วิกิพีเดีย:สอนการใช้งาน (แบบเก่า)/วิกิพีเดียลิงก์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อารัมภบท วิธีการแก้ไข การจัดรูปแบบ ลิงก์ การอ้างอิง
แหล่งที่มา
 หน้าคุย จำไว้ว่า ลงทะเบียน ท้ายสุด  

การลิงก์หรือเชื่อมโยงบทความวิกิพีเดียเข้าด้วยกันมีความสำคัญมาก ลิงก์ที่สร้างได้ง่ายเหล่านี้ทำให้ผู้ใช้สามารถโดดไปยังสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับบทความที่กำลังอ่านอยู่ ซึ่งเพิ่มประโยชน์ของวิกิพีเดียอย่างมาก

วิธีสร้างลิงก์

ในการสร้างลิงก์ไปยังหน้าอื่นของวิกิพีเดีย (เรียกว่า วิกิลิงก์) ให้ใส่ไว้ในวงเล็บเหลี่ยมสองชั้น ดังนี้

[[ประเทศไทย]]

ซึ่งหลังจากคุณบันทึกการแก้ไขแล้ว จะปรากฏต่อผู้อ่านดังนี้

ประเทศไทย

หากคุณต้องการลิงก์ไปยังบทความ แต่ให้แสดงข้อความอื่นสำหรับลิงก์นั้นแทน คุณก็สามารถทำได้โดยเพิ่มเครื่องหมายขีดตั้ง "|" (SHIFT + \ ในแป้นภาษาอังกฤษ) ตามด้วยข้อความตามต้องการ ตัวอย่างเช่น

[[ประเทศไทย|ไทย]]

ซึ่งจะแสดงผลเป็น

ไทย

คุณยังสามารถสร้างลิงก์ไปยังส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความได้ ดังนี้

[[ประเทศไทย#ประวัติศาสตร์|ประวัติศาสตร์ไทย]]

ซึ่งจะแสดงผลเป็น

ประวัติศาสตร์ไทย

หมายเหตุ: หน้าปลายทางต้องมีส่วนที่ระบุ จึงจะทำให้การเชื่อมโยงสมบูรณ์ หากไม่มีส่วนที่ระบุ ลิงก์จะนำไปยังบนสุดของหน้านั้นแทน

หากคุณต้องการแสดงข้อความของลิงก์ให้ปรากฏเป็นตัวเอนหรือตัวเข้ม ให้ทำวงเล็บเหลี่ยมสองชั้นสำหรับลิงก์ในเครื่องหมายอะพอสตรอฟีซึ่งกำหนดข้อความตัวเอนหรือตัวเข้ม ดังนี้

'''[[ประเทศไทย]]'''

ซึ่งจะแสดงผลเป็น

ประเทศไทย

หรือ

[[ยูเอสเอส เอนเทอร์ไพรซ์ (CVN-65)|ยูเอสเอส ''เอนเทอร์ไพรซ์'' (CVN-65)]]

ซึ่งจะแสดงผลเป็น

ยูเอสเอส เอนเทอร์ไพรซ์ (CVN-65)

โปรดตรวจสอบลิงก์ของคุณให้แน่ใจว่าชี้ไปยังบทความที่ถูกต้อง ตัวอย่างเช่น แอปเปิลชี้ไปยังบทความเกี่ยวกับผลไม้ชนิดหนึ่ง ขณะที่ แอปเปิล (บริษัท) เป็นชื่อเรื่องของบทความว่าด้วยผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ นอกจากนี้ยังมีหน้า "แก้ความกำกวม" ซึ่งมิใช่บทความ แต่เป็นหน้าที่มีลิงก์ไปยังบทความที่มีชื่อเรื่องเดียวกันหรือคล้ายกัน บางชื่อ เช่น แอปเปิล (แก้ความกำกวม) นั้นชัดเจน ขณะที่บางชื่ออย่าง ผู้ปกครอง ใช้ชื่อเรื่องทั่วไป สำหรับชื่อเรื่องที่แตกต่างกันเหล่านี้ การใช้ลิงก์ไพป์หรือลิงก์ขีดตั้ง (piped link) จะมีประโยชน์มาก ตัวอย่างเช่น วิกิลิงก์เงิน (โลหะ) น่าอ่านน้อยกว่าลิงก์ไพป์เงิน แม้ทั้งสองลิงก์จะนำผู้อ่านไปยังบทความเดียวกันก็ตาม

