วีสเตียเรีย

บทความนี้เป็นบทความแปลของพนักงานดีแทคในความร่วมมือกับวิกิพีเดีย คลิกเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

วีสเตียเรีย
ช่อดอกของ Wisteria sinensis
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Rosids
อันดับ: Fabales
วงศ์: Fabaceae
วงศ์ย่อย: Faboideae
ไม่ได้จัดลำดับ: Inverted repeat-lacking clade
เผ่า: Millettieae
สกุล: Wisteria
Nutt.
สปีชีส์
ดูในบทความ
ชื่อพ้อง
  • Diplonyx Raf.
  • Kraunhia Raf.
  • Phaseoloides Duhamel
  • Rehsonia Stritch
ภาพวาดสายพันธุ์ Wisteria brachybotrys

วิสเทียเรีย/วีสเตียเรีย (อังกฤษ: Wisteria, Wistaria หรือ Wysteria) เป็นพืชในสกุลไม้ดอก ในพืชวงศ์ถั่ว, พืชที่มีฝัก ซึ่งเป็นหนึ่งในสิบ ของสายพันธุ์ไม้เถาวัลย์ มีต้นกำเนิดในจีน, ญี่ปุ่น, เกาหลี, และฝั่งตะวันออกของสหรัฐอเมริกา บางสายพันธุ์นิยมปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในจีนและญี่ปุ่น แต่สำหรับไม้น้ำที่มีชื่อว่า 'water wisteria' ที่จริงแล้วคือพืช Hygrophila difformis ในวงศ์ Acanthaceae

การจัดกลุ่ม[แก้]

นักพฤกษศาสตร์ Thomas Nuttall ตั้งชื่อสกุล Wisteria เพื่อระลึกถึงนายแพทย์ Caspar Wistar (ค.ศ. 1761–1818)[1][2] มีข้อสงสัยในภายหลังในการสะกด Nuttall กล่าวว่าการตั้งชื่อ Wisteria จะได้ฟัง "ไพเราะ"กว่า แต่ผู้เขียนชีวประวัติของเขาให้ข้อสังเกตว่า อาจมาจาก เพื่อนของ Nuttall ที่ชื่อว่า Charles Jones Wister, Sr. ซึ่งเป็นหลานชายของ John Wister ผู้สร้างอาคาร กมเบทอร์ป Grumblethorpe ในเมืองเยอรมันในฟิลาเดลเฟีย Germantown, Philadelphia (ซึ่งเป็นแหล่งโบราณสถานแห่งชาติของสหรัฐฯ)[3] โดยหลักฐานของทางการเมืองฟิลาเดลเฟียบางส่วนระบุว่าพืชชนิดนี้มีการตั้งชื่อจากชื่อสกุล Wister[4][5] การสะกดดังกล่าวได้รับการพิจารณาอย่างรอบคอบแล้ว จึงไม่มีตัดสินการเปลี่ยนแปลงชื่อสกุลจากสถาบัน International Code of Botanical Nomenclature แต่อย่างใด[6] อย่างไรก็ตามพืชชนิดนี้ก็มีชื่อว่า "Wistaria" ด้วย[7][8]

การจำแนกประเภทแสดงให้เห็นว่า Callerya , Afgekia และ Wisteria ต่างเป็นสายพันธุ์ที่ใกล้ชิดกันที่สุดแต่ก็ค่อนข้างแตกต่างกันกับสมาชิกในเผ่า Millettieae ซึ่ง Callerya , Afgekia และ Wisteria มีแปดโครโมโซม[9][10]

สปีชีส์[แก้]

รายละเอียด[แก้]

