ว่านหาวนอน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ว่านหาวนอน
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
อาณาจักร: พืช
เคลด: พืชมีท่อลำเลียง
เคลด: พืชดอก
เคลด: พืชใบเลี้ยงเดี่ยว
เคลด: Commelinids
อันดับ: ขิง
วงศ์: วงศ์ขิง
สกุล: สกุลเปราะ
L.
สปีชีส์: Kaempferia rotunda
ชื่อทวินาม
Kaempferia rotunda
L.
ชื่อพ้อง[1]
  • Kaempferia bhucampac Jones
  • Zerumbet zeylanica Garsault
  • Kaempferia longa Jacq.
  • Kaempferia versicolor Salisb.

ว่านหาวนอน หรือ ว่านทิพยเนตร (blackhorm: สันสกฤต: भूमीचम्पा; ในภาษากันนาดา: Nela Sampige; ฮินดี: भूमी चम्पा; มลยาฬัม: ചെങ്ങനീർകിഴങ്ങ് / മലങ്കൂവ; ชื่อวิทยาศาสตร์: Kaempferia rotunda) อยู่ในวงศ์ Zingiberaceae เป็นไม้ส้มลุก มีเหง้าใต้ดิน สีน้ำตาล ผ่าออกเนื้อในสีขาว มีกลิ่นเฉพาะตัว ใบเดี่ยว สีเขียวอ่อน หลังใบมีลายม่วงสลับเขียว ดอกสีม่วงอ่อน ออกเป็นช่อสั้นจากเหง้าใต้ดิน ออกดอกแล้วจึงแตกใบ ถือเป็นพืชพื้นเมืองในประเทศจีน (มณฑลกวางตุ้ง, เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง, มณฑลไห่หนาน, ไต้หวัน, มณฑลยูนนาน) อนุทวีปอินเดีย (รวมรัฐอัสสัม, เนปาล และบังกลาเทศ), อินโดจีน และมีการนำไปเพาะปลูกหลายแห่ง มีรายงานว่ามีการนำพืชไปปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมในเกาะชวา, มาเลเซีย และคอสตาริกา[1][2][3] พบตามภูเขาหินปูนทุ่งหญ้าเปิดหรือพื้นที่เปิดโล่ง ของป่าผลัดใบ[4]

หัวใต้ดินใช้ต้มน้ำดื่มแก้ปวดท้อง ในดอกมีสารพิษ benzyl benzoate ใช้ทำยาทารักษาหิด[5] มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ[6] ชาวม้งในไทยนำไปต้มกับไก่ให้มีรสเผ็ด ต้มน้ำดื่มแก้ปวดท้อง กินสดก่อนอาหารแก้ปวดท้อง[7] ใช้เป็นไม้ประดับ ใช้เป็นยารักษาโรคตาแดง ในทางไสยศาสตร์ เชื่อว่ามีฤทธิ์ทางเมตตามหานิยมและคงกระพันชาตรี[8]

อ้างอิง[แก้]

  • ป่าแม่คำมี: ความหลากหลายทางชีวภาพจากอดีตถึงปัจจุบัน. กทม. สำนักวิจัยและพัฒนาป่าไม้. 2556
  1. 1.0 1.1 Kew World Checklist of Selected Plant Families
  2. Flora of China, v 24 p 369, 海南三七 hai nan san qi, Kaempferia rotunda Linnaeus, Sp. Pl. 1: 3. 1753.
  3. Ahmed, Z.U. (ed.) (2008). Encyclopedia of Flora and Fauna of Bangladesh 12: 1-505. Asiatic Society of Bangladesh.
  4. http://www.qsbg.org/database/botanic_book%20full%20option/search_detail.asp?botanic_id=1492
  5. Nugroho, Bambang W.; และคณะ (1996). "Insecticidal constituents from rhizomes of Zingiber cassumunar and Kaempferia rotunda". Phytochemistry. 41 (1): 129–132. doi:10.1016/0031-9422(95)00454-8.
  6. J. Priya Mohanty; L. K. Nath; Nihar Bhuyan; G. Mariappan (2008). "Evaluation of antioxidant potential of Kaempferia rotunda Linn". Indian Journal of Pharmaceutical Sciences. 70 (3): 362–364. doi:10.4103/0250-474X.43002. PMC 2792529. PMID 20046746.
  7. ว่านหาวนอน
  8. เศรษฐมนตร์ กาญจนกุล. ว่าน. กทม. เศรษฐศิลป์. 2553 หน้า 91