การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ค

พิกัด: 49°27.2603′N 11°02.9103′E / 49.4543383°N 11.0485050°E / 49.4543383; 11.0485050
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ศาลทหารระหว่างประเทศ)
บรรดาจำเลยในคอก จำเลยหลัก คือ แฮร์มันน์ เกอริง (แถวล่าง ริมซ้าย) ซึ่งชื่อว่าเป็นข้าราชการคนสำคัญที่สุดของนาซีเยอรมนีที่รอดชีวิตอยู่มาได้หลังอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ตาย

การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ค (อังกฤษ: Nuremberg trials) เป็นชุดการพิจารณาคดีทางทหารที่ฝ่ายสัมพันธมิตรผู้ชนะสงครามโลกครั้งที่สองเป็นผู้จัด มีจุดเด่นเป็นการฟ้องสมาชิกชั้นผู้ใหญ่ในคณะผู้นำทางการเมือง การทหาร และเศรษฐกิจของนาซีเยอรมนีซึ่งพ่ายสงคราม

การพิจารณาทั้งนี้มีขึ้น ณ ตำหนักยุติธรรม เมืองนูเร็มเบิร์ก รัฐบาวาเรีย ประเทศเยอรมนี โดยชุดแรกเป็น "การพิจารณาผู้กระทำความผิดอาญาสงครามกลุ่มหลัก" ในศาลทหารระหว่างประเทศ (International Military Tribunal) เริ่มในวันที่ 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 1945 และเป็นการพิจารณาอันเป็นที่กล่าวขานมากที่สุดด้วย จำเลยในชุดนี้ประกอบด้วยผู้นำคนสำคัญที่สุดยี่สิบสี่คนของนาซีเยอรมนีซึ่งถูกจับมาได้ ทว่า บุคคลสำคัญหลาย ๆ คนที่ชักใยอยู่เบื้องหลังสงคราม เป็นต้นว่า อดอล์ฟ ฮิตเลอร์, ไฮน์ริช ฮิมม์เลอร์ และโยเซฟ เกิบเบิลส์ นั้น กระทำอัตวินิบาตกรรมไปก่อนหน้าแล้ว การพิจารณาชุดแรกนี้สิ้นสุดลงในวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 1946

ส่วนชุดที่สอง เป็นการพิจารณาผู้กระทำความผิดอาญาสงครามซึ่งมีความสำคัญน้อยกว่าจำเลยกลุ่มแรก ดำเนินการโดย คณะตุลาการศาลทหารเนือร์นแบร์ค (Nuremberg Military Tribunals) ตามกฎหมายสภาควบคุม ฉบับที่ 10 (Control Council Law No. 10) ในครั้งนี้ มีทั้งการพิจารณาคดีแพทย์ และการพิจารณาตุลาการ

จุดกำเนิด[แก้]

เอกสารของคณะรัฐมนตรีสงครามแห่งอังกฤษ ซึ่งเผยแพร่เมื่อวันที่ 2 มกราคม ค.ศ. 2006 ระบุว่า ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1944 คณะรัฐมนตรีได้อภิปรายนโยบายการลงโทษผู้นำนาซีที่ถูกจับ วินสตัน เชอร์ชิลล์ นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร สนับสนุนให้มีการประหารชีวิตอย่างรวบรัดในบางพฤติการณ์ โดยใช้พระราชบัญญัติกบฏ (Act of Attainder) เพื่อหลีกเลี่ยงอุปสรรคทางกฎหมายบางประการ อย่างไรก็ดี เมื่อได้สนทนากับสหรัฐอเมริกาภายหลังสงครามยุติ สหรัฐอเมริกาปรามเขามิให้ใช้นโยบายนี้ ครั้นปลาย ค.ศ. 1943 ระหว่างงานสโมสรไตรภาคีเลี้ยงอาคารค่ำในการประชุมเตหะราน โจเซฟ สตาลิน ผู้นำโซเวียต เสนอให้ประหารชีวิตนายทหารชาวเยอรมันราว ๆ ห้าหมื่นถึงหนึ่งแสนคน แฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์ ประธานาธิบดีสหรัฐ กล่าวติดตลกว่า เอาแค่สี่หมื่นเก้าก็พอ และเชอร์ชิลติเตียนแนวคิด "ประหารชีวิตทหารที่สู้เพื่อประเทศของตนให้ตายเสียอย่างเลือดเย็น" นี้ แต่เขายืนยันว่า ผู้กระทำความผิดอาญาสงครามต้องชดใช้ความผิดของตน และตามปฏิญญามอสโกที่เขาเขียนขึ้นเองนั้น เขายังว่า บุคคลเหล่านั้นจักต้องถูกพิจารณา ณ สถานที่ที่ความผิดอาญาได้กระทำลง เชอร์ชิลล์ต่อต้านการประหารเพื่อวัตถุประสงค์ทางการเมืองอย่างแข็งขัน[1] [2] ตามรายงานการประชุมระหว่างโรสเวลต์-สตาลินในการประชุมยัลตาเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1945 ที่พระราชวังลิวาเดีย ประธานาธิบดีโรสเวลต์ "กล่าวว่า ขอบเขตการทำลายล้างของทหารเยอรมันในไครเมียนั้นสร้างความตระหนกให้แก่เขาเป็นอันมาก และเพราะฉะนั้น เขาจึงกระหายเลือดต่อชาวเยอรมันมากยิ่งกว่าปีก่อน และเขาหวังว่าจอมพลสตาลินจะเสนอแผนการประหารชีวิตนายทหารจำนวนห้าหมื่นคนของกองทัพบกเยอรมันอีกครั้ง"[3]

เฮนรี มอร์เกนเธา จูเนียร์ รัฐมนตรีคลังสหรัฐ เสนอแผนการให้ทำลายความเป็นนาซีจากเยอรมนีอย่างสมบูรณ์[4] แผนการดังกล่าวเรียกกันว่า "แผนการมอร์เกนเธา" (Morgenthau Plan) มีเนื้อหาสนับสนุนการบังคับให้เยอรมนีสูญเสียอำนาจทางอุตสาหกรรมของตน ในเบื้องต้น โรสเวลต์สนับสนุนแผนการนี้ และโน้มน้าวให้เชอร์ชิลล์สนับสนุนในรูปแบบที่เบาบางลง แต่แผนการเกิดรั่วไหลไปสู่สาธารณชนเสียก่อน จึงมีการประท้วงเป็นวงกว้าง เมื่อทราบว่าประชาชนไม่เอาด้วยอย่างเด็ดขาด โรสเวลต์จึงละทิ้งแผนการดังกล่าว ความที่แผนการมอร์เกนเธาถึงแก่จุดจบลงเช่นนี้ ก็บังเกิดความจำเป็นจะต้องหาวิธีสำรองสำหรับรับมือกับเหล่าผู้นำนาซีขึ้น เฮนรี แอล. สติมสัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการสงครามแห่งสหรัฐอเมริกา และกระทรวงของเขา จึงยกร่างแผนการสำหรับ "พิจารณาชาวยุโรปผู้กระทำความผิดอาญาสงคราม" ต่อมาในเดือนเมษายน ค.ศ. 1945 เมื่อโรสเวลต์ถึงแก่อสัญกรรมแล้ว แฮร์รี เอส. ทรูแมน ประธานาธิบดีคนใหม่ แสดงความเห็นด้วยอย่างแรงกล้าในอันที่จะให้มีกระบวนการยุติธรรม และหลังสหราชอาณาจักร, สหรัฐอเมริกา, สหภาพโซเวียต และฝรั่งเศส ได้เจรจากันหลายยกหลายคราว ก็ได้ข้อสรุปเป็นรายละเอียดของการพิจารณาคดี โดยเริ่มพิจารณาเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 1945 ณ เมืองเนือร์นแบร์ค รัฐบาวาเรีย ประเทศเยอรมนี

การจัดตั้งศาล[แก้]

ในวันที่ 14 มกราคม ค.ศ. 1942 ผู้แทนจากกลุ่มประเทศที่ถูกยึดครองเก้าประเทศเดินทางมาพบกันในกรุงลอนดอน เพื่อที่จะร่างมติร่วมกันระหว่างฝ่ายสัมพันธมิตรเกี่ยวกับอาชญากรสงครามชาวเยอรมัน ในการประชุมเตะหราน (ค.ศ. 1943) การประชุมยัลตา และการประชุมพอตสดัม (ค.ศ. 1945) มหาอำนาจทั้งสามระหว่างสงคราม ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหภาพโซเวียต และสหราชอาณาจักร ได้ตกลงกันในรูปแบบของการลงโทษสำหรับผู้ที่มีส่วนรับผิดชอบต่ออาชญากรรมสงครามระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งฝรั่งเศสได้รับเกียรติให้มีที่ในศาลชำระความด้วยเช่นกัน

หลักกฎหมายในการพิจารณาคดีถูกจัดตั้งขึ้นโดยธรรมนูญลอนดอน ซึ่งมีผลในวันที่ 8 สิงหาคม ค.ศ. 1945 ซึ่งกำหนดในมีการพิจารณาคดีเพื่อลงโทษอาชญากรสงครามหลักแห่งกลุ่มประเทศฝ่ายอักษะในทวีปยุโรป อาชญากรสงครามราว 200 คนจะถูกพิจารณาคดีที่เนือร์นแบร์ค ในขณะที่อีกราว 1,600 คนจะถูกพิจารณาดคีโดยศาลทหารทั่วไป ส่วนหลักกฎหมายสำหรับเขตอำนาจศาลนั้นถูกกำหนดโดยตราสารยอมจำนนของเยอรมนี อำนาจทางการเมืองในเยอรมนีถูกโอนไปยังสภาควบคุมฝ่ายสัมพันธมิตร ซึ่งมีอำนาจอธิปไตยเหนือเยอรมนี และสามารถเลือกที่จะลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืนกฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายสงคราม เนื่องจากศาลถูกจำกัดไว้ในการฝ่าฝืนกฎหมายสงคราม ศาลดังกล่าวจึงไม่มีอำนาจพิจารณาอาชญการรมสงครามที่เกิดขึ้นก่อนการปะทุของสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 1939

