มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก วิทยาเขตหนองคาย)
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
วิทยาเขตหนองคาย
ชื่อย่อมข.วนค. / KKU NKC
ประเภทวิทยาเขตของมหาวิทยาลัยขอนแก่น
สถาปนา25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541 (26 ปี)
อธิการบดีชาญชัย พานทองวิริยะกุล
นายกสภามหาวิทยาลัยณรงค์ชัย อัครเศรณี
ที่ตั้ง
สี███ สีเปลือกไม้
เว็บไซต์www.nkc.kku.ac.th
ไฟล์:Nkc 86011713544421.jpg

มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย เป็นวิทยาเขตหนึ่งของมหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยตั้งอยู่ที่จังหวัดหนองคาย เดิมชื่อ วิทยาลัยสหวิทยาการขอนแก่น ศูนย์การศึกษาทางไกลจังหวัดหนองคาย ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2538 เปิดรับนักศึกษาครั้งแรก พ.ศ. 2541 และมีการเรียนการสอน 1 คณะวิชา นับได้ว่าเป็นศูนย์กลางการศึกษาของรัฐในภูมิภาคอีสานตอนบน มีสีประจำคือสีเปลือกไม้ ต้นไม้ประจำวิทยาเขตหนองคายคือต้นชิงชัน[1]

ประวัติ[แก้]

วิทยาเขตหนองคาย จัดตั้งขึ้นตามนโยบายกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาคของรัฐบาล และเป็นโครงการที่ได้รับการบรรจุไว้ในแผนพัฒนามหาวิทยาลัยขอนแก่นระยะที่ 8 (พ.ศ. 2540-2544) ในปี พ.ศ. 2539 มีการเริ่มดำเนินการก่อสร้างอาคารเรียน เพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอน โดยมีจุดมุ่งหมายหลักเพื่อผลิตบัณฑิตที่ปรเกอบด้วยความรู้ความสามารถมีประสบการณ์ทางด้านวิชาการและวิชาชีพชั้นสูงเทียบเท่ามาตรฐานระดับสากล มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ เป็นบัณฑิตที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ สามารถประยุกต์ทฤษฎีวิชาการไปใช้ในชีวิตประจำวันและเป็นบุคคลผู้ใฝ่เรียนรู้ตลอดชีพ มุ่งพัฒนาคุณภาพบัณฑิต ผลิตงานวิจัยสามารถให้บริการวิชาการแก่ชุมชนได้ พร้อมเป็นขุมปัญญาใหม่ของภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และเป็นประตูแห่งการขยาย สหวิทยาการไปสู่อนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง และมีการจัดการศึกษาวิชาชีพชั้นสูง ศึกษาค้นคว้าวิจัย ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การประสานศาสตร์หลากหลายวิชาทั้งวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคมศาสตร์ เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ

ในปี 2544 มีคำสั่งมหาวิทยาลัยขอนแก่น ลงวันที่ 10 ตุลาคม 2554 ที่ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการปรับปรุงโครงสร้างและระเบียบการบริหารงานของวิทยาเขตหนองคาย โดยคณะทำงานได้มีการประชุมปรึกษาหารือรวมทั้งการรวบรวมข้อมูลจากสายวิชาต่าง ๆ และความคิดเห็นจากบุคลากรวิทยาเขตหนองคายในทุกภาคส่วน เกี่ยวกับการปรับปรุงโครงสร้างการบริหารงานของวิทยาเขตหนองคาย เพื่อรองรับการขยายตัวในอนาคต จนในที่สุดสภามหาวิทยาลัยขอนแก่นได้เห็นชอบในการที่จะปรับปรุงโครงสร้างการบริหารงานของวิทยาเขตหนองคาย เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2554 และเมื่อคราวประชุมสภามหาวิทยาลัย ครั้งที่ 6/2555 เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2555 ได้มีมติเห็นชอบในการจัดตั้งคณะวิชาตามโครงสร้างใหม่ของวิทยาเขตหนองคาย เป็น 4 คณะวิชา ประกอบด้วย คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์และวิศวกรรมศาสตร์, คณะบริหารธุรกิจ, คณะสังคมศาสตร์บูรณาการ และคณะศิลปศาสตร์ ให้เป็นหน่วยงานหนึ่งของมหาวิทยาลัยขอนแก่น มีสถานะเทียบเท่าคณะต่างๆ ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น เรื่องการจัดตั้งส่วนงานภายใน วิทยาเขตหนองคาย ประกาศ ณ วันที่ 4 กรกฎาคม 2555 [2] มีพันธกิจหลักในการผลิตบัณฑิตที่มีความรอบรู้วิชาการ มีความพร้อมในการทำงาน มีคุณธรรมและจริยธรรม การพัฒนาองค์ความรู้ด้านต่าง ๆ มุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน การให้บริการสังคมทั้งทางวิชาการและวิชาชีพ การส่งเสริมและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่น ตลอดจนค่านิยมอันดีงาม และมีการบริหารจัดการโดยยึดมั่นในหลักธรรมาภิบาล ส่งเสริมและสนับสนุนความรู้รัก สามัคคี และการอุทิศตนเพื่อองค์กร

