วิทยาลัยบูรพคดีศึกษาและการศึกษาแอฟริกา มหาวิทยาลัยลอนดอน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วิทยาลัยบูรพคดีศึกษาและการศึกษาแอฟริกา มหาวิทยาลัยลอนดอน
School of Oriental and African Studies, University of London
ชื่อเดิมThe School of Oriental Studies
คติพจน์Knowledge is Power (ความรู้คืออำนาจ)
ประเภทรัฐ
สถาปนา1916; 108 ปีที่แล้ว (1916)
สังกัดการศึกษาUniversity of London
อาจารย์515 (2021/22)
ผู้ศึกษา6,295 (2021/22)
ปริญญาตรี3,400
บัณฑิตศึกษา2,890
ที่อยู่
10 ถนนตอนฮอจ, จตุรัสรัสเซล
,
ลอนดอน
,
สหราชอาณาจักร
เว็บไซต์www.soas.ac.uk

วิทยาลัยบูรพคดีศึกษาและการศึกษาแอฟริกา มีชื่อย่อที่เรียกกันในปัจจุบันคือ โซแอส (อังกฤษ: School of Oriental and African Studies, SOAS) เป็นหนึ่งในวิทยาลัยที่สังกัดมหาวิทยาลัยลอนดอน ก่อตั้งโดยพระราชตราตั้งในปี 1916 โดยก่อตั้งเพื่อเป็นสถาบันศึกษาเฉพาะทางด้านสังคมศาสตร์ของภูมิภาคเอเชียและแอฟริกา เพื่อการปกครองและการขยายอิทธิพลของสหราชอาณาจักรในภูมิภาคหล่านั้น[1] ปัจจุบันสถาบันได้ขยายการศึกษาไปสู่การศึกษาสังคมทุกมิติและทุกภูมิภาค

ปัจจุบันวิทยาลัยถือว่าเป็นสถาบันเฉพาะทางด้านสังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ และภาษาศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกษาภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกกลาง และแอฟริกา[2] มากไปกว่านั้นยังเป็นสถาบันอุดมศึกษาแห่งเดียวในยุโรปที่มีการเรียนการสอน และการวิจัยเฉพาะทางในสาขานี้เหล่านี้ [3]

โดยทางวิทยาลัยได้รับการจัดอันดับในสาขาต่าง ๆ ใน QS World University Rankings โดย บริษัทคอกโครัลลีไซมอนส์ (Quacquarelli Symonds) โดยสาขาที่มีความโดดเด่นอย่างยิ่งระดับโลก (ค.ศ.2022)[4] ได้แก่

  • Development Studies อันดับ 2
  • Anthropology อันดับ 10
  • Politics อันดับ 15

ประวัติ[แก้]

ภาพหน้าอาคารหลัก

โดยเริ่มแรก วิทยาลัยถูกจัดตั้งขึ้นในชื่อวิทยาลัยบูรพาศึกษา (School of Oriental Studies) ในปี ค.ศ.1917 ตั้งอยู่ ณ Finsbury Circus ในเขต City of London ภายหลังได้เปลี่ยนชื่อเป็น วิทยาลัยบูรพคดี และแอฟฟริกาศึกษา (School of Oriental and African Studies) ในปี 1938 และย้ายที่ตั้งมาอยูที่ Vandon House, St. James Park ในช่วงสงครามโลกก็ถูกย้ายที่ตั้งชั่วคราวที่เมืองเคมบริดจ์[5] และในช่วงถัดมาก็ได้ย้ายมาอยู่ในย่าน Russell Square ตราบจนถึงปัจจุบัน

วิทยาลัยถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อในฐานะเครื่องมือเพื่อการเสริมสร้างอิทธิพลของสหราชอาณาจักรในภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกกลาง และแอฟริกา เป็นทั้งสถานที่ฝึกอบรม พ่อค้า ครู หมอ มิชชันนารี และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ข้าราชการ และนายทหาร ที่จะไปประจำอยู่ตามประเทศอาณานิคม เพื่อให้รู้จักสภาพสังคม เศรษฐกิจ ประวัติศาสตร์ และภาษา ของประเทศในแถบนั้น[6] และทำการศึกษาเพื่อสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับภูมิภาคเอเชียและแอฟริกาจึงต้องสรรหานักวิชาการมาทำวิจัยด้านประวัติศาสตร์ การเมือง การเศรษฐกิจและภูมิศาสตร์ของภูมิภาคเหล่านี้ไว้ เพื่อประโยชน์ในการกำหนดยุทธศาสตร์ของลัทธิจักรวรรดินิยม รวมไปถึงวงการวิชาการ

