วิหารหลวงพ่อโต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วิหารหลวงพ่อโต
วิหารหลวงพ่อโต
ชื่อสามัญวิหารหลวงพ่อโต
ที่ตั้งถนนมิตรภาพ ตำบลมิตรภาพ อำเภอสีคิ้ว นครราชสีมา 30140
ประเภทมูลนิธิ
จุดสนใจวิหารหลวงพ่อโตขนาดใหญ่ที่สามารถสังเกตได้แต่ไกล ภายในยังประดิษฐานหลวงพ่อโตองค์ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่ง
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

มูลนิธิสมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี เมตตาบารมี[1][2] หรือที่รู้จักในชื่อ มหาวิหารสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) หรือ วิหารหลวงพ่อโต หรือ วัดหลวงพ่อโต เป็นที่ประดิษฐานองค์สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ตั้งอยู่ในเขตบ้านโนนกุ่ม บริเวณริมถนนมิตรภาพ ตำบลมิตรภาพ อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา ห่างจากตัวเมืองนครราชสีมาประมาณ 42 กิโลเมตร เป็นที่ประดิษฐานรูปหล่อทองเหลืองสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) (หลวงพ่อโต) ขนาดใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย โดยมีสรพงษ์ ชาตรี ดาราภาพยนตร์ชื่อดังเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง บริเวณโดยรอบตกแต่งเป็นสวนไม้ดอกไม้ แต่เดิมมูลนิธิมีพื้นที่ 3 ไร่ ภายหลังด้วยแรงศรัทธาจากประชาชนที่ช่วยกันบริจาคเงินเข้ามา ทำให้เนื้อที่ของมูลนิธิขยายไปถึง 150 ไร่ บ้างเรียกมูลนิธินี้ว่า วัดสรพงษ์ เพราะเป็นผู้ริเริ่มสร้าง[3]

สถานที่แห่งนี้มักถูกเข้าใจผิดว่าคือ วัดโนนกุ่ม หรือ วัดบ้านโนนกุ่ม เนื่องจากมูลนิธิฯ ตั้งอยู่ในเขตบ้านโนนกุ่ม และมีที่ดินติดกับเขตวัดโนนกุ่มซึ่งเป็นวัดประจำหมู่บ้าน

อาคารและรูปปั้นหลวงพ่อโต[แก้]

มหาวิหารเป็นแบบกุฎาคาร (เรือนยอดเจดีย์เพื่อประดิษฐานพระพุทธรูป)[4]

รูปหล่อหลวงพ่อโตประกอบพิธีเททองหล่อส่วนเท้าตั้งแต่สะเอวลงมา ที่วัดเกตุไชยโยวรวิหาร จังหวัดอ่างทอง รวม 3 ส่วน 127 ชิ้น แล้วนำส่วนนั้นๆ มาประกอบเป็นรูปหล่อ แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2543 รูปหล่อหน้าตักกว้าง 8 เมตร 1 นิ้ว สูง 13 เมตร หนัก 61 ตันค่าก่อสร้าง 9 ล้านบาทเศษ[5]

อ้างอิง[แก้]

  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-04-11. สืบค้นเมื่อ 2018-02-18.
  2. https://www.facebook.com/%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B8%A5%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%88%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%92%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A2%E0%B9%8C-%E0%B9%82%E0%B8%95-%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B5-%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%95%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%B5-1651445195091105/
  3. "วิหารหลวงปู่โต".
  4. "ย้อนทำความรู้จัก "วัดสรพงศ์" ในวันที่ "พระเอกดาวค้างฟ้า" จากไปตลอดกาล". เนชั่นทีวี.
  5. "พาเที่ยว "วัดสรพงศ์" อ.สีคิ้ว รำลึกถึงพระเอกตลอดกาล "สรพงศ์ ชาตรี"". คมชัดลึก.