ว่านหางช้าง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ว่านหางช้าง
ว่านหางช้างที่พิตต์สเบิร์ก รัฐเพนซิลเวเนีย
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
อาณาจักร: พืช
เคลด: พืชมีท่อลำเลียง
เคลด: พืชดอก
เคลด: พืชใบเลี้ยงเดี่ยว
อันดับ: หน่อไม้ฝรั่ง
วงศ์: วงศ์ว่านแม่ยับ
สกุล: Iris
(L.) Goldblatt & Mabb.
สปีชีส์: Iris domestica
ชื่อทวินาม
Iris domestica
(L.) Goldblatt & Mabb.
ชื่อพ้อง
  • Belamcanda chinensis (L.) DC.
  • Belamcanda chinensis var. curtata Makino
  • Belamcanda chinensis f. flava Makino
  • Belamcanda chinensis var. taiwanensis S.S.Ying
  • Belamcanda chinensis f. vulgaris Makino
  • Belamcanda flabellata Grey
  • Belamcanda pampaninii H.Lév.
  • Belamcanda punctata Moench [Illegitimate]
  • Bermudiana guttata Stokes
  • Epidendrum domesticum L.
  • Ferraria crocea Salisb.
  • Gemmingia chinensis (L.) Kuntze
  • Gemmingia chinensis f. aureoflora Makino
  • Gemmingia chinensis f. rubriflora Makino
  • Ixia chinensis L.
  • Ixia ensifolia Noronha
  • Moraea chinensis (L.) Thunb.
  • Moraea chinensis (L.) Collander in Thunb.
  • Moraea guttata Stokes
  • Pardanthus chinensis (L.) Ker Gawl.
  • Pardanthus nepalensis Sweet
  • Pardanthus sinensis Van Houtte
  • Vanilla domestica (L.) Druce [1]

ว่านหางช้าง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Iris domestica) เป็นพืชล้มลุกอายุหลายปีในวงศ์ [2] มีลำต้นใต้ดินและรากมาก ใบเดี่ยว ออกหนาแน่นที่โคนต้น ใบส่วนบนมักมีขนาดเล็ก แผ่นใบรูปดาบ โคนเป็นกาบ ดอกออกเป็นช่อ ดอกด้านนอกสีเหลือง ขอบกลีบและด้านในสีส้ม มีประสีแดงเข้ม ผลมีสามพู เปลือกบาง แก่แล้วแตกเป็นสามซีก เมล็ดสีดำ ผิวเป็นมัน

เป็นไม้ประดับ ใช้เป็นยาขับลม ขับเสมหะ ใบใช้ต้มเป็นยาระบาย แก้ระดูพิการ ใบ ดอก ต้น และราก มีฤทธิ์แก้คุณไสย พืชที่ใกล้เคียงกับว่านหางช้างคือว่านดาบนารายณ์ โดยว่านหางช้างมีดอกและใบเล็กกว่า และว่านดาบนารายณ์ไม่มีฤทธิ์เป็นยา [3]

ชื่อพ้อง[แก้]

ชื่อพ้องของว่านหางช้าง ได้แก่ Epidendrum domesticum L., Vanilla domestica (L.) Druce, Belamcanda punctata Moench, Gemmingia chinensis (L.) Kuntze, Ixia chinensis L., Morea chinensis, and Pardanthus chinensis Ker Gawl.)

การกระจาย[แก้]

พืชชนิดนี้เป็นพืชถิ่นในเอเชียตะวันออกและมีการนำไปปลูกในพื้นที่กึ่งเขตร้อนและบริเวณที่มีภูมิอากาศแบบอบอุ่นทั่วโลก[2][4]

การใช้งาน[แก้]

ว่านหางช้างเป็นพืชประดับทั่วไปที่ใช้ในสวนส่วนบุคคลและสาธารณะ สวนสัตว์ และที่จัดแสดงดอกไม้[2] ดอกของมันให้น้ำหวานและเกสรแก่แมลงและนก[2] และมีการนำพืชชนิดนี้ในแพทย์แผนโบราณ[2]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Iris domestica (L.) Goldblatt & Mabb. is an accepted name". theplantlist.org (The Plant List). 23 March 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-01-25. สืบค้นเมื่อ 17 December 2014.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 "Iris domestica (blackberry lily)". CABI. 22 November 2019. สืบค้นเมื่อ 17 December 2021.
  3. ชยันต์ พิเชียรสุนทร ศุภชัย ติยวรนันท์ และ วิเชียร จีรวงศ์. คู่มือเภสัชกรรมแผนไทยเล่ม 6 เภสัชกรรม. กทม. อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง. 2555.หน้า 331 – 332
  4. "Iris domestica". Plants of the World Online, Kew Royal Botanic Gardens. 2017. สืบค้นเมื่อ 17 December 2021.

บรรณานุกรม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]