แต่ในปัจจุบัน สถาบันดังกล่าวนี้ได้กลายเป็นแหล่งค้นคว้าด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา (Southeast Asian Studies) ที่สำคัญเช่นเดียวกับมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ ในสหรัฐอเมริกา, มหาวิทยาลัยปารีส ในฝรั่งเศส, มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย ในออสเตรเลีย, มหาวิทยาลัยเกียวโต ในญี่ปุ่น และมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ ในสิงคโปร์ เป็นต้น

วิทยาลัยฯ มีที่พักสำหรับนักศึกษาเป็นของตัวเอง เพราะเหตุที่เปิดสอนวิชาเกี่ยวกับสังคมและวัฒนธรรมของเอเชีย จึงมีนักศึกษาต่างชาติโดยเฉพาะจากเอเชียเข้าไปศึกษาเป็นจำนวนมาก ตัววิทยาลัยตั้งอยู่ที่รัสเซลล์สแควร์ ใจกลางกรุงลอนดอน ใกล้กับพิพิธภัณฑ์แห่งชาติและหอสมุดแห่งชาติ

งานและบริการทางวิชาการ[แก้]

หอสมุด[แก้]

หอสมุดของวิทยาลัยเป็นหนึ่งในห้า หอสมุดเพื่อการวิจัยแห่งชาติ ของสหราชอาณาจักร โดยเป็นหอสมุดเฉพาะทางด้านการวิจัยสำหรับการศึกษาระดับอุดมศึกษาในด้านการศึกษาภูมิภาคเอเชีย อาฟริกา และตะวันออกกลาง โดยมีหนังสือถูกรวบรวมอยู่ในหอสมุดมากกว่า 1.3 ล้านเล่ม ในจำนวนเหล่านี้ก็ประกอบด้วยหนังสือหลากหลายภาษาคลอบคลุมภาษาจากทุกภูมิภาค ซึ่งรวมไปถึงหนังสือภาษาไทย และงานวิชาการที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทยในภาษาอื่น ๆ ด้วย นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งข้อมูลที่รวบรวมหนังสือเกี่ยวเนื่องกับ สังคมศาสตร์ การพัฒนา การเมืองและการต่างประเทศ ประวัติศาสตร์ ภาษา และวัฒนธรรม ไว้เป็นจำนวนมาก รวมไปถึงหนังสือหายากทั้งที่เป็นภาษาต่างประเทศ และภาษาอังกฤษ ที่เกี่ยวเนื่องกับภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลก[7] เช่น ต้นฉบับบันทึกการเดินทาง การทำงาน และการดำเนินชีวิตในต่างเเดนของเหล่ามิชชั้นนารี และข้าราชการอาณานิคม ทหาร และการทูตของสหราชอาณาจักร[8] โดยทางหอสมุดเองกำลังทำการรวมและขยายฐานข้อมูลในรูปแบบดิจิตอล และออนไลน์ เพื่อให้ขยายบริหารทางวิชาการให้ทั่วถึงมากยิ่งขึ้น

หอสมุดของวิทยาลัย

วารสารวิชาการ[9][แก้]

ทางวิทยาลัยได้จัดทำวารสารวิชาการเป็นจำนวนมากโดยมุ่งเน้นไปในเรื่องเกี่ยวข้องกับประเด็นทาง สังคมศาสตร์ ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม การเมือง และภาษา แต่จะวุ่งเน้นการนำเสอนประเด็นเหล่านี้ในภูมิภาคเอเชีย แอฟริกา และตะวันออกกลาง วารสารที่โดดเด่นของวิทยาลัยนั้นได้แก่

