วินธัย สุวารี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วินธัย สุวารี
เกิด7 สิงหาคม พ.ศ. 2512 (54 ปี)
วินธัย สุวารี
คู่สมรสอภิรดี ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม[1][2]
(2556-ปัจจุบัน)
คู่ครองปริศนา กล่ำพินิจ[3]
(?-2549; เลิกรา)
ปีที่แสดง2550-ปัจจุบัน
ผลงานเด่นสมเด็จพระเอกาทศรถ จากตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ ไทย
แผนก/สังกัดกองทัพบกไทย
ประจำการพ.ศ. 2536–ปัจจุบัน
ชั้นยศ พลตรี

พลตรี[4] วินธัย สุวารี (ชื่อเล่น: ต๊อด; เกิด: 7 สิงหาคม พ.ศ. 2512[5]) ปัจจุบันดำรงตำแหน่งโฆษกกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ผู้อำนวยการสำนักโฆษก สำนักงานปฏิบัติภารกิจรักษาความมั่นคงภายในกองทัพบก อดีตโฆษกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และอดีตโฆษกกองทัพบก และอดีตนักแสดงชาวไทย ที่มีผลงานแสดงเด่นในการรับบทเป็น สมเด็จพระเอกาทศรถ จากภาพยนตร์เรื่อง ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

ประวัติ[แก้]

พลตรี วินธัย สุวารี เป็นบุตรคนกลางจากทั้งหมดสามคนของพลตำรวจโท วันชัย สุวารี อดีตนักกีฬาฟุตบอลทีมชาติไทย กับเตือนใจ สุวารี มีพี่สาวชื่อวาศินี วัฒนสุวรรณ ผู้ถือหุ้นรายใหญ่อันดับที่38 บริษัท ซันไทยอุตสาหกรรมถุงมือยาง จำกัด (มหาชน) และน้องชายชื่อนาวาอากาศเอก[6] วุฒิกร สุวารี เสนาธิการศูนย์การทหารอากาศโยธิน หน่วยบัญชาการอากาศโยธิน กองทัพอากาศ ผู้ช่วยโฆษกกองทัพอากาศ[5] สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษาที่โรงเรียนอักษรเจริญ ระดับมัธยมศึกษาที่วชิราวุธวิทยาลัย และโรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 30 ระดับปริญญาตรี วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 41 และระดับปริญญาโท รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารทั่วไป มหาวิทยาลัยบูรพา วินธัย เข้าสู่วงการแสดง ด้วยการคัดเลือกจากหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล เพื่อที่จะคัดเลือกตัวนักแสดงเป็น สมเด็จพระเอกาทศรถ เพื่อแสดงนำในภาพยนตร์เรื่อง ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ต้องการนักแสดงที่เป็นนายทหารจริง ๆ เช่นเดียวกับบทสมเด็จพระนเรศวรมหาราช จากนั้นจึงได้เรียนการแสดงเป็นระยะเวลา 9 เดือน[5]

ในปี พ.ศ. 2557 กองทัพบกมีการประกาศกฏอัยการศึก พันเอก วินธัย สุวารี (ยศในขณะนั้น) เป็นผู้อ่านประกาศและคำสั่ง กอ.รส. เผยแพร่ทางโทรทัศน์ และเมื่อพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา รัฐประหารในนาม คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) พันเอก วินธัย ก็เป็นผู้อ่านประกาศและคำสั่งของ คสช. ด้วย

พลตรี วินธัย สุวารี มีชื่อที่เรียกกันจนติดปากว่า "ผู้พันต๊อด" และยังเป็นนักร้องนำของวงดนตรีของกองทัพอีกด้วย

ชีวิตส่วนตัว[แก้]

พลตรี วินธัยมีความใฝ่ฝันที่อยากเป็นข้าราชการมาตั้งแต่เด็ก โดยมีบิดาซึ่งเป็นตำรวจเป็นแรงบันดาลใจ แต่บิดามีความรู้สึกชอบทหารมากกว่าจึงแนะนำให้วินธัยเป็นทหาร[5] วินธัยอธิบายชื่อจริงว่าบิดาเป็นผู้ตั้งให้ โดยเป็นชื่อภูเขาลูกหนึ่งในอินเดีย ส่วนชื่อเล่นว่า "ต๊อด" นั้น เป็นเสียงเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์สมัยก่อนที่เมื่อเคาะแล้วจะมีเสียงดังกล่าว[5]

พลตรี วินธัย เคยคบหากับปริศนา กล่ำพินิจ อดีตนักแสดง แต่ภายหลังได้เลิกรากันไป[3] ปัจจุบัน พันเอก วินธัยได้จดทะเบียนสมรสกับอภิรดี ภวภูตานนท์ ซึ่งเป็นนักแสดงเช่นกัน เมื่อปี พ.ศ. 2556[1][2]

นอกจากนี้แล้ว ยังเป็นนักกีฬาเจ็ตสกีด้วย โดยเข้าร่วมแข่งขันในนามทีมชาติไทยในรายการเจ็ตสกีโลก 2015 ที่สหรัฐอเมริกา[7][ต้องการแหล่งอ้างอิงดีกว่านี้]

