วิมุตติมรรค

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

วิมุตติมรรค (บาลี: Vimuttimagga, วิมุตฺติมคฺค) เป็นหนังสือที่เผยแพร่ในภาษาอังกฤษ ชื่อ ‘The Path of Freedom’[1] ด้วยการแปลมาจากภาษาจีน ซึ่งนักภาษาและวรรณคดี เชื่อว่า เป็นตำราคำสอนของศาสนาพุทธนิกายเถรวาท เทียบเท่ากับตำราวิสุทธิมรรค ของท่านพุทธโฆษาจารย์ เพราะมีลักษณะแห่งการแสดงศัพท์ ด้วยลำดับขั้นตอนที่คล้ายคลึงกัน และสันนิษฐานว่า หนังสือวิมุตติมรรค[2] เป็นตำราหนึ่งที่พระพุทธโฆษาจารย์ได้ศึกษาแล้ว ก่อนที่จะได้แสดงคำสอนในวิสุทธิมรรคไว้เป็นแบบ

เนื้อหา[แก้]

  • บทที่ 1 นิทานกถา
  • บทที่ 2 ศีลปริจเฉท
  • บทที่ 3 ธุดงคปริจเฉท
  • บทที่ 4 สมาธิปริจเฉท
  • บทที่ 5 กัลยาณมิตรปริจเฉท
  • บทที่ 6 จริยาปริจเฉท
  • บทที่ 7 กัมมัฏฐานารัมมณปริจเฉท
  • บทที่ 8 กัมมัฏฐานปริจเฉท
  • บทที่ 9 อภิญญาปริจเฉท
  • บทที่ 10 ปัญญาปริจเฉท
  • บทที่ 11 ตอนที่ 1, 2 อุบายปริจเฉท
  • บทที่ 12 ตอนที่ 1, 2 สัจจญาณปริจเฉท

หมายเหตุ* ว่า[3]

วิมุตติมรรคบทที่ ๑,๒ นี้ ก็ไปตรงกับคัมภีร์วิสุทธิมรรคบทที่ ๑ วิมุตติมรรคบทที่ ๓ ว่าด้วยธุดงค์ปริสูตร ตรงกับวิสุทธิมรรคบทที่ ๒ ธุดงค์นิเทศ วิมุตติมรรคบทที่ ๔-๗ ตรงกับบทที่ ๓ ของวิสุทธิมรรค ก็มีการเปรียบเทียบกับวิมุตติมรรคบทที่ ๘ ตรงกับวิสุทธิมรรคบทที่ ๔-๑๑ วิมุตติมรรคบทที่ ๙ อภิญญานิเทศ ก็ตรงกับบทที่ ๑๒-๑๓ ในวิสุทธิมรรค วิมุตติมรรคบทที่ ๑๐-๑๑ ตรงกับวิสุทธิมรรคบทที่ ๑๔-๑๗ แล้วก็วิมุตติมรรคบทสุดท้ายบทที่ ๑๒ ก็ตรงกับวิสุทธิมรรคบทที่ ๑๘ กับบทที่ ๒๓

อ้างอิง[แก้]