อาชญากรรมสงครามฝ่ายสัมพันธมิตร[แก้]

ศาลพิจารณาคดีอาชญากรรมสงครามได้พิจารณาคดีและลงโทษแต่เพียงบุคคลจากกลุ่มประเทศฝ่ายอักษะเท่านั้น จึงได้เกิดการกล่าวโทษว่าศาลดังกล่าวได้ใช้ความยุติธรรมของผู้ชนะ เนื่องจากไม่มีคดีความของฝ่ายสัมพันธมิตรเลย ซึ่งนายพลชัก เยเกอร์ ได้เขียนไว้ในอัตชีวประวัติของเขาว่าในภารกิจบางอย่างของเหล่าทหารอากาศอาจถูกพิจารณาว่าเป็นอาชญากรรมสงครามได้ (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภารกิจ "ยิงทุกอย่างที่เคลื่อนไหว" ในชนบทของเยอรมนี) เขาและนักบินคนอื่น ๆ จำเป็นจะต้องปฏิบัติภารกิจเพื่อหลีกเลี่ยงคำตัดสินของศาลทหารฐานขัดคำสั่ง เขายังได้กล่าวอีกว่า เขาหวังว่าฝ่ายสัมพันธมิตรจะชนะสงคราม มิฉะนั้นเขาอาจถูกพิจารณาคดีในข้อหาก่ออาชญกรรมสงคราม[5]

การยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของฝ่ายอักษะเป็นสิ่งที่ผิดปกติ และนำไปสู่การก่อตั้งศาลชำระความระหว่างประเทศ โดยทั่วไปแล้ว สงครามระหว่างประเทศจะยุติลงอย่างมีเงื่อนไข และการปฏิบัติต่ออาชญากรรมสงครามจะรวมเข้าไว้เป็นส่วนหนึ่งของสนธิสัญญาสันติภาพนั้น ในหลายกรณี ผู้ที่มิได้เป็นอาชญากรสงครามก็ถูกพิจารณาคดีโดยระบบยุติธรรมในชาติของตนเช่นเดียวกัน หากผู้นั้นถูกสงสัยว่าก่ออาชญากรรมสงคราม ในการจำกัดวงในศาลชำระความระหว่างประเทศในการไต่สวนอาชญากรสงครามฝ่ายอักษะที่เป็นที่ต้องสงสัย ฝ่ายสัมพันธมิตรได้ดำเนินการภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศทั่วไป

สถานที่พิจารณาคดี[แก้]

ไลพ์ซิจ มิวนิก และลักเซมเบิร์กเคยได้รับพิจารณาให้เป็นสถานที่พิจารณาคดี[6] ส่วนสหภาพโซเวียตต้องการให้จัดการพิจารณาคดีขึ้นในกรุงเบอร์ลิน เนื่องจากเห็นว่าเป็นเมืองหลวงของฟาสซิสต์[6] แต่เนือร์นแบร์คถูกเลือกให้เป็นสถานที่พิจารณาคดีด้วยเหตุผลเฉพาะหลายประการ:

  • พื้นที่ส่วนใหญ่ของทำเนียบยุติธรรมยังคงไม่ได้รับความเสียหายจากการทิ้งระเบิดของฝ่ายสัมพันธมิตร นอกจากนี้ยังมีเรือนจำเป็นส่วนหนึ่งของอาคารด้วย
  • เนือร์นแบร์คถือได้ว่าเป็นจุดกำเนิดของพรรคนาซี รวมทั้งมีการจัดการชุมนุมโฆษณาชวนเชื่อทุกปี[6] ซึ่งเป็นสถานที่ที่เหมาะสมที่ฝ่ายสัมพันธมิตรจะมอบจุดจบให้กับนาซีในเชิงสัญลักษณ์

ด้วยการประนีประนอมกับสหภาพโซเวียต กรุงเบอร์ลินถูกจัดให้เป็นสถานที่พักอย่างเป็นทางการของเจ้าหน้าที่ระหว่างการพิจารณาคดี[7][8][9] และยังได้มีการตกลงในฝรั่งเศสมีที่นั่งถาวรในศาลชำระความระหว่างประเทศ[10] และการพิจารณาคดีครั้งแรกจะถูกจัดขึ้นที่เนือร์นแบร์ค[7][9]