เถาของวีสเตียเรีย จะเลื้อยโดยใช้กิ่งก้านพันเกี่ยวเวียนไปรอบหลักยึด โดยวีสเตียเรียญี่ปุ่นจะเวียนเป็นวงตามเข็มนาฬิกาเมื่อมองจากด้านบน และวีสเตียเรียจีนจะเวียนเป็นวงทวนเข็มนาฬิกา ซึ่งสามารถใช้เป็นตัวแบ่งแยกสายพันธุ์ทั้งสอง วีสเตียเรียสามารถเลื้อยได้สูงถึง 20 เมตรจากพื้นและแผ่ขยายทางด้านข้างได้ถึง 10 เมตร เถาวีสเตียเรีย ที่ใหญ่ที่สุดและเป็นที่รู้จักกันคือ วีสเตียเรียในเมืองเซียร์รามาเดร Sierra Madre แคลิฟอร์เนีย ซึ่งวัดขนาดได้มากกว่า 1 เอเคอร์ (0.40 เฮกเตอร์) มีน้ำหนักมากกว่า 250 ตัน โดยปลูกเมื่อปี ค.ศ. 1894 เป็นชนิดวีสเตียเรียจีนที่มีสีม่วงอ่อน[14]

เส้นใบทแยง ยาว 15-35 ซม. คล้ายขนนก ใน 1 ก้านจะมีใบย่อยประกอบ 9-19 ใบ ดอกเป็นพุ่ม ช่อดอกยาว 10-80 ซม.ซึ่งคล้ายกับพืช วงศ์ Laburnum หรือวงศ์ราชพฤกษ์ แต่จะมีสีม่วง สีม่วงเข้ม สีชมพูหรือสีขาว และไม่มีสีเหลืองบนใบ ออกดอกในฤดูใบไม้ผลิ (อาจจะก่อนหรือพร้อมกับใบไม้อื่น ๆ เริ่มผลิใบ) ในบางสายพันธุ์เอเชีย และออกดอกกลางหรือปลายฤดูร้อนในสายพันธุ์อเมริกาและสายพันธุ์ W. japonica วีสเทเรียเป็นไม้ที่กลีบดอกบอบบาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งวีสเตียเรียจีน เมล็ดของวีสเตียเรียเป็นฝักคล้ายกับต้นคูณ (ราชพฤกษ์) Laburnum และเมล็ดในวงศ์นี้เป็นเมล็ดที่มีพิษ

วีสเตียเรียเป็นพืชที่เพาะพันธุ์ง่ายมากจึงจัดอยู่ในสายพันธุ์ผู้รุกรานในพื้นที่ต่าง ๆ ใน สหรัฐอเมริกาโดยเฉพาะอย่างยิ่งทางตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งปลูกแทนที่พืชสายพันธุ์พื้นถิ่น

วีสเตียเรียมักจะเป็นอาหารของตัวอ่อน (หนอน) ของผีเสื้อกลางวัน และผีเสื้อราตรี Brown-tail

การปลูก[แก้]

วิสเตียเรีย ที่สวนไนมานส์ (Nymans)
เวสต์ซัสเซกซ์ อังกฤษ

วีสเตียเรีย โดยเฉพาะพันธุ์ Wisteria sinensis เป็นพันธุ์ที่ทนทานและโตเร็วมาก สามารถปลูกได้บนดินที่ธาตุอาหารค่อนข้างต่ำ แต่ยังต้องการปุ๋ย ความชื้นและ ดินที่ระบายน้ำได้ดี เจริญเติบโตได้ดีในที่ที่มีแดดตลอดทั้งวัน วีสเตียเรีย สามารถขยายพันธุ์ได้ทั้งการตอนกิ่งแข็ง การตอนกิ่งอ่อน หรือเพาะเมล็ด อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการเพาะเมล็ดจะใช้เวลานานถึง 10 ปีกว่าจะออกดอก จึงทำให้ นักจัดสวน มักจะตอนรากหรือ ต่อกิ่งพันธุ์พืช เพื่อให้ออกดอกได้ดี[15] ปัญหาหนึ่งของการออกดอกคือการได้รับปุ๋ยที่มากเกินไป (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ไนโตรเจน) วีสเตียเรีย มีประสิทธิภาพในการหาไนโตรเจนได้เอง (ได้รับจากแบคทีเรียไรโซเบียมในปมราก) ดังนั้นวีสเตียเตียเรียจึงต้องการสารอาหารเพิ่มเติมจากโปแตสเซียมและฟอสฟอรัส แต่ไม่ต้องการไนโตรเจน วีสเตียเรีย ที่ไม่ยอมออกดอกนั้นเพราะว่าการเจริญเติบโตไม่สมบูรณ์ วีสเตียเรียสามารถเจริญเติบโตเต็มที่โดยใช้เวลาไม่กี่ปีสำหรับ สำหรับพันธุ์ วีสเตียเรีย เคนทักกี หรือ เกือบ 20 ปีสำหรับพันธุ์ วีสเตียเรียจีน วีสเตียเรียสามารถบังคับให้เติบโตเต็มที่ได้โดยการตัดลำต้นหลัก การตัดแต่งราก หรือการให้ต้นอดน้ำ