ต่อมา วันที่ 10 กรกฎาคม 2563 ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ประกาศมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฉบับที่ 635/2563 เรื่อง การจัดตั้งส่วนงานของมหาวิทยาลัยขอนแก่น (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2563[3] ซึ่งลงวันที่ 1 เมษายน 2563 ได้มีการควบรวมส่วนคณะวิชาเดิม 4 คณะและ 1 หน่วยงานของมหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย ได้แก่ สำนักงานวิทยาเขตหนองคาย, คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์และวิศวกรรมศาสตร์, คณะบริหารธุรกิจ, คณะสังคมศาสตร์บูรณาการ และคณะศิลปศาสตร์ เป็นหน่วยงานใหม่ที่มีชื่อว่า คณะสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ส่งผลให้คณะสหวิทยาการกลายเป็นคณะที่มีพื้นที่บริการใหญ่ที่สุดของมหาวิทยาลัยขอนแก่น

คณะ/หน่วยงาน/หน่วยงานในกำกับ[แก้]

คณะวิชา[แก้]

โรงเรียน[แก้]

หน่วยงานในกำกับ[แก้]

ไฟล์:ชมการแสดงโชว์ดำน้ำให้อาหารปลา.jpg
การแสดงโชว์ดำน้ำให้อาหารปลา
พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำจังหวัดหนองคาย เป็นสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำ ที่จัดแสดงพันธุ์ปลาต่างๆ ทั้งปลาน้ำจืดและปลาน้ำเค็ม เป็นหน่วยงานหนึ่งของ วิทยาเขตหนองคาย มหาวิทยาลัยขอนแก่น และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดหนองคาย และเพื่อตอบสนองต่อเป้าประสงค์ในการเป็นศูนย์กลางการศึกษา การวิจัยด้านการประมง การรวบรวมพันธุ์ปลาในลุ่มน้ำโขง
ได้รับความเห็นชอบให้ดำเนินการตามมติ ครม. ครั้งที่ 44/2546 (นัดพิเศษ) เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2546 เพื่อตอบสนองต่อเป้าประสงค์ในการเป็นศูนย์กลางการศึกษา การวิจัยด้านการประมง การรวบรวมพันธุ์ปลาในลุ่มน้ำโขง ตลอดจนการจัดแสดงพันธุ์สัตว์น้ำในมิติของการบูรณาการ และตอบสนองในการเป็นเมืองท่องเที่ยว เริ่มการก่อสร้างเมื่อต้นปี พ.ศ. 2549 และแล้วเสร็จในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 เริ่มทดลองเปิดให้เข้าชมตั้งแต่วันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2552[4] ใช้งบประมาณในการก่อสร้างทั้งสิ้น 179.39 ล้านบาท

ศูนย์[แก้]

การรับเข้าศึกษาต่อ[แก้]

ระดับปริญญาตรี[แก้]