ผู้พิพากษาในการพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ก

ผู้พิพากษา[แก้]

แต่ละประเทศในศาลทหารระหว่างประเทศ มีผู้พิพากษาและผู้ช่วยอย่างละหนึ่งคน

ทนาย[แก้]

  • ทนายฝ่ายโจทก์:
  • ทนายฝ่ายจำเลย: จำเลยแต่ละคนมีสิทธิ์ที่จะต่อสู้คดีโดยมีทนายความประจำตัว ซึ่งส่วนใหญ่เป็นทนายความชาวเยอรมัน[11]

การพิจารณาคดีหลัก[แก้]

ศาลทหารระหว่างประเทศถูกเปิดขึ้นเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม ค.ศ. 1945 ณ ทำเนียบยุติธรรมในเมืองเนือร์นแบร์ค[12] การประชุมในช่วงแรกรับผิดชอบโดยผู้พิพากษาโซเวียต นิคิทเชนโก การดำเนินคดีเริ่มขึ้นด้วยการฟ้องร้องจำเลย 24 อาชญากรสงครามคนสำคัญ และ 6 องค์การ ได้แก่ ผู้นำระดับสูงของพรรคนาซี ชุทซ์ซทัฟเฟล (เอ็สเอ็ส) ซีเชอร์ไฮท์สดีนสท์ (เอสดี) เกสตาโพ ชตูร์มับไทลุง และ "กองเสนาธิการและกองบัญชาการทหารสูงสุด" ซึ่งประกอบด้วยนายทหารอาวุโสหลายประเภท[13]

คำฟ้องคดีอาญาอุกฉกรรจ์ ได้แก่:

  1. การมีส่วนร่วมในแผนการทั่วไปหรือแผนสมคบคิดในการก่ออาชญากรรมต่อสันติภาพ
  2. การวางแผน ริเริ่มและดำเนินสงครามเพื่อการรุกราน และอาชญากรรมต่อสันติภาพอื่น ๆ
  3. อาชญากรรมสงคราม
  4. อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ

(ตัวย่อ: I ถูกฟ้องคดีอาญาอุกฉกรรจ์แต่ไม่ถูกพิพากษาลงโทษ, G ถูกฟ้องคดีอาญาอุกฉกรรจ์และถูกวินิจฉัยว่ามีความผิด, O ไม่ถูกฟ้อง)

ชื่อ
กระทง
บทลงโทษ หมายเหตุ
1 2 3 4

มาร์ทีน บอร์มัน
I O G G ประหารชีวิต ผู้สืบทอดตำแหน่งเลขาธิการพรรคนาซีต่อจากเฮสส์ ศพถูกพบในปี ค.ศ. 1972 ซึ่งสามารถตามรอยได้จนถึง ค.ศ. 1945[14]

คาร์ล เดอนิทซ์
I G G O จำคุก 10 ปี ผู้บัญชาการทหารเยอรมันตั้งแต่ปี ค.ศ. 1943 สืบทอดตำแหน่งต่อจากแรเดอร์ ผู้ริเริ่มการทัพเรืออู เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีแห่งเยอรมนีเป็นเวลา 23 วัน หลังอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ถึงแก่อสัญกรรม ในหลักฐานที่ถูกนำเสนอต่อศาลระบุว่า คาร์ล เดอนิตช์ได้สั่งการกองเรืออู ซึ่งเป็นการละเมิดสนธิสัญญากองทัพเรือกรุงลอนดอน; พลเรือเอกเชสเตอร์ นิมิตซ์ ระบุว่า การใช้เรือดำน้ำอย่างไม่จำกัดขอบเขตถูกนำมาใช้ในมหาสมุทรแปซิฟิก โดยสหรัฐอเมริกา นับตั้งแต่วันแรกที่สหรัฐอเมริกาเข้าสู่สงคราม เดอนิตช์ถูกตัดสินว่ามีความผิดในการละเมิดสนธิสัญญาทางทะเลกรุงลอนดอนครั้งที่สอง ในปี ค.ศ. 1936 แต่เขาไม่ถูกตัดสินว่าละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยสงครามเรือดำน้ำ[15]

ฮันส์ ฟรังค์
I O G G ประหารชีวิต ผู้นำกฎหมายของจักรวรรดิไรซ์ ค.ศ. 1933-45 และผู้ปกครองเขตกักกันชาวยิวในโปแลนด์ ค.ศ. 1939-45 แสดงความสำนึกผิดอย่างเห็นได้ชัด[16]

วิลเฮล์ม ฟริค
I G G G ประหารชีวิต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยของฮิตเลอร์ระหว่าง ค.ศ. 1933-45 และผู้สำเร็จราชการแห่งโบฮีเมีย-โมราเวียระหว่าง ค.ศ. 1943-45 ผู้ร่างกฎหมายเชื้อชาติเนือร์นแบร์ค[17]