วีสเตียเรีย ขึ้นได้เองบนพื้นดินโดยไม่ต้องการการดูแล แต่จะเติบโตได้ดีที่สุดหากได้ไต่ไปบนต้นไม้ ซุ้มไม้เลื้อย กำแพง หรือโครงสร้างอื่น ๆ แต่อย่างไรก็ตาม โครงที่รองรับวีสเตียเรียควรจะมั่นคงมากเพราะเมื่อวีสเตียเรียเติบโตจะมีลำต้น และกิ่งก้าน ที่แข็งแรงและแผ่ขยายใหญ่มาก ดังนั้นมันสามารถเลื้อยทะลุไม้ระแนง เบียดเสาไม้บาง ๆ และสามารถคลุมต้นไม้ใหญ่ได้ วีสเตียเรียที่ขึ้นบนตัวบ้านสามารถทำความเสียหายกับรางน้ำ รางน้ำทิ้ง และโครงสร้างอื่น ๆ แต่จะดูสวยมากหากช่อดอกห้อยลงมา

วีสเตียเรีย ออกดอกจากตาใกล้กับตาเดิมที่เคยออกในปีที่แล้ว เพราะฉะนั้นการแต่งกิ่ง เพื่อให้เหลือตาเดิมบ้าง ควรจะเริ่มทำเมื่อใกล้เข้าถึงฤดูใบไม้ผลิเพื่อทำให้ออกดอกได้ดีขึ้น หากต้องการควบคุมขนาดของต้นวีสเตียเรีย ควรจะตัดกิ่งด้านข้างให้สั้นลงเหลือประมาณ 20 ถึง 40 ซม. ในช่วงกลางฤดูร้อน และตัดเหลือ 10 ถึง 20 ซม.ในฤดูใบไม้ร่วง สำหรับต้นวีสเตียเรียที่มีอายุหลายปีแล้ว สามารถออกดอกชุกเป็นกลุ่มได้ โดยการตัดแต่งยอดไม้เลื้อยที่งอกใหม่ สามครั้งในระหว่างฤดูกาลที่ต้นเจริญเติบโต ในเดือนมิถุนายน กรกฎาคม และเดือนสิงหาคม ในซีกโลกเหนือ ดอกในบางสายพันธุ์สามารถรับประทานได้ และบางชนิดสามารถนำมาหมักไวน์ได้ สายพันธุ์อื่นนอกจากนั้นมีพิษ[16] ดังนั้นการรับประทานควรจะได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ เช่นเดียวกับพืชป่าอื่น ๆ

ในวัฒนธรรม[แก้]

สาววีสเตียเรีย (ญี่ปุ่น: 藤娘, Fuji Musume; Wisteria Maiden) เป็นหัวเรื่องในภาพวาดท้องถิ่นในเมืองโอตสึ ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเชื่อกันว่า ได้แรงบันดาลใจมาจากการฟ้อนรำยอดนิยมบางประเภท ภาพวาดเหล่านี้มักขายเป็นเครื่องรางในงานวิวาห์ นอกจากนี้ สาววีสเตียเรียยังเป็นชื่อการฟ้อนรำแบบโบราณประเภทหนึ่งในจำพวกคะบุกิด้วย[17]

ส่วนในนิยายเรื่อง เดอะบีนทรีส์ (The Bean Trees) ของบาร์บารา คิงโซฟเวอร์ (Barbara Kingsolver) เจ้าเต่าเรียกเถาวีสเตียเรียว่า ต้นถั่ว เพราะดอกวีสเตียเรียที่ยังไม่ผลิบานนั้นรูปคล้ายถั่ว แต่เจ้าเต่ากับ เทย์เลอร์ ตัวเอกของเรื่อง มารู้ทีหลังว่าวีสเตียเรียอยู่ในวงศ์ถั่ว และวีสเตียเรียกับสายพันธุ์อื่นในวงศ์ถั่ว มีความสัมพันธ์กันในเชิงสัญลักษณ์เช่นเดียวกับที่ตัวละครทั้งหลายมี