  • สอบคัดเลือกจากระบบกลาง (Admissions) โดยใช้ ผลสอบ O-NET และ GAT - PAT โดยสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
  • สอบคัดเลือกจากวิธีรับตรง รับจากผู้ที่กำลังศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่6 ในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 20 จังหวัด
  • โครงการความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยขอนแก่นกับสำนักคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ตรวจสอบข้อมูลได้ที่ วิทยาลัยอาชีวศึกษาประจำจังหวัด
  • การคัดเลือกโดยวิธีพิเศษ ตามโครงการขยายโอกาสต่างๆ ของวิทยาเขต โดยรับจากผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และผู้สำเร็จชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า โดยใช้ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา ดังโครงการต่อไปนี้
    • โครงการขยายโอกาสทางการศึกษาแก่นักเรียนเขตจังหวัดใกล้เคียง 8 จังหวัด (หนองคาย อุดรธานี หนองบัวลำภู นครพนม สกลนคร มุกดาหาร เลย บึงกาฬ) รับสมัครในเดือนพฤศจิกายน – ธันวาคม ของทุกปี
    • โครงการนักเรียนที่เป็นผู้มีคุณธรรมจริยธรรม และบริการสังคม โดยเปิดรับนักเรียนจากทั่วประเทศ รายละเอียดจะแจ้งให้ทราบเป็นประกาศจากเว็บไซต์ http://www.kku.ac.th แต่ละปีการศึกษาที่มีการเปิดรับสมัคร[5]

ระดับปริญญาโท[แก้]

มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้กำหนดวิธีการรับบุคคลเข้าศึกษาในระดับปริญญาโท

  • การสอบคัดเลือก เป็นการสอบคัดเลือกผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี เพื่อเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาโทในสาขาวิชาต่างๆ ทั้งภาคปกติ และภาคพิเศษ โดยทางมหาวิทยาลัยจะดำเนินการจัดสอบเอง
  • การคัดเลือก เป็นกรคัดเลือกครูประจำการที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี เพื่อเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาโทสาขาวิชาต่างๆ โดยมหาวิทยาลัยจะดำเนินการจัดการเรียนการสอนในภาคฤดูร้อน

ระดับปริญญาเอก[แก้]

มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้กำหนดวิธีการรับบุคคลเข้าศึกษาในระดับปริญญาเอก โดยคัดเลือกผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท เพื่อเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาเอกสาขาวิชาต่างๆ โดยการพิจารณาของมหาวิทยาลัย หรือสามารถสมัครสอบผ่านทางเว็บไซต์ได้

กิจกรรมภายในมหาวิทยาลัย[แก้]

ประเพณีเชียร์กลาง วิทยาเขตหนองคาย
มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย อนุรักษ์วัฒนธรรมไทย สืบสานประเพณีสงกรานต์

กิจกรรมร้องเพลงร่วมสถาบัน หรือ ประเพณีเชียร์กลาง[แก้]

มหาวิทยาลัยขอนแก่นคือมหาวิทยาลัยเพียงแห่งเดียวที่คงประเพณีการเชียร์ร่วมของนักศึกษาใหม่รวมทุกคณะไว้ด้วยกัน การที่คนนับพันร่วมหมื่นคนและมาจากหลากหลายคณะสามารถมารวมตัวกัน ร้องเพลงเดียวกันด้วยใจที่รักในสิ่งเดียวกันได้ถือว่าเป็นที่สุด เชียร์กลางเป็นกิจกรรมที่เริ่มต้นและดำเนินมาจนเป็นประเพณีที่สืบเนื่องต่อกันมาจากพี่ๆจนถึงปัจจุบัน และถูกถ่ายทอดสู้วิทยาเขตหนองคาย ซึ่งคือเสมือนเชียร์กลาง มหาวิทยาลัยขอนแก่น เช่นเดียวกัน นักศึกษาปัจจุบันและพี่ๆทุกคนในมหาวิทยาลัยขอนแก่นต่างตั้งตารอ กิจกรรมเชียร์กลางนี้จัดขึ้นหลังจากน้องใหม่เข้าหอพัก รวมน้องและมีกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ให้น้องใหม่ได้รู้จักเพื่อนใหม่ รู้จักพี่ๆในชื่อ พี่เลี้ยงน้องใหม่ มีกิจกรรมสันทนาการ เรียนรู้เพื่อนใหม่ เรียนรู้วัฒนธรรมสังคมของมหาวิทยาลัยขอนแก่น และรู้จักมหาวิทยาลัยขอนแก่นผ่านบทเพลงแห่งมหาวิทยาลัย และจะจัดขึ้น ณ สนามกีฬากลาง บนสแตนด์เชียร์ จำนวน 2 วัน กลางที่โล่ง

กิจกรรมอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยลงแขกดำนา นานาชาติ[แก้]

กิจกรรมอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยลงแขกดำนา นานาชาติ เป็นการช่วยเหลือหมู่บ้านในเขตตำบลหนองกอมเกาะ ที่มีพื้นที่อยู่ห่างจาก มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย เพียง 3 กิโลเมตร ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ดังนั้น เพื่อเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยและเป็นการสร้างความสามัคคี เผื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือกันในสังคม มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย จึงจัดทำโครงการ อนุรักษ์วัฒนธรรมไทยลงแขกดำนา นานาชาติ ขึ้น เพื่อสอดรับกับภารกิจหลักคือการผลิตบัณฑิตที่พึงประสงค์ ให้บัณฑิตได้ฝึกความอดทน มีความเสียสละ เอื้ออาทรต่อผู้อื่น เรียนรู้และศึกษาลักษณะของเศรษฐกิจชุมชน ตลอดจนช่วยกันอนุรักษ์ พัฒนา ถ่ายทอด และฟื้นฟูขนบธรรมเนียบประเพณี และวัฒนธรรมไทยที่ดีงามให้คงอยู่ นอกจากการลงแขกดำนาแล้ว ได้มีการทำพิธีเลี้ยงผีตาแฮก บูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือบรรบุรุษให้คุ้มครองป้องกันภยันตรายแก่ชีวิตและทรัพย์ ก่อนการดำนาและจัดกิจกรรมแข่งขันวิ่งปรองดองสมานฉันท์ 11 ขาสามัคคีและดำนาสามขาสามัคคี ระหว่างทีมนักศึกษาชาย นักศึกษาหญิงและทีมทหาร ทั้งนี้การจัดกิจกรรมลงแขกดำนา ได้จัดต่อเนื่องมาทุกๆปีในช่วงฤดูทำนา เพื่อสืบสานประเพณี อนุรักษ์วัฒนธรรมไทยการลงแขกดำนา ให้นักศึกษา บุคลากร และชุมชนได้ปฏิบัติสืบต่อกัน เป็นการเผยแพร่ประเพณีวัฒนธรรมการลงแขกดำนาแก่ชาวต่างชาติ อีกทั้งช่วยลดต้นทุนในการผลิตข้าวของชาวนาและลดภาระค่าใช้จ่ายในครัวเรือนในการจ้างแรงงาน ทำให้เกิดความสามัคคีปรองดองในองค์กรและสังคม มีความสัมพันธ์อันดีระหว่างมหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย กับชุมชน

การเดินทาง[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "วิทยาเขตหนองคาย มหาวิทยาลัยขอนแก่น". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-15. สืบค้นเมื่อ 2014-04-11.
  2. "ประกาศสภามหาวิทยาลัยขอนแก่น เรื่อง จัดตั้งส่วนงานภายใน มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-07-07. สืบค้นเมื่อ 2022-05-11.
  3. "ประกาศมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฉบับที่ 635/2563 เรื่อง การจัดตั้งส่วนงานของมหาวิทยาลัยขอนแก่น (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2563".
  4. [www.aquariumthailand.orgl พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำจังหวัดหนองคาย]
  5. "การรับเข้าศึกษา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-15. สืบค้นเมื่อ 2014-04-11.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]