ฮันส์ ฟริทเชอ
I I I O ไม่มีความผิด ผู้บรรยายทางวิทยุที่มีชื่อเสียง หัวหน้ากองข่าวในกระทรวงโฆษณาชวนเชื่อของนาซี ถูกนำตัวมาพิจารณาคดีแทนโยเซฟ เกิบเบิลส์[18]

วัลเทอร์ ฟุงค์
I G G G จำคุกตลอดชีวิต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจของฮิตเลอร์ ผู้สืบทอดตำแหน่งผู้ว่าการไรชส์บังค์ถัดจากชัคท์ ถูกปล่อยตัวเนื่องจากปัญหาสุขภาพเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม ค.ศ. 1957[19] เสียชีวิตเมื่อ 31 พฤษภาคม ค.ศ. 1960

แฮร์มัน เกอริง
G G G G ประหารชีวิต ไรช์สมาร์ชัลล์ ผู้บัญชาการลุฟท์วัฟเฟระหว่าง ค.ศ. 1935-45 หัวหน้าแผนการ 4 ปี ค.ศ. 1936-45 เดิมเป็นหัวหน้าเกสตาโพก่อนจะเปลี่ยนไปดำรงตำแหน่งหัวหน้าเอ็สเอ็สเมื่อเดือนเมษายน ค.ศ. 1934 เคยถูกวางตัวให้เป็นผู้สืบทอดตำแหน่งต่อจากฮิตเลอร์และเป็นผู้นำอันดับที่สองในพรรคนาซี[20] ในปี ค.ศ. 1942 อำนาจของเขาถดถอยลงและความเป็นที่ชื่นชอบของเขาก็หมดลงไปด้วย เขาถูกแทนที่ในสายตำแหน่งนาซีโดยฮิมม์เลอร์ ทำอัตวินิบาตกรรมคืนก่อนหน้าการพิจารณาคดี[21]

รูดอล์ฟ เฮสส์
G G I I จำคุกตลอดชีวิต รองฟือเรอร์ของฮิตเลอร์จนกระทั่งบินไปยังสกอตแลนด์ในปี ค.ศ. 1941 เพื่อพยายามเป็นนายหน้าเจรจาสันติภาพกับสหราชอาณาจักร ถูกตัดสินจำคุกที่เรือนจำสปันเดา เสียชีวิตในปี ค.ศ. 1987[22]

อัลเฟรท โยเดิล
G G G G ประหารชีวิต นายพลของกองทัพบกเยอรมัน ผู้ใต้บังคับบัญชาของพลเอกไคเทิล และหัวหน้ากองพลปฏิบัติการของกองบัญชาการทหารสูงสุดระหว่าง ค.ศ. 1938-45 ต่อมาได้ถูกตัดสินว่าไม่มีความผิดโดยศาลเยอรมันในปี ค.ศ. 1953 แต่ก็ได้มีการกลับการตัดสินอีก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเพราะแรงกดดันจากนายทหารอเมริกัน[23]

แอ็นสท์ คัลเทินบรุนเนอร์
I O G G ประหารชีวิต ผู้นำของเอ็สเอ็สยศสูงสุดที่ยังมีชีวิต หัวหน้าไรช์ซิเชอร์ไฮท์เชาพ์ทัมท์ ค.ศ. 1943-45 ซึ่งเป็นหน่วยสืบราชการลับของนาซี ตำรวจรัฐลับและตำรวจสืบสวนอาชญากรรม นอกจากนี้ยังเป็นผู้บัญชาการไอน์ซัทซ์กรุพเพนและค่ายกักกันอีกเป็นจำนวนมาก[24]

วิลเฮ็ล์ม ไคเทิล
G G G G ประหารชีวิต หัวหน้าโอเบอร์คอมมันโดเดอร์เวร์มัคท์และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมโดยพฤตินัย ค.ศ. 1938–45 ขึ้นชื่อว่ามีความภักดีโดยไม่ข้อแม้ต่อฮิตเลอร์ ลงนามคำสั่งหลายคำสั่งให้ประหารชีวิตทหารและนักโทษการเมือง แสดงความสำนึกผิด ถูกแขวนคอเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม ค.ศ. 1946
I I I ---- นักอุตสาหกรรมคนสำคัญของนาซี ซีอีโอของครุพพ์ อา. เก. ค.ศ. 1912-45 มีสุขภาพไม่เหมาะกับที่จะนำขึ้นพิจารณาคดี (เสียชีวิต 16 มกราคม ค.ศ. 1950) พนักงานอัยการพยายามที่จะนำตัวบุตรชาย อัลเฟรด (ผู้ซึ่งบริหารบริษัทแทนบิดาในช่วงเวลาส่วนใหญ่ของสงคราม) แต่ผู้พิพากษาได้ปฏิเสธความคิดนี้[25] อัลเฟรดถูกพิจารณาคดีในการพิจารณาคดีเนือร์นแบร์คแยกต่างหากจากการใช้แรงงานทาส ด้วยเหตุนี้จึงรอดจากโทษประหารชีวิตที่อาจได้รับ

