันขึ้นเรือแพไปที่กัวลาเตอเริงกานู เพื่อนำไปเสนอแก่สุลต่านไซนัลอาบีดินที่ 3 และนำไปตั้งบนยอดบูกิตปูเตอรี ('เนินเขาเจ้าหญิง')[5]

ใน ค.ศ. 2009 ในการประชุมของยูเนสโกที่จัดขึ้นที่บาร์เบโดส ได้รวมศิลาจารึกตรังกานูให้เป็นความทรงจำแห่งโลก ทำให้เป็นมรดกที่สี่ของประเทศมาเลเซีย หลังจากฮีกายัตฮังตัวะฮ์, เซอจาระฮ์เมอลายู และจดหมายของสุลต่านอับดุล ฮามิดใน ค.ศ. 2001[6]

วันที่จารึก[แก้]

วันที่จารึกบนฝั่งซ้ายล่างในบรรทัดที่ 11 ของศิลาเสียหาย ทำให้วันที่จารึกอยู่ในช่วง ฮ.ศ. 702 ถึง 789 (ค.ศ. 1303 ถึง 1387)[7] C.O. Blagden ผู้แปลความหมายจารึกคนแรก เสนอวันที่ที่เป็นไปได้ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคม ค.ศ. 1303 ถึงกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1387 เขาสงสัยว่าวันก่อนหน้าเดือนเราะญับ ฮ.ศ. 702 หรือ ค.ศ. 1303 จะถูกต้องหรือไม่ และสรุปตามพื้นเพทั่วไป (general grounds) ว่าเขามีความเอนเอียงต่อวันที่ที่ใกล้เคียงที่สุด[8]

ซัยยิด มุฮัมมัด นะกีบ อัลอัฏฏอสได้โต้แย้งว่าวันที่ก่อนหน้านั้นถูกต้องแล้วและพยายามบูรณะส่วนที่พังเสียหายใหม่ ในคำปราศรัยที่ตีพิมพ์โดยพิพิธภัณฑ์แห่งชาติมาเลเซีย นะกีบกล่าวว่าวันที่ถูกต้องคือวันศุกร์ที่ 4 เราะญับ ฮ.ศ. 702 ซึ่งตรงกับวันศุกร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1303 โดยมีคำอธิบายดังนี้:[9]

ฮ.ศ. 702 เริ่มต้นในวันที่ 26 สิงหาคม ค.ศ. 1303 วันที่ตามปฏิทินกริกอเรียนเริ่มต้นด้วยวันจันทร์ (เช่น 1 มกราคม ค.ศ. 1303 เป็นวันจันทร์) และ 237 วันต่อมาเป็นวันขึ้นปีใหม่อิสลามในวันที่ 1 มุฮัรร็อม (26 สิงหาคม ค.ศ. 1302) เราะญับเป็นเดือนที่ 7 ในปฏิทินอิสลาม และเนื่องจาก ฮ.ศ. 702 เริ่มต้นในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1302 ดังนั้น มันจึงเกิดขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1303 ซึ่งปฏิทินกริกอเรียนเริ่มต้นในวันอังคาร[10]

เนื้อหา[แก้]

ศิลานี้มีความสูง 89 เซนติเมตร ความกว้างของส่วนบน 53 เซนติเมตร และมีน้ำหนัก 214.8 กิโลกรัม ศิลาทั้งสี่ด้านเขียนจากขวาไปซ้าย[11] ศิลาจารึกนี้เขียนด้วยภาษามลายูคลาสสิกในอักษรยาวี โดยไม่ค่อยเห็นอักษรที่มีจุดในภาษาอาหรับส่วนใหญ่ ( ب ، ت ، ج ، ش ، ق ، ن ، ي ) และอักษรยาวี ( چ ، ݢ ، ڠ ، ڤ ) ยกเว้นบางตัวอักษร ( ڽ ، ض ، ف )