  • Bulletin of the School of Oriental and African Studies (BSOAS) หรือ The Bulletin of SOAS
  • The China Quarterly
  • The Journal of African Law
  • South East Asia Research

นอกจากนี้ทางวิทยาลัยยังจัดทำวารสารวิชาการสำหรับนักศึกษาทั้งระดับ ระดับปริญญาตรี และระดับบัณฑิตศึกษา

  • SOAS Journal of Postgraduate Research
  • SOAS Undergraduate Research Journal

นอกเหนือจากงานวิชาการที่จัดทำโดยวิทยาลัยเอง ทางวิทยาลัยยังเป็นคณะบรรณาธิการร่วม ของวารสารวิชาการอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษาประเด็นทางสังคม การเมือง ประวัติศาสตร์ การพัฒนา และวัฒนธรรมต่าง ๆ ของภูมิภาคเอเชียและเเอฟริกาอีกเป็นจำนวนมาก ตัวอย่างเช่น South Asia Research, Central Asiatic Journal, Indonesia and the Malay World, Japan Forum, และ SOAS Bulletin of Burma Research

วิทยาลัยฯ กับไทย[แก้]

วิทยาลัยฯ เป็นสถาบันอุดมศึกษาแห่งเดียวในสหราชอาณาจักรที่มีภาควิชาภาษาไทย มีการเรียนการสอนภาษาและวรรณคดีไทย รวมทั้งดนตรีไทยด้วย นอกจากนี้ ยังเปิดสอนภาษาและวรรณคดีเขมร บาลี สันสกฤต ในอดีตมีนักสันสกฤตไทยหลายท่านมาศึกษาอยู่ที่วิทยาลัยฯ แห่งนี้ เช่น ศ. ม.ล.จิรายุ นพวงศ์, ศ. ม.ล.ปิ่น มาลากุล

ปัจจุบันนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นอาจารย์กิตติมศักดิ์ (Honorary Fellow) ประจำสถาบันนี้ด้วย[10] และเสด็จมาร่วมทรงดนตรีไทยกับคณาจารย์ผู้ชำนาญดนตรีไทยและนักศึกษาที่ศึกษาดนตรีไทยของวิทยาลัยฯ เป็นประจำทุกปี ห้องสมุดของวิทยาลัยฯ เป็นสถานที่ซึ่งรวบรวมตำรับตำราทางวิชาการ, วรรณคดีไทย, ภาษาไทย, นวนิยายไทย และประวัติศาสตร์ไทยไว้มากที่สุด ในบรรดามหาวิทยาลัยทั้งหลายในอังกฤษ จัดเป็นแหล่งศึกษาวิชาไทยคดีศึกษาที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก

ศิษย์เก่าชาวไทยที่มีชื่อเสียง เช่น

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • The Thai Association in the UK (สามัคคีสมาคม ในพระบรมราชูปถัมภ์) สมาคมนักเรียนไทยในสหราชอาณาจักร
  1. Brown, Ian (2016). The School of Oriental and African Studies : imperial training and the expansion of learning. Cambridge, United Kingdom. ISBN 978-1-316-68720-8. OCLC 962830134.
  2. "SOAS University of London UK | Ranking, Courses and". SI-UK: Move Forward. Be Great. (ภาษาอังกฤษ).
  3. "SOAS - School of Oriental and African Studies, University of London | Silk Roads Programme". en.unesco.org.
  4. "SOAS University of London". Top Universities (ภาษาอังกฤษ).
  5. https://blogs.soas.ac.uk/centenarytimeline/2015/01/30/from-finsbury-circus-to-senate-house/
  6. Brown, Ian (2016). The School of Oriental and African Studies : imperial training and the expansion of learning. Cambridge, United Kingdom. ISBN 978-1-316-68720-8. OCLC 962830134.
  7. "Brief Overview of the Collection". SOAS (ภาษาอังกฤษ).
  8. "SOAS | Jisc Library Hub Discover". discover.libraryhub.jisc.ac.uk.
  9. "SOAS journals and books". SOAS (ภาษาอังกฤษ).
  10. "Honorary fellows and graduates". SOAS (ภาษาอังกฤษ).