I I I I ---- หัวหน้าแนวร่วมแรงงานเยอรมัน(DAF) ทำอัตวินิบาตกรรมเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม ค.ศ. 1945 ก่อนหน้าการพิจารณาคดีเริ่มต้นขึ้น

G G G G จำคุก 15 ปี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ค.ศ. 1932-38 ซึ่งริบเบนทรอพสืบทอดตำแหน่งต่อ ภายหลังเป็นผู้สำเร็จราชการแห่งโบฮีเมียและโมราเวีย ค.ศ. 1939-43 ลาออกในปี ค.ศ. 1943 เนื่องจากความขัดแย้งกับฮิตเลอร์ ถูกปล่อยตัวเนื่องจากสุขภาพไม่ดี เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน ค.ศ. 1954[26] หลังจากมีอาการโรคหัวใจ เสียชีวิต 14 สิงหาคม ค.ศ. 1956

I I O O ปล่อยตัว นายกรัฐมนตรีเยอรมนีในปี ค.ศ. 1932 และรองนายกรัฐมนตรีสมัยฮิตเลอร์ใน ค.ศ. 1933-34 เอกอัครทูตประจำออสเตรีย ค.ศ. 1934-38 และเอกอัครทูตประจำตุรกี ค.ศ. 1939-44 in 1932 ถึงแม้ว่าจะถูกปล่อยตัวที่เนือร์นแบร์ค ฟอน พาเพนได้ถูกจัดว่าเป็นอาชญากรสงครามในปี ค.ศ. 1947 โดยศาลลบล้างความเป็นนาซี และถูกตัดสินให้ใช้แรงงานหนักเป็นเวลาแปดปี เขาถูกตัดสินว่าไม่มีความผิดหลังจากอุทธรณ์เมื่อรับโทษไปแล้วสองปี[27]

G G G O จำคุกตลอดชีวิต ผู้บัญชาการทหารสูงสุดกองทัพเรือเยอรมัน ค.ศ. 1928-43 (เกษียณ) สืบทอดตำแหน่งโดยเดอนิตช์ ถูกปล่อยตัวเนื่องจากปัญหาสุขภาพ 26 กันยายน ค.ศ. 1955[28] เสียชีวิต 6 พฤศจิกายน ค.ศ. 1960

G G G G ประหารชีวิต เอกอัครราชทูตผู้มีอำนาจเต็ม ค.ศ. 1935-36 เอกอัครราชทูตประจำสหราชอาณาจักร ค.ศ. 1936-38 รัฐมนตรีต่างประเทศนาซี ค.ศ. 1938-45[29]

G G G G ประหารชีวิต นักทฤษฎีเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ ในภายหลังเป็นรัฐมนตรีดินแดนยึดครองยุโรปตะวันออก ค.ศ. 1941-45[30]

I I G G ประหารชีวิต เกาไลแตร์แห่งทูริงเกีย ค.ศ. 1927-45 ผู้มีอำนาจเต็มในโครงการแรงงานทาสนาซี ค.ศ. 1942-45[31]

I I O O ปล่อยตัว นักการธนาคารและนักเศรษฐศาสตร์คนสำคัญ ประธานไรช์บังค์ก่อนหน้าสงคราม ค.ศ. 1923-30 และ 1933-38 และรัฐมนตรีเศรษฐกิจ ค.ศ. 1934-37 ยอมรับว่าละเมิดสนธิสัญญาแวร์ซาย[32]

I O O G จำคุก 20 ปี หัวหน้ายุวชนฮิตเลอร์ตั้งแต่ ค.ศ. 1933-40 เกาไลแตร์แห่งเวียนนา ค.ศ. 1940-45 แสดงความสำนึกผิดอย่างเห็นได้ชัด[33]

I G G G ประหารชีวิต ผู้มีส่วนสำคัญในอันชลูส์และเป็นนายกรัฐมนตรีออสเตรียช่วงสั้น ๆ ในปี ค.ศ. 1938 เป็นผู้ช่วยฟรังค์ในโปแลนด์ ค.ศ. 1939-40 ในภายหลังเป็นผู้ตรวจการไรช์แห่งดินแดนยึดครองเนเธอร์แลนด์ ค.ศ. 1940-45 แสดงความสำนึกผิดอย่างเห็นได้ชัด[34]

