เท็นริเกียว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ศาสนาเทนริเกียว)
สำนักงานใหญ่ศาลเจ้าเท็นริเกียวที่เท็นริ

เท็นริเกียว (ญี่ปุ่น: โรมาจิTenrikyō) บางครั้งเขียนเป็น ลัทธิเท็นริ (อังกฤษ: Tenriism)[1] เป็นศาสนาญี่ปุ่นใหม่ (Japanese new religion) ที่ไม่ได้นับถือแบบเอกเทวนิยมหรือสรรพเทวนิยม มีต้นกำเนิดจากหลักคำสอนของหญิงที่มีชื่อว่ามิกิ นากายามะในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งผู้ติดตามเรียกเธอว่า "โอยาซามะ"[2] ผู้ติดตามเท็นริเกียวเชื่อว่าเทพผู้สร้าง เทพแห่งความจริง[3] มีพระนามหลายแบบ เช่น "สึกิฮิ",[4] "เท็นริ-โอ-โนะ-มิโกโตะ"[5] และ "โอยางามิซามะ (พระเจ้าผู้เป็นบุพการี)"[6] ทรงเปิดเผยเจตจำนงของพระองค์ผ่านมิกิ นากายามะในฐานะศาลเจ้าของเทพเจ้า (Shrine of God)[7] และถึงผู้ที่มีบทบาทในระดับที่น้อยกว่าในฮนเซกิ อิโซ อิบูริ และผู้นำคนอื่น ๆ จุดมุ่งหมายทางโลกของเท็นริเกียวคือสั่งสอนและสนับสนุนชีวิตอันผาสุข (Joyous Life) ที่กระทำด้วยกุศลธรรมและสติสัมปชัญญะ ซึ่งมีชื่อเรียกว่า ฮิโนกิชิง

ศูนย์ปฏิบัติการหลักของเท็นริเกียวในปัจจุบันอยู่ที่สำนักงานใหญ่ศาลเจ้าเท็นริเกียว (เท็นริ จังหวัดนาระ ประเทศญี่ปุ่น) ซึ่งมีศาลเจ้าที่ได้รับการสนับสนุนทั่วญี่ปุ่น 16,833 แห่ง[8] มีศาสนิกชนในประเทศญี่ปุ่น 1.75 ล้านคน[8] และประมาณการว่ามีศาสนิกชนมากกว่า 2 ล้านคนทั่วโลก[9]

อ้างอิง[แก้]

  1. Wolfgang Hadamitzky, Kimiko Fujie-Winter. Kanji Dictionary 漢字熟語字典. Tuttle Publishing, 1996. p. 46.
  2. Fukaya, Tadamasa, "The Fundamental Doctrines of Tenrikyo," Tenrikyo Overseas Mission Department, Tenri-Jihosha, 1960, p.2
  3. The Doctrine of Tenrikyo (2006 ed.). Tenrikyo Church Headquarters. 1954. p. 3.
  4. Ofudesaki: The Tip of the Writing Brush (2012 ed.). Tenri, Nara, Japan: Tenrikyo Church Publishers. 1998. p. 205, VIII-4.
  5. The Doctrine of Tenrikyo (2006, Fourth ed.). Tenri, Nara, Japan: Tenrikyo Church Headquarters. 1954. p. 29. We call out the name Tenri-O-no-Mikoto in praise and worship of God the Parent.
  6. The Doctrine of Tenrikyo (Tenth, 2006 ed.). Tenri, Nara, Japan: Tenrikyo Church Headquarters. 1954. p. 3.
  7. "I wish to receive Miki as the Shrine of God." The Doctrine of Tenrikyo, Tenrikyo Church Headquarters, 2006, p.3.
  8. 8.0 8.1 Japanese Ministry of Education. Shuukyou Nenkan, Heisei 14-nen (宗教年鑑平成14年). 2002.
  9. Stuart D. B. Picken. Historical dictionary of Shinto. Rowman & Littlefield, 2002. p. 223. ISBN 0-8108-4016-2

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]