วิกิพีเดีย:บทความคัดสรรประจำเดือน/พ.ศ. 2548

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


บทความคัดสรรแบ่งตามปี
2548 - 2549 - 2550 - 2551 - 2552 - 2553 - 2554 - 2555 - 2556 - 2557 - 2558 - 2559 - 2560 - 2561 - 2562 - 2563 - 2564 - 2565 - 2566 - 2567


พฤษภาคม 2548
ภาพแฟร็กทัล จาก 'เซตมานด้ลบรอ', วาดโดยการพล็อตสมการวนซ้ำไปเรื่อยๆ
ภาพแฟร็กทัล จาก 'เซตมานด้ลบรอ', วาดโดยการพล็อตสมการวนซ้ำไปเรื่อยๆ

แฟร็กทัล (fractal) ในปัจจุบันเป็นคำที่ใช้ในเชิงวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ใช้หมายถึง วัตถุทางเรขาคณิตที่มีคุณสมบัติ self-similar คือ ดูเหมือนกันไปหมด (เมื่อพิจารณาจากแง่ใดแง่หนึ่ง) ไม่ว่าจะดูที่ระดับความละเอียด (โดยการส่องขยาย) หรือ สเกลใด ๆ ก็ตาม สิ่งที่เรารู้จักกันในนามของแฟร็กทัลนั้น ได้ถูกค้นพบมานานก่อนที่คำว่า แฟร็กทัล จะถูกบัญญัติขึ้นมาใช้เรียกสิ่งเหล่านี้. ในปี ค.ศ. 1872 Karl Weierstrass ได้ยกตัวอย่างของฟังก์ชันที่มีคุณสมบัติ "everywhere continuous but nowhere differentiable" คือ มีความต่อเนื่องที่ทุกจุด แต่ไม่สามารถหาค่าดิฟเฟอเรนเชียลได้ ต่อมาในปี ค.ศ. 1904 Helge von Koch ได้ยกตัวอย่างทางเรขาคณิต ซึ่งได้รับการเรียกขานในปัจจุบันนี้ว่า "Koch snowflake" ต่อมาในปี ค.ศ. 1938 Paul Pierre Lévy ได้ทำการศึกษารูปร่างของกราฟ (curve และ surface) ซึ่งมีคุณสมบัติที่ส่วนประกอบย่อย มีความเสมือนกับโครงสร้างโดยรวมของมัน คือ "Lévy C curve" และ "Lévy dragon curve"


ดู - สนทนา - ประวัติ


มิถุนายน 2548

พอล แอร์ดิช (Erdős Pál หรือ Paul Erdős) เกิดเมื่อ 26 มี.ค. พ.ศ. 2456 เขาเป็นนักคณิตศาสตร์ ผู้โดดเด่น ทั้งในด้านผลงาน และพฤติกรรมอันแปลกประหลาด ผลงานตีพิมพ์ของเขามีจำนวนมหาศาล และเกี่ยวพันกับหลาย ๆ สาขาในคณิตศาสตร์ อาทิ คณิตศาสตร์เชิงการจัด ทฤษฎีกราฟ และทฤษฎีจำนวน แอร์ดิชเกิดที่กรุงบูดาเปสต์ ประเทศฮังการี ถึงแม้ว่าเขาจะมีชื่อเสียงโด่งดัง และยังได้รับรางวัลจำนวนมาก ซึ่งช่วยให้เขาสามารถอยู่ได้อย่างสุขสบายไปตลอดชีวิต แอร์ดิชกลับใช้ชีวิตอย่าง "คนจรจัด" โดยการร่อนเร่ไปตามงานประชุมทางวิทยาศาสตร์ และบ้านของเพื่อนนักคณิตศาสตร์ตามที่ต่าง ๆ ทั่วโลก เป็นเวลาถึง 50 ปี เขามีถุงเพียงใบเดียวสำหรับใส่สิ่งของจำเป็น, สิ่งที่มีค่าในทางโลก ไม่มีความหมายกับเขา, เขาจะบริจาคเงินที่ได้จากรางวัล หรือแหล่งทุนต่าง ๆ ให้กับผู้คนที่ต้องการ แอร์ดิช "จากไป" ด้วยโรคหัวใจ ในวันที่ 20 ก.ย. พ.ศ. 2539 ขณะเข้าร่วมการประชุมวิชาการ ในกรุงวอร์ซอ ประเทศโปแลนด์

บทความคัดสรรก่อนหน้านี้: แฟร็กทัล

ที่เก็บถาวรบทความคัดสรรอื่น ๆ


ดู - สนทนา - ประวัติ


กรกฎาคม 2548
ธงสหประชาชาติ
ธงสหประชาชาติ

สหประชาชาติ หรือ ยูเอ็น (United Nations — UN) เป็นองค์การระหว่างประเทศที่ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) มีสมาชิก 191 ประเทศ (เกือบทุกประเทศในโลก) สหประชาชาติเปิดรับสมาชิกที่เป็น "ประเทศรักสันติ" ซึ่งยอมรับพันธกรณีในกฎบัตรสหประชาชาติ ยอมรับในมติขององค์การ สามารถและปรารถนาที่จะให้พันธกรณีเหล่านั้นบรรลุผล สมัชชาใหญ่เป็นผู้รับรองการเป็นสมาชิกโดยอยู่ภายใต้การแนะนำของคณะมนตรีความมั่นคง สำนักงานใหญ่สหประชาชาติตั้งอยู่ ณ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา แฟรงคลิน ดี. รูสเวลต์ ตั้งชื่อองค์การนี้โดยหมายถึงสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง ใช้อย่างเป็นทางการครั้งแรกในการลงนามปฏิญญาสหประชาชาติ ค.ศ. 1942 เพื่อทำให้สัมพันธมิตรยึดในหลักของกฎบัตรแอตแลนติก และสัญญาว่าจะไม่แยกไปเจรจาสันติภาพกับกองกำลังอักษะ เดิมสหประชาชาติใช้ชื่อในภาษาอังกฤษว่า United Nations Organization หรือ UNO แต่เปลี่ยนไปใช้ United Nations หรือ UN นับจากทศวรรษ 1950


ดู - สนทนา - ประวัติ


สิงหาคม 2548
แสตมป์ชุดที่หนึ่ง ราคาหนึ่งโสฬส
แสตมป์