I I G G จำคุก 20 ปี สถาปนิกคนโปรดและเพื่อนสนิทของฮิตเลอร์ และรัฐมนตรีกระทรวงสรรพาวุธ ค.ศ. 1942-45 ด้วยตำแหน่งหน้าที่ เขาจึงรับผิดชอบการใช้แรงงานทาสจากดินแดนยึดครองในการผลิตอาวุธ แสดงความสำนึกผิดอย่างเห็นได้ชัด[35]

I O O G ประหารชีวิต เกาไลแตร์แห่งฟรันโคเนีย ค.ศ. 1922-40 เจ้าของหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ แดร์ สทือร์แมร์ (ซึ่งมีเนื้อหาต่อต้านยิว)[36]

กระบวนการ[แก้]

ตลอดระยะการพิจารณาคดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งระหว่างมกราคมและกรกฎาคม ค.ศ. 1946 จำเลยและพยานจำนวนหนึ่งได้ถูกสัมภาษณ์โดยจิตแพทย์ชาวอเมริกัน ลีออน โกลเดนสัน บันทึกของเขาได้ให้รายละเอียดถึงพฤติกรรมและข้อคิดเห็นของจำเลยที่ยังมีชีวิตอยู่ ซึ่งเนื้อหาได้ถูกปรับปรุงเป็นรูปแบบหนังสือและตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 2004[37]

การลงโทษตามคำตัดสินประหารชีวิตนั้นมีขึ้นเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม ค.ศ. 1946 โดยใช้วิธีแขวนมาตรฐานแทนที่จะเป็นการแขวนยาว[38][39] กองทัพสหรัฐปฏิเสธข้อกล่าวอ้างที่ว่าความยาวของเชือกนั้นสั้นเกินไปซึ่งทำให้ผู้ที่ถูกแขวนคอนั้นเสียชีวิตช้ากว่าเนื่องจากหายใจไม่ออกเมื่อเทียบกับการเสียชีวิตอย่างรวดเร็วเนื่องจากคอหัก[40]

เพฌฆาตคือ จอห์น ซี. วูดส์ ถึงแม้ว่าจะมีข่าวลือเป็นเวลานานว่าร่างนั้นถูกนำตัวไปยังค่ายดาเชาและเผาที่นั่น แต่ข้อเท็จจริงคือร่างนั้นถูกเผาเป็นเถ้าถ่านในเมรุแห่งหนึ่งในมิวนิก และเถ้านั้นถูกโปรยลงไปเหนือแม่น้ำอีซาร์[41]

การนิยามองค์ประกอบของอาชญากรรมสงครามนั้นถูกอธิบายโดยหลักการเนือร์นแบร์ค ซึ่งเป็นชุดเอกสารแนวปฏิบัติซึ่งถูกร่างขึ้นจากผลของการพิจารณาคดีดังกล่าว การทดลองทางการแพทย์โดยแพทย์ชาวเยอรมันซึ่งถูกดำเนินคดีในการพิจารณาแพทย์นั้นนำไปสู่การรวบรวมประมวลกฎหมายเนือร์นแบร์คสำหรับการควบคุมการพิจารณาคดีในอนาคตว่าด้วยการทดลองในมนุษย์ และหลักการทางศีลธรรมสำหรับการทดลองวิจัยในมนุษย์

มรดก[แก้]

การจัดตั้งศาลทหารระหว่างประเทศในการพิจารณาคดีครั้งนี้ตามมาด้วยการพิจารณาคดีของเจ้าหน้าที่นาซีชั้นผู้น้อยกว่าและการพิจารณาแพทย์นาซี ผู้ซึ่งทำการทดลองในมนุษย์ในค่ายกักกัน ศาลในครั้งนี้เป็นแม่แบบสำหรับศาลทหารระหว่างประเทศภาคพื้นตะวันออกไกล ซึ่งพิจารณาคดีเจ้าหน้าที่ญี่ปุ่นในข้อหาอาชญากรรมต่อความสงบเรียบร้อยและต่อมนุษยชาติ นอกจากนี้ยังได้เป็นแม่แบบของการพิจารณาคดีไอช์มันน์ และศาลปัจจุบันในกรุงเฮก สำหรับการพิจารณาดคีอาชญากรรมที่ก่อขึ้นระหว่างสงครามบอลข่านในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1990 และที่อะรูชา สำหรับพิจารณาดคีผู้ที่มีส่วนรับผิดชอบต่อการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในรวันดา

การพิจารณาดคีเนือร์นแบร์คมีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อการพัฒนากฎหมายอาญาระหว่างประเทศ บทสรุปของการพิจารณาคดีครั้งนี้เป็นแม่แบบของ

คณะกรรมการกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งกระทำตามคำร้องขอของสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ได้ตีพิมพ์รายงาน "หลักการของกฎหมายระหว่างประเทศที่ได้ยอมรับในธรรมนูญศาลเนือร์นแบร์ค" และ "การพิพากษาของศาล" ในปี ค.ศ. 1950 (หนังสือประจำปีของคณะกรรมการกฎหมายระหว่างประเทศ ค.ศ. 1950 เล่ม 2[42])