อักษรยาวีดั้งเดิม[12][13] แปลอังกฤษ[14][15]
ด้านหน้า
رسول الله دعں ىع اورح سىاىى مرٮک
اسا فدا دىوٮ ملىا راى ٮرى همٮا مںكهكں اكاما اسلام
دعں ٮٮر ٮحارا درما مرٮک مرٯسا ٮكى سكلںں همىا دىوٮ ملىا راى
دٮٮواكو اٮى ٯٮٮٮو أكاما رسول الله صلى الله علىه وسلم راحا
مٮدلٮكا ٮع ٮٮر ٮحارا سٮله دٮوٮ ملٮا راى ددالم
ٮهومى. ٯٮٮٮوں اٮٮو ٯرض فدا سكلںں راحا مںدا
لںكا اسلام مںورٮ سٮٮٮه دٮوٮ ملٮا راى دعں ںںر
ںحارا ںرںاحںكى ںںوا ٯٮٮٮوں اٮٮو مک ٮٮٮه سرى ٯادوكا
ںهں مدودوٯكى ںامرا اٮى دٮٮوا ٮرعكاٮو اد ٯرٮاما ادا
حمعه دںولں رحٮ دٮاهں سرطاں دسسںكلا
ںكںدا رسول الله ںله لالو ںوحه راںس دوا
Behold the Prophet of God and his apostles.
Praise the God Almighty for giving us Islam.
With Islam, truth revealed to all Thy creatures
On this land the religion of the Holy Prophet shall prevail.
The Holy Prophet, the upholder of truth in Thy kingdom.
Hear ye kings, these messages.
Messages from the Almighty, ye doubt not.
Goodwill, with thee fellow men, saith the Almighty.
Be it known, the land of Terengganu, the first to receive message of Islam.
On the noon on Friday in the month of Rajab whilst the sun was in the north by religious reckoning.
Seven hundred and two years after the demise of the Holy Prophet.
ด้านหลัง
كلورک دںںوا حاوه..كں
داںع ںرںكں كامڡ...اورع ںرٯهوںع
حاعں معامںل..ک..هںلعكں امس
كلںما درما ںارع اورع...دںكا
حاعں معامںل ںوكل ںوٮ ٮماس
حكا امںل هںلعكں امس. كاںم درم ںارع
اورع ںرںوٮ ٮلاحارا لاكى لاكى ڡرمڡوں سںںںه
دںوٮ ملںا راى حک مردںكا ںوحن ڡالو
سراٮس راوىں. حک مردٮكا براسٮرى
اٮوا ڡرمڡواں ىرسوامى دٮاٮم هعک
ڡعكع دهمىالع دعں ىاٮو ماٮكں
حک اعكر...همٮالع حک اٮڡ مٮدلٮكا
Brethren of lands distant.
Cometh hither to tell ye. The Fourth Commandment for debtors.
Take ye not, lose ye not, gold in thy hands.
Fifth Commandment give thee alms and pay thy tithes.
Take thee not, gold of others.
If take thee the gold, return it.
Peril be to adulterers.
To repent, the following be done, command the Almighty.
A hundred whips, for free man, a wife hath.
A married woman, to be buried.
To the waist and stoned to death.
Ignore thee not. Be it the daughter of a prophet.
ด้านขวา
ںوحں داںداڽ سڡوله ںعه ںںكا جک اى
مںںرى ںوحں داںداڽ ںوحه ںاهل سڡاها
ںعه ںںكا حك ںںوا ںوحں داںداڽ لںما ںاهل
ںوحه ںاهل سڡاها ماسٯ ںںدارا حک اورع
مردںكا كںوحه درما ںارع ٯرمٯوں هںدٯ
ںںدا داٯٮ ںرسوامى حک ںرںواٮ ىالاحارا ںرںكں
Singles, the fine, ten and a half ‘saga’
A gentry not married, the fine, seven ‘tahils’......
Two and a half ‘saga’, the fine for older singles......
Seven ‘tahils’ to the treasury if......
Free man. The Seventh Commandment; dowry for woman should.......
Deny her husband, if she commit adultery.
ด้านซ้าย
ںںدا ںںر داںداڽ سںاهل سٯاها كسمںںلں درما
سرى ٯادوكا ںهں سںاٯا ںںدا هرںا داںداڽ
كسٯوله درما حک اںٯكو اںوا ٯماںںكو اںوا حوحوكو اںوا كلوركاكو اںوا اںٯ
ںمرا اںى سكال اںسى ںمرا اںى ںارع سںاٯا ںںدا مںورٮ ںمرا اںى لعںٮ دںوٮ ملںا راى
دحادںكں دںوٮ ملںا راى ںاكى ںع لعكر احارا ںمرا
... false evidence, the fine a ‘tahil’ and a ‘paha’ commandment nine.
... Commandth the Almighty, the desolute, pay not the fine
... My children, my uncles, my grandchildren and family and their siblings.
Obey ye this command, for the wrath of God is great.
Perils and pain awaits those who heed not the commandment.

ระบบการสะกดอักษรยาวี[แก้]

ระบบการสะกดบนศิลาจารึกตรังกานูมีความคล้ายกับระบบการสะกดอักษรยาวีในปัจจุบันหลายแบบ:

