วิทยาลัยพลังงานทดแทนและสมาร์ตกริดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนเรศวร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วิทยาลัยพลังงานทดแทนและสมาร์ตกริดเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยนเรศวร
School of Renewable Energy and Smart Grid Technology, Naresuan University
ตราสัญลักษณ์วิทยาลัยพลังงานทดแทน มหาวิทยาลัยนเรศวร
สถาปนา1 ตุลาคม พ.ศ. 2546; 20 ปีก่อน (2546-10-01)
ผู้อำนวยการดร.สุขฤดี สุขใจ
ที่อยู่
มาสคอต
รังสีดวงอาทิตย์และตัวอักษรย่อ SERT
เว็บไซต์www.sert.nu.ac.th

วิทยาลัยพลังงานทดแทนและสมาร์ตกริดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนเรศวร ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2546 โดยมีหน้าที่วิจัยและพัฒนาด้านพลังงานทดแทน โดยเน้นพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานน้ำ พลังงานลม ชีวมวล พลังงานความร้อนใต้พิภพและพลังงานอื่นๆ นอกจากนี้ยังเป็นสถาบันการศึกษาและวิจัยขั้นสูงที่ผลิตบัณฑิตในระดับปริญญาโท ปริญญาเอก และการทำวิจัยหลังปริญญาเอก ตั้งอยู่ ณ อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก

ประวัติ[แก้]

วิทยาลัยพลังงานทดแทนและสมาร์ตกริดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนเรศวร SCHOOL OF RENEWABLE ENERGY TECHNOLOGY (SERT),NARESUAN UNIVERSITY, PHITSANULOK, THAILAND. เริ่มก่อตั้งจากการเป็นศูนย์วิจัยและฝึกอบรมพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Energy Research and Training Center, SERT) โดยได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2535 ต่อมาได้ปรับสถานะของหน่วยงานเป็น วิทยาลัยพลังงานทดแทน มหาวิทยาลัยนเรศวร ในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2546 โดยวิทยาลัยพลังงานทดแทน มหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นหน่วยงานซึ่งอยู่ภายใต้กำกับดูแลของมหาวิทยาลัยนเรศวร

วิทยาลัยพลังงานทดแทนและสมาร์ตกริดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนเรศวร มีหน้าที่ในการจัดการเรียนการสอนในระดับบัณฑิตศึกษา โดยเป็นสถาบันการศึกษาและวิจัยขั้นสูงเฉพาะทาง ในระดับปริญญาโทและเอก และการทำวิจัยหลังปริญญาเอกทางด้านพลังงานทดแทน เพื่อผลิตและเพิ่มจำนวนนักวิทยาศาสตร์ในสาขาพลังงานต่อไปทั้งในระดับภูมิภาค ประเทศและระดับนานาชาติ และดำเนินการวิจัยและพัฒนาด้านพลังงานทดแทนในรูปแบบบต่างๆ เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานจากน้ำ พลังงานลม พลังงานมวลชีวภาพ และพลังงานใต้พิภพ หรือพลังงานอื่นๆ

วิทยาลัยพลังงานทดแทนและสมาร์ตกริดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนเรศวร

อีกทั้งวิทยาลัยพลังงานทดแทนและสมาร์ตกริดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนเรศวร ยังเป็นหน่วยงานที่บริการข้อมูลข่าวสารด้านพลังงาน และนวัตกรรมพลังงานในการสนับสนุนการเรียน การสอน การวิจัย และการฝึกอบรมในรูปเครือข่ายความร่วมมือในระดับประเทศและนานาชาติ เป็นศูนย์ทดสอบทางด้านระบบและอุปกรณ์ด้านพลังงานต่างๆ ตามมาตรฐานสากล และร่วมประกอบการในธุรกิจด้านพลังงานในลักษณะเครือข่ายครบวงจรเทคโนโลยีที่มีความพร้อมและศักยภาพที่เหมาะสมกับความต้องการของประเทศและนานาชาติ โดยแสวงหาโอกาสที่จะนำเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์ไปใช้เพื่อประหยัดพลังงานและลดผลกระทบจากมลภาวะที่เกิดจากการใช้พลังงานฟอสซิล ซึ่งมีผลต่อการยกระดับแสวงหาโอกาสที่จะนำเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์ไปใช้เพื่อประหยัดพลังงาน และลดผลกระทบจากมลภาวะที่เกิดจากการใช้พลังงานฟอสซิลซึ่งมีผลต่อการยกระดับคุณภาพชีวิตและสภาวะแวดล้อมของการดำรงชีวิตของมนุษย์ ส่งเสริมและเผยแพร่ให้เทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์เป็นที่รู้จักในหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และประชาชนทั่วไปอย่างสมบูรณ์

วิทยาลัยพลังงานทดแทนและสมาร์ตกริดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนเรศวรประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานเพื่อการวิจัย การพัฒนา กาแหล่งเงินทุน แหล่งอุตสาหกรรมและการตลาดในรูปของเครือข่ายในเขตภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมทั้งเป็นศูนย์กลางข้อมูลด้านพลังงานแสงอาทิตย์ สำหรับสนับสนุนการเรียนการสอนในหลักสูตรการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับพลังงาน การวิจัยของอาจารย์ นิสิต นักวิจัยทางด้านพลังงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยนเรศวรต่อไปอย่างมีคุณภาพในระดับนานาชาติ The School of Renewable Energy Technology

ปัจจุบัน วิทยาลัยพลังงานทดแทนและสมาร์ตกริดเทคโนโลยีได้มีการจัดกลุ่มวิจัยออกเป็น 4 กลุ่ม คือ 1. กลุ่มวิจัยด้านเซลล์แสงอาทิตย์ 2. กลุมวิจัยด้านพลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์ 3. กลุมวิจัยด้านพลังงานจากชีวมวล 4. กลุ่มวิจัยพลังงานชุมชน

หลักสูตรการศึกษา[แก้]

วิทยาลัยพลังงานทดแทนและสมาร์ตกริดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนเรศวร เปิดดำเนินการสอนในระดับชั้นบัณฑิตศึกษาในหลักสูตร ดังนี้

ปริญญาโท
ปริญญาเอก

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

หลักสูตรวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต

การฝึกอบรม[แก้]

วิทยาลัยพลังงานทดแทนและสมาร์ตกริดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนเรศวร มีการจัดหลักสูตรระยะสั้นในการฝึกอบรมให้กับหน่วยงานราชการหรือหน่วยงานเอกชน โดยจัดการอบรมตามหัวข้อดังต่อไปนี้เช่น

สวนพลังงาน[แก้]

ภายในวิทยาลัยพลังงานทดแทนและสมาร์ตกริดเทคโนโลยี มีสวนพลังงานตัวอย่างที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย[1] โดยเป็นแหล่งสาธิตการใช้งานจริงของระบบพลังงานทดแทน และมีศูนย์ธุรกิจที่เป็นแหล่งของความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชน ในการดำเนินการส่งเสริมธุรกิจทางด้านพลังงานทดแทน

สวนพลังงาน วิทยาลัยพลังงานทดแทนและสมาร์ตกริดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนเรศวร เปิดให้ประชาชนทั่วไปได้ศึกษาและเยี่ยมชมโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย โดยเปิดในวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 9.00 น. - 17.00 น.

อ้างอิง[แก้]

  1. "สวนพลังงาน วิทยาลัยพลังงานทดแทนและสมาร์ตกริดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนเรศวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-04-20. สืบค้นเมื่อ 2008-04-04.

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]