ศาลภาษีอากร (ประเทศไทย)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ศาลภาษีอากรกลาง)
สัญลักษณ์ประจำศาล

ศาลภาษีอากร เป็นศาลที่ตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528[1] มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีภาษีอากร ซึ่งมีลักษณะพิเศษแตกต่างจากคดีแพ่งทั่วไป เพราะเป็นข้อพิพาทระหว่างเอกชนกับรัฐอันเนื่องมาจากการเก็บภาษีอากร การอุทธรณ์ในคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลภาษีอากรให้อุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ [2]

ปัจจุบันมีศาลภาษีอากร จำนวน 1 แห่ง คือ ศาลภาษีอากรกลาง เปิดทำการในวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2529[3]

อำนาจพิจารณาคดี[แก้]

ศาลภาษีอากร มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งในเรื่องต่อไปนี้

  1. คดีอุทธรณ์คำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานหรือคณะกรรมการตามกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากร
  2. คดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องของรัฐในหนี้ค่าภาษีอากร
  3. คดีพิพาทเกี่ยวกับการขอคืนค่าภาษีอากร
  4. คดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ตามข้อผูกพันซึ่งได้ทำขึ้นเพื่อประโยชน์แก่การจัดเก็บภาษีอากร
  5. คดีที่มีกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจศาลภาษีอากร

อ้างอิง[แก้]

  1. พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 102 ตอนที่ 120 ลงวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2528
  2. "มาตรา 5 พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ พ.ศ. ๒๕๕๘". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-09-17. สืบค้นเมื่อ 2020-12-03.
  3. พระราชกฎษฎีกากำหนดวันเปิดทำการศาลภาษีอากรกลาง พ.ศ. 2529ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 103 ตอนที่ 87 ลงวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2529

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]