อิทธิพลของศาลยังสามารถเห็นได้จากข้อเสนอในการจัดตั้งศาลอาญาระหว่างประเทศเป็นการถาวร และการร่างประมวลกฎหมายอาญาระหว่างประเทศ ซึ่งได้ถูกจัดเตรียมในภายหลังโดยคณะกรรมการกฎหมายระหว่างประเทศ จนกระทั่งนำไปสู่การประกาศใช้ธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศในอีกห้าสิบปีถัดมา

อ้างอิง[แก้]

  1. John Crossland Churchill: execute Hitler without trial in The Sunday Times, 1 January, 2006
  2. Tehran Conference: Tripartite Dinner Meeting เก็บถาวร 2006-06-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน November 29, 1943 Soviet Embassy, 8:30 PM
  3. United States Department of State Foreign relations of the United States. Conferences at Malta and Yalta, 1945. p.571
  4. The original memorandum from 1944, signed by Morgenthau
  5. Chuck Yeager and Leo Janos (1986). Yeager, an Autobiography. Bantam. ISBN 0553256742.
  6. 6.0 6.1 6.2 Overy, Richard (27 September 2001). Interrogations: The Nazi Elite in Allied Hands (1st ed.). Allen Lane, The Penguin Press. pp. 19–20. ISBN 0713993502.
  7. 7.0 7.1 Heydecker, Joe J.; Leeb, Johannes (1979). Der Nürnberger Prozeß (ภาษาเยอรมัน). Köln: Kiepenheuer und Witsch. p. 97.
  8. Minutes of 2nd meeting of BWCE and the Representatives of the USA. Kew, London: Lord Chancellor's Office, Public Records Office. 21 June 1945.
  9. 9.0 9.1 Rough Notes Meeting with Russians. Kew, London: Lord Chancellor's Office, Public Records Office. 29 June 1945.
  10. Overy, Richard (27 September 2001). Interrogations: The Nazi Elite in Allied Hands (1st ed.). Allen Lane, The Penguin Press. p. 15. ISBN 0713993502.
  11. Eugene Davidson, The Trial of the Germans: An Account of the Twenty-Two Defendants Before the International Military Tribunal at Nuremberg, University of Missouri Press, 1997, ISBN 9780826211392, pp. 30-31.
  12. Summary of the indictment in Department of State Bulletin, October 21, 1945, p. 595
  13. "Nuremberg Trial Proceedings Indictment: Appendix B".
  14. "Bormann judgement". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-21. สืบค้นเมื่อ 2009-10-17.
  15. "Dönitz judgement". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-19. สืบค้นเมื่อ 2009-10-17.
  16. "Frank judgement". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-21. สืบค้นเมื่อ 2009-10-18.
  17. "Frink judgement".
  18. "Fritzsche judgement".
  19. "Funk judgement".
  20. Kershaw, Ian. Hitler: A Biography, W. W. Norton & Co. 2008, pp 932-933.
  21. "Goering judgement".
  22. "Hess judgement".
  23. "Jodl judgement".
  24. "Kaltenbrunner judgement".
  25. Clapham, Andrew (2003). "Issues of complexity, complicity and complementarity: from the Nuremberg Trials to the dawn of the International Criminal". ใน Philippe Sands (บ.ก.). From Nuremberg to the Hague: the future of international criminal justice. Cambrifge University Press. ISBN 0521829917.
  26. "Von Neurath judgement".
  27. "Von Papen judgement".
  28. "Raeder judgement".
  29. "Von Ribbentrop judgement".
  30. "Rosenberg judgement".
  31. "Sauckel judgement".
  32. "Schacht judgement".
  33. "Von Schirach judgement".
  34. "Seyss-Inquart judgement".
  35. "Speer judgement".
  36. "Streicher judgement".
  37. Goldensohn, Leon N., and Gellately, Robert (ed.): The Nuremberg Interviews, Alfred A. Knopf, New York, 2004 ISBN 0-375-41469-X
  38. "Judgment at Nuremberg" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-06-25. สืบค้นเมื่อ 2011-05-01.
  39. "The trial of the century". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-02. สืบค้นเมื่อ 2011-05-01.
  40. War Crimes: Night without Dawn. เก็บถาวร 2009-11-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Time Magazine Monday, October 28, 1946
  41. Overy, Richard (27 September 2001). Interrogations: The Nazi Elite in Allied Hands (1st ed.). Allen Lane, The Penguin Press. p. 205. ISBN 0713993502.
  42. "Yearbook of the International Law Commission, 1950". Untreaty.un.org. สืบค้นเมื่อ 2009-04-04.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

49°27.2603′N 11°02.9103′E / 49.4543383°N 11.0485050°E / 49.4543383; 11.0485050