  • การใช้อักษรตามัรบูเฏาะฮ์ (ة) กับ ตามัฟตูฮะฮ์ (ت) - ในแบบสะกดปัจจุบันเดวันบาฮาซาดันปุซตากาจัดให้เสียง /t/ ในคำศัพท์มลายูเขียนเป็นอักษรยาวีด้วย ตามัฟตูฮะฮ์ ในขณะที่เสียง /t/ ในคำนามพิเศษ ซึ่งยืมมาจากภาษาอาหรับ ควรเขียนด้วยรูปแบบเดิมเป็น ตามัรบูเฏาะฮ์ ยกเว้นคำทั่วไปที่ใช้กันเป็นประจำอย่างคำว่า rakyat (ประชาชน) ( رعيت ), nikmat (พระคุณ) ( نعمت ), hikmat (ภูมิปัญญา) ( حکمت ) และ berkat (พร) ( برکت ) ระบบนี้ถูกสร้างขึ้นในศิลาจารึกตามตารางด้านล่าง โดยคำยืมภาษาอาหรับ Jumaat (วันศุกร์) (جمعة) ซึ่งเป็นคำนามพิเศษ ไม่มีการเปลี่ยนแปลง[16]: 3226 
ศิลาจารึกตรังกานู ที่ตั้ง อักษรรูมี แปลไทย รูปสะกดอักษรยาวีปัจจุบัน (DBP)
مٮورٮ หน้า:7 menurut รายงานจาก منوروت
ٮوٮ หลัง:5 buat ทำ بوات
داٯٮ ขวา:6 dapat ได้ داڤت
حمعه หน้า:10 Jumaat วันศุกร์ جمعة
  • การใช้อักษรกอฟ (ق) ในพยางค์ท้ายปิด - ในรูปแบบอักษรยาวีปัจจุบัน เสียงหยุด เส้นเสียงทั้งหมดในพยางค์ท้ายปิดของศัพท์มลายูเขียนด้วยกอฟ ในขณะที่เสียงพยัญชนะ /k/ ในพยางค์ท้ายปิดของคำยืมภาษาอังกฤษสะกดด้วยกาฟ เช่น abstrak (นามธรรม) ( ابسترک ), plastik (พลาสติก) ( ڤلستيک ) และ kek (เค้ก) ( كيک ) สำหรับคำยืมภาษาอาหรับ จะยังคงรูปภาษาต้นกำเนิด เช่น isyak ( عشاء ), imsak (เวลาหยุดซะฮูรไม่นานก่อนละหมาดซุบฮ์) ( امساک ), rujuk (อ้างอิง) ( روجوع ) และtalak (การหย่า) ( طلاق ). เสียงหยุด เส้นเสียงบางส่วนในพยางค์ท้ายปิดเขียนในศิลาจารึกด้วยอักษรกอฟ ดังตัวอย่างในตารางนี้[16]: 3227 
ศิลาจารึกตรังกานู ที่ตั้ง อักษรรูมี แปลไทย รูปสะกดอักษรยาวีปัจจุบัน (DBP)
اٮٯ หลัง:12 anak ลูก أنق
ماسٯ ขวา:4 masuk เข้า ماسوق
هٮدٯ ขวา:5 hendak ต้องการ هندق
  • การใช้อักษรญา (ڽ) - ตามรูปพยัญชนะในศิลาจารึกตรังกานู นี่คือเสียงพยัญชนะในภาษามลายูคลาสสิกที่ไม่พบในอักษรอาหรับ อักษรเหล่านี้ได้แก่ ca (چ) ใน acara (เหตุการณ์) ( احارا ), nga (ڠ) ใน dengan (ด้วย) ( دعں ), pa (ڤ) ใน pada (ถึง) ( فدا ), ga (ݢ) ใน pinggang (เอว) ( ڡعكع ) และ nya (ڽ) ใน denda-nya (บทลงโทษ) ( داٮداڽ ) อย่างไรก็ตาม รูปพิเศษในศิลาจารึกตรังกานูใช้อักษรญา ที่มีจุดสามจุดบนนั้น ทำให้เป็นอักษรยาวีที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่รู้มา[16]: 3227 
ศิลาจารึกตรังกานู ที่ตั้ง อักษรรูมี แปลไทย รูปสะกดอักษรยาวีปัจจุบัน (DBP)
احارا ซ้าย:5 acara เหตุการณ์ أچارا
دعں หน้า:3 dengan ด้วย دڠن
فدا หน้า:2 pada ถึง ڤد
ڡعكع หลัง:11 pinggang เอว ڤيڠݢڠ
داىداڽ ขวา:1 denda-nya บทลงโทษ دنداڽ

อ้างอิง[แก้]

  1. UNESCO 2009, p. 6
  2. Teeuw 1959, pp. 141–143
  3. UNESCO 2009, pp. 1–3
  4. Shahrizal Mahpol 2002
  5. Abdul Razak Salleh 2010, pp. 1–2
  6. UNESCO 2001
  7. Nicholas Tarling, บ.ก. (25 มกราคม 1993). The Cambridge History of Southeast Asia, Volume 1. Cambridge University Press. p. 514. ISBN 978-0-521-35505-6.
  8. Sayyid Qudratullah Fatimi 1963, p. 61
  9. Syed Muhammad Naguib al-Attas 1970, pp. 22–23
  10. Syed Muhammad Naguib al-Attas 1970, pp. 22–23
  11. UNESCO 2009, p. 2
  12. Abdul Razak Salleh 2010, pp. 11–15
  13. An Ismanto 2009
  14. UNESCO 2009, p. 2
  15. Abdul Razak Salleh 2010, pp. 11–15
  16. 16.0 16.1 16.2 Adi Yasran, A. A.; Mohd Zin, M. Z.; Hashim, M.; Halimah, H.; Mohd Sharifudin, Y.; Syed Nurulakla, S. A.; Nurhidayah J; A. Asmadi Sakat; M. Roslan Mohd Nor (2012), "The Jawi writing system and vocabulary of the earliest legal malay inscription and manuscripts", Journal of Applied Sciences Research, 8 (7), ISSN 1816-157X, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-02-29, สืบค้นเมื่อ 2021-09-22

บรรณานุกรม[แก้]