เมื่อใดจึงควรลิงก์

การเพิ่มลิงก์ในบทความทำให้บทความนั้นมีประโยชน์มากขึ้น แต่ลิงก์มากเกินไปอาจทำให้ไขว้เขวได้ ส่วนนำมักมีลิงก์มากกว่าบทความส่วนอื่น ในการหลีกเลี่ยงลิงก์มากเกิน คุณควรสร้างลิงก์ในบทความเฉพาะเมื่อคำหรือวลีนั้นปรากฏครั้งแรก และคุณไม่ควรลิงก์คำสามัญ อย่าง "รัฐ" และ "โลก" แม้วิกิพีเดียจะมีบทความสำหรับคำเหล่านี้ก็ตาม เว้นแต่คำสามัญเหล่านี้จะเป็นมโนทัศน์ศูนย์กลางของบทความ

การดูบทความวิกิพีเดียอื่นสามารถช่วยคุณให้เรียนรู้ว่าควรเพิ่มลิงก์เมื่อใดได้

หมวดหมู่

คุณยังสามารถจัดบทความเข้าหมวดหมู่กับบทความอื่นในหัวข้อที่สัมพันธ์กันได้ ใกล้กับท้ายบทความ พิมพ์ [[หมวดหมู่:]] และใส่ชื่อหมวดหมู่ระหว่างเครื่องหมายทวิภาคหรือโคลอน (:) กับวงเล็บเหลี่ยม ตัวอย่างเช่น [[หมวดหมู่:สอนการใช้งานวิกิพีเดีย]]

สำคัญมากที่ต้องจัดหมวดหมู่ให้ถูกเพื่อให้ผู้อื่นหางานของคุณได้ง่าย ทางที่ดีที่สุดว่าจะจัดบทความเข้าหมวดหมู่ คือ ดูหน้าเรื่องคล้ายกัน และตรวจสอบว่าบทความนั้นใช้หมวดหมู่ใด ตัวอย่างเช่น หากคุณกำลังเขียนบทความเกี่ยวกับต้นไม้ประเภทหนึ่ง คุณอาจดูที่บทความเกี่ยวกับต้นไม้อีกประเภทหนึ่งเพื่อดูว่าหมวดหมู่ใดเหมาะสม

สำหรับสารสนเทศเพิ่มเติม ดูที่ วิกิพีเดีย:การจัดหมวดหมู่

ส่วนแหล่งข้อมูลอื่น

บทความวิกิพีเดียจำนวนมากมีอีกส่วนแยกต่างหาก ชื่อว่า แหล่งข้อมูลอื่น ส่วนนี้มีไว้สำหรับเชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์ที่มีสารสนเทศเพิ่มเติมที่สำคัญและน่าเชื่อถือเกี่ยวกับหัวข้อของบทความ มีแหล่งข้อมูลจำนวนน้อยที่เกี่ยวข้องจริง ๆ เท่านั้นที่เหมาะกับส่วนนี้ ดูรายละเอียดได้ที่แนวปฏิบัติ วิกิพีเดีย:แหล่งข้อมูลอื่น หากบทความมีลิงก์พอสมควรอยู่ในส่วน "แหล่งข้อมูลอื่น" อยู่แล้ว และคุณยังอ่อนประสบการณ์ คุณอาจควรเสนอลิงก์ใหม่ในหน้าอภิปรายของบทความก่อนเพิ่มลงไป

ในการเพิ่มแหล่งข้อมูลอื่นใหม่ เพียงพิมพ์ยูอาร์แอลเต็มสำหรับลิงก์ในวงเล็บเหลี่ยมชั้นเดียว ตามด้วยช่องว่าง และข้อความที่จะแสดง ตัวอย่างเช่น

[http://www.example.com/ เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ]

ซึ่งจะแสดงผลเป็น

เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ
สำหรับสารสนเทศเพิ่มเติม ดูที่ วิกิพีเดีย:แหล่งข้อมูลอื่น
เรียนการใช้งานต่อด้วยการอ้างอิงแหล่งที่มา