การงาน[แก้]

ประวัติตำแหน่งและการทำงาน

  • พ.ศ. 2537-2538  : รองผู้บังคับตอน เรดาร์ ศปภอ.ทบ.2
  • พ.ศ. 2538-2539  : ผู้บังคับหมวดกองร้อยทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน

กองพันทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่ 1 รักษาพระองค์

  • พ.ศ. 2539-2540  : รองผู้บังคับกองร้อยทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน

กองพันทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่ 1 รักษาพระองค์

  • พ.ศ. 2540-2542  : ช่วยราชการตำแหน่ง นายทหารคนสนิทรองผู้บัญชาการทหารบก
  • พ.ศ. 2542-2544  : ช่วยราชการตำแหน่ง นายทหารคนสนิทผู้บัญชาการทหารสูงสุด
  • พ.ศ. 2544-2545  : หัวหน้าศูนย์ต่อสู้ป้องกันภัยทางอากาศ

กองพันทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่ 1 รักษาพระองค์

  • พ.ศ. 2545-2546  : ประจำโรงเรียนเสนาธิการทหารบก
  • พ.ศ. 2546-2547  : นายทหารยุทธการกรมทหารปืนใหญ่ที่ 9
  • พ.ศ. 2547-2548  : ประจำกองกิจการพลเรือนกองทัพภาคที่ 1
  • พ.ศ. 2548-2554 : ผู้ช่วยอำนวยการกองข่าว กองทัพน้อยที่ 1
  • พ.ศ. 2554-3 ตุลาคม พ.ศ. 2557 : รองโฆษกกองทัพบก
  • พ.ศ. 2557 : โฆษกกองอำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย และคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
  • 3 ตุลาคม พ.ศ. 2557- 1 ตุลาคม 2563 : โฆษกกองทัพบก สำนักงานปฏิบัติภารกิจรักษาความมั่นคงภายใน กองทัพบก
  • 1 เมษายน พ.ศ. 2566 : ผู้อำนวยการสำนักโฆษก สำนักงานปฏิบัติภารกิจรักษาความมั่นคงภายในกองทัพบก[8]

ผลงาน[แก้]

ละครโทรทัศน์[แก้]

ปี พ.ศ. เรื่อง ออกอากาศ รับบทเป็น หมายเหตุ
2558 น้องใหม่ร้ายบริสุทธิ์​ ช่อง 3 เอชดี น้าพล แสดงรับเชิญ
ช่อง

ผลงานละครชุด[แก้]

ปี พ.ศ. เรื่อง ออกอากาศ บทบาท หมายเหตุ
2562 บ้านของเรา
ลูกผู้ชายหัวใจทองคำ
ช่อง 5 ร้อยเอก เผด็จ เหรียญกล้า (พ่อสันติ) คู่กับ ปัทมา ปานทอง
25 ช่อง 7

ซิทคอม[แก้]

ปี พ.ศ. เรื่อง ออกอากาศ บทบาท หมายเหตุ
25 ช่อง 7 แสดงรับเชิญ
25 ช่องวัน 31 แสดงรับเชิญ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "จดแล้ว "แก้ว อภิรดี" นอนกอดทะเบียนสมรส "ผู้พันต๊อด"" (Press release). มติชน. 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556. สืบค้นเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2556. {{cite press release}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  2. 2.0 2.1 "แก้ว อภิรดี ยอมรับ จดทะเบียนสมรสกับ ผู้พันต๊อด". กระปุกดอตคอม. สืบค้นเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2556. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. 3.0 3.1 "คนบันเทิงตุงนัง! "แก้ว" หย่า "อ๊อด" แย่ง "ต๊อด" จาก "ปู"" (Press release). ASTVผู้จัดการออนไลน์. 10 สิงหาคม 2549. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-08-21. สืบค้นเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2556. {{cite press release}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหารชั้นนายพล
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 "'ไม่เคยฝันเป็นอย่างอื่นนอกจากทหาร...' เปิดใจ 'ผู้พันต๊อด' รองโฆษก คสช. สุดฮอต". ข่าวสด. 30 พฤษภาคม 2014. สืบค้นเมื่อ 2 มิถุนายน 2014.
  6. https://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2558/B/021/1.PDF
  7. "@tnnthailand ผู้พันต๊อด 'พ.อ.วินธัย' ร่วมทัพทีมไทยลุยศึกเจ็ตสกีโลก 2015 ที่สหรัฐอเมริกา 3-11 ตุลาคมนี้". เฟซบุก. 11 กันยายน 2558. สืบค้นเมื่อ 12 กันยายน 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ (หน้า 11)
  9. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๖, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๔ ข หน้า ๓๔, ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ หน้า ๑๐๑, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๑๘ ข หน้า ๒๘, ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๔๐
  12. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา ประจำปี ๒๕๖๕, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๓ ข หน้า ๑๗, ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๖

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ก่อนหน้า วินธัย สุวารี ถัดไป
พลตรี สรรเสริญ แก้วกำเนิด
โฆษกกองทัพบก
(3 ตุลาคม พ.ศ. 2557 - ปัจจุบัน)
อยู่ในตำแหน่ง