การเบ่งบานของดอกวิสเตียเรียหรือ (藤, ฟูจิ) จำนวนมากที่ สวนดอกไม้อาชิคางะ ในเมือง อาชิคางะ จังหวัดโทจิงิ ญี่ปุ่น จากต้นวีสเตียเรียที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ ซึ่งปลูกตั้งแต่ปี ค.ศ. 1870 และในปี 2008 ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 1,990 ตารางเมตร (1/2 เอเคอร์)

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Nuttall, Thomas (1818). The Genera of North American Plants and a Catalogue of the Species, to the Year 1817. Vol. I. D. Heartt. p. 115. สืบค้นเมื่อ 2011-05-15.
  2. "Wisteria". Ohio State University. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-12. สืบค้นเมื่อ 2 June 2009.
  3. Graustein, Jeannette E. (1967). Thomas Nuttall, Naturalist: Explorations in America, 1808–1841. Harvard University Press. p. 123. OCLC 678906703.
  4. John L. Cotter; Daniel Roberts; Michael Parrington (29 December 1992). The Buried Past: An Archaeological History of Philadelphia (1st ed.). Philadelphia: University of Pennsylvania Press. p. 339. ISBN 978-0812231427.
  5. Edwin C. Jellett (1904). "Germantown Old and New: Its Rare and Notable Plants". Vol. 22. Germantown, PA: Germantown Independent Gazette. p. 83. OCLC 848577094.
  6. Charters, Michael L. "Page W". California Plant Names: Latin and Greek Meanings and Derivations. สืบค้นเมื่อ 2011-05-15.
  7. Bryson, Bill (2003). "Ch. 6 — Science Red in Tooth and Claw". A Short History of Nearly Everything (1st ed.). New York, NY: Broadway Books. ISBN 0-375-43200-0.
  8. Dixon, Richard; Howard, Philip (June 5, 2009). "Wisteria? Wistaria? Let's call the whole thing off". The Times. London. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-05-29. สืบค้นเมื่อ 2011-05-16.{{cite news}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  9. Hu, Jer-Ming; Lavin, Matt; และคณะ (2000). "Phylogenetic systematics of the tribe Millettieae (Leguminosae) based on chloroplast trnK/matK sequences and its implications for evolutionary patterns in Papilionoideae". American Journal of Botany. 87 (3): 418–30. doi:10.2307/2656638. PMID 10719003.[ลิงก์เสีย]
  10. Li, Jianhua; Jiang, Jin‐Huo; และคณะ (2014). "Molecular systematics and biogeography of Wisteria inferred from nucleotide sequences of nuclear and plastid genes" (PDF). Journal of Systematics and Evolution. 52 (1): 40–50.
  11. "Wisteria macrostachya". Tropicos. Missouri Botanical Garden. สืบค้นเมื่อ 22 February 2016.
  12. "Wisteria venusta Rehder & E.H. Wilson". Tropicos. Missouri Botanical Garden. สืบค้นเมื่อ 19 August 2018.
  13. Wei, Zhi; Pedley, Les. "Wisteria venusta". Flora of China. สืบค้นเมื่อ 22 February 2016 – โดยทาง eFloras.org. Missouri Botanical Garden, Harvard University Herbaria.
  14. R. Daniel Foster (16 March 2018). "Your once-a-year shot to see a freakishly large wisteria vine". Los Angelis Times.
  15. Maureen Gilmer (8 April 2006). "Wisteria has a long and tangled history". Tribune News Service – โดยทาง The Orange County Register.
  16. "Canadian Poisonous Plants Information System, Wisteria floribunda". Canadian Biodiversity Information Facility. 2014-04-15.
  17. ""Fuji Musumè" ( 藤娘 ) or "Wisteria Maiden" shown in flight". Zen Garden. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-03-18. สืบค้นเมื่อ 2018-01-08.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]