ศัลยศาสตร์ออร์โทพีดิกส์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาพต้นไม้บนหน้าปกหนังสือ Orthopaedia ของนิโกลาส์ แอนดรี หรือที่รู้จักว่า ต้นไม้ของแอนดรี (Andry tree) นิยมใช้เป็นสัญลักษณ์สากลของวิชาออร์โทพีดิกส์

ศัลยศาสตร์ออร์โทพีดิกส์[1] หรือ ออร์โทพีดิกส์ (ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน) (อังกฤษ: orthopedics, orthopaedics, orthopedic surgery, orthopaedic surgery) (โดยทั่วไปมักสะกดว่า ศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ หรือ ออร์โธปิดิกส์[2] [3] (ศัพท์ทางการ)) เป็นสาขาวิชาหนึ่งของวิชาศัลยศาสตร์ ที่เกี่ยวข้องกับกระดูก ข้อ เส้นเอ็น และกล้ามเนื้อต่างๆ ของร่างกาย ซึ่งในประเทศไทยแบ่งสาขาวิชาย่อยดังนี้

  1. การบาดเจ็บทางออร์โธปิดิกส์ (Orthopedic trauma)
  2. ศัลยศาสตร์ข้อสะโพกและข้อเข่า (Hip and knee surgery) หรือออร์โธปิดิกส์บูรณสภาพ (Adult reconstructive surgery)
  3. ศัลยศาสตร์ทางมือและจุลยศัลยศาสตร์ (Hand and microsurgery)
  4. เวชศาสตร์การกีฬา (Sports medicine)
  5. ศัลยศาสตร์เท้าและข้อเท้า (Foot and ankle surgery)
  6. เนื้องอกกระดูกและระบบเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (Musculoskeletal oncology)
  7. ศัลยศาสตร์กระดูกสันหลัง (Spine surgery)
  8. กุมารศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ (Pediatric orthopedics)
  9. ออร์โธปิดิกส์ผู้สูงวัยและโรคกระดูกเมตาบอลิก (Orthogeriatrics and metabolic bone disorder)

ศัลยแพทย์ออร์โทพีดิกส์[แก้]

ศัลยแพทย์ออร์โทพีดิกส์ (ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน) (อังกฤษ: Orthopedic Surgeons, Orthopedists) (โดยทั่วไปมักสะกดว่า ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ แพทย์ออร์โธปิดิกส์ (ศัพท์ทางการ)) เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง โดยทำการวินิจฉัยและดูแลรักษาด้วยการให้ยาหรือการผ่าตัดในความผิดปกติต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกระดูก ข้อ เส้นเอ็น และกล้ามเนื้อต่างๆ ของร่างกาย ในภาษาไทยมีชื่อเรียกศัลยแพทย์ออร์โทพีดิกส์หลากหลายชื่อ เช่น "ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ" "แพทย์กระดูกและข้อ" "หมอกระดูก" หรือในวงการแพทย์ในประเทศไทยเรียกสั้นๆ ว่า "หมอออร์โธฯ"

ศัลยแพทย์ออร์โทพีดิกส์ในประเทศไทยต้องสำเร็จการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิต จากนั้นต้องผ่านการเพิ่มพูนทักษะและศึกษาต่อแพทย์ประจำบ้านสาขาออร์โธปิดิกส์ สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาจะได้รับวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาออร์โธปิดิกส์ ซึ่งรับรองและออกให้โดยแพทยสภา

อ้างอิง[แก้]

  1. ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน เก็บถาวร 2017-07-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน กำหนดให้ใช้ ศัลยศาสตร์ออร์โทพีดิกส์ แทนคำว่า Orthopaedic surgery
  2. ราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย
  3. [https://tmc.or.th/pdf/RoyalCollege/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%82%E0%B8%98%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B9%8C%E0%B9%81%E0%B8%9E%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B9%8C%202557.pdf ราชกิจจานุเบกษา ประกาศข้อบังคับแพทยสภา ว่าด้วยราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย]