ชางลั่งถิง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ศาลาชางลั่งถิง)
Classical Gardens of Suzhou *
  แหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก
Canglang Pavilion
ประเทศChina
ภูมิภาค **Asia-Pacific
ประเภทCultural
เกณฑ์พิจารณาi, ii, iii, iv, v
อ้างอิง[whc.unesco.org/en/list/813 813]
ประวัติการขึ้นทะเบียน
ขึ้นทะเบียน1997 (คณะกรรมการสมัยที่ 21st)
เพิ่มเติม2000
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีแหล่งมรดกโลก
** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก

ชางลั่งถิงหรือพลับพลาเกลียวคลื่น (อังกฤษ: Canglang Pavilion; จีน: 沧浪亭; พินอิน: Cāng Làng Tíng) มีชื่อที่แปลเป็นภาษาอังกฤษหลากหลายว่า the Great Wave Pavilion หรือ Surging Wave Pavilion หรือ Blue Wave Pavilion เป็นหนึ่งในสวนโบราณ เมืองซูโจวที่ได้รับการยกย่องโดยองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ ให้เป็นมรดกโลกอีกแห่งหนึ่ง ชางลั่งถิงตั้งอยู่ที่เลขที่ 3 ถนนชางลั่งถิงในเมืองซูโจว มณฑลเจียงซู ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน สวนแห่งนี้เป็นหนึ่งในสี่สวนที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในเมืองซูโจวและยังเป็นสวนที่มีอายุเก่าแก่มากที่สุดแห่งหนึ่ง เนื่องจากสามารถสืบค้นประวัติของสวนย้อนหลังได้ถึงสมัยราชวงศ์ซ่งเหนือ (Northern Song Dynasty) ในราวปี ค.ศ. 906-1127[1]

ประวัติศาสตร์[แก้]

ชางลั่งถิงสร้างขึ้นเมือปี ค.ศ. 1044 โดยบัณฑิตและข้าราชการในสมัยราชวงศ์ซ่ง ซูซุนชิง (Su Shunqing; 1008–1048) สวนแห่งนี้จึงเป็นสวนที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดในบรรดาสวนโบราณเมืองซูโจวที่ได้รับการบันทึกให้เป็นมรดกโลกโดยองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ โดยคงผังการออกแบบเช่นเดียวกับต้นฉบับในสมัยราชวงศ์ซ่งไว้[2] ชื่อของสวนได้มาจากบทกวีชื่อ "ชาวประมง (Fishermen)" โดยนักประพันธ์ชื่อ ชวูหยวน (อังกฤษ: Qu Yuan; จีน: 屈原; 340BCE-278BCE) ซึ่งเขียนโดยกวีจากทางใต้ของรัฐฉู่ (อังกฤษ: Chu; จีน: 楚) ในช่วงของยุครณรัฐ (หรือจั้นกั๋ว; อังกฤษ: Warring States; จีนตัวย่อ: 战国; จีนตัวเต็ม: 戰國時; พินอิน: Zhànguó ) ในหนังสือของเขาชื่อ บทเพลงจากทางใต้ (อังกฤษ: Songs of the South หรือ Chu Ci; จีนตัวเต็ม: 楚辭; จีนตัวย่อ: 楚辞) กล่าวไว้ว่า "ถ้าแม่น้ำชางลั่งสกปรก ฉันจะล้างเท้าอันเปื้อนโคลนของฉัน หากแต่แม่น้ำชางลั่งสะอาดแล้ว ฉันก็จะล้างริบบิ้นของฉัน (If the Canglang River is dirty I wash my muddy feet; If the Canglang River is clean I wash my ribbon)"[3] บทกวีนี้บรรยายถึงข้าราชการผู้ซึ่อสัตย์ที่ยอมละตำแหน่งทางการเมืองมากกว่าจะยอมกระทำการอันทุจริต เป็นบทกวีที่ซูซุนชิงเลือกใช้เพื่อสะท้อนความรู้สึกของเขาที่ถูกปลดและย้ายมาอยู่ในเมืองซูโจว[1]

หลังจากที่ซูซุนชิงเสียชีวิตลง มีการเปลี่ยนเจ้าของสวนหลายครั้งรวมถึงถูกปล่อยทิ้งร้างไป จนถึงปี ค.ศ. 1696 ซ่งลั่ว (Song Luo) ผู้ปกครองมณฑลเจียงซูได้บูรณะส่วนขึ้นใหม่ ในปี ค.ศ. 1955 จึงมีการเปิดสวนให้ประชาชนทั่วไปได้เข้าชม[3]

การออกแบบ[แก้]

สวนชางลั่งถิงแตกต่างจากสวนแห่งอื่นตรงที่เน้นความกลมกลืนระหว่างอาคารที่มนุษย์สร้างขึ้นกับสภาพแวดล้อมธรรมชาติเข้าด้วยกัน[1] ด้วยขนาด 1.6 เฮกตาร์ (ha; hectare) แห่งนี้แบ่งพื้นที่ออกเป็นสองส่วนสำคัญ[2] คือสวนส่วนตะวันออกและตะวันตก การออกแบบได้ผสมผสานให้เข้ากับธรรมชาติด้วยการเลียนแบบเนินเขาธรรมชาติ มีการปลูกต้นไม้และต้นไผ่ที่สร้างความรู้สึกเสมือนเดินอยู่ในป่าจริง ๆ นอกจากนี้ยังมีศาลาที่เชื่อมเนินเขาและสระน้ำเข้าด้วยกัน สถาปัตยกรรมภายในสวนแห่งนี้มีความเรียบง่ายและบ่งชัดถึงลักษณะดั้งเดิมของการออกแบบสมัยราชวงศ์ชิง (ค.ศ. 1644-1911) ได้เป็นอย่างดี[1] ทางเดินคดเคี้ยวรอบสวนเชื่อมจุดชมวิวต่าง ๆ ภายในสวนเข้าด้วยกัน ผนังของทางเดินนั้นมีหน้าต่างไม้ฉลุแกะสลักถึง 108 บาน ซึ่งแต่ละบานมีการออกแบบที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของตนเอง[3]

ดูเพิ่ม[แก้]

หมายเหตุ[แก้]

แม่แบบ:Contains Chinese text

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 China.org.cn "Canglang Pavilion (Blue Wave Pavilion)", http://www.china.org.cn/english/travel/210248.htm
  2. 2.0 2.1 Suzhou, 2009
  3. 3.00 3.01 3.02 3.03 3.04 3.05 3.06 3.07 3.08 3.09 Yuan, 2004

อ้างอิง[แก้]

  • Suzhou Mingcheng Information Port Co., LTD, The Surging Wave Pavilion, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-03, สืบค้นเมื่อ 2009 {{citation}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

แม่แบบ:Classical Gardens of Suzhou

พิกัดภูมิศาสตร์: 31°17′47.57″N 120°37′17.46″E / 31.2965472°N 120.6215167°E / 31.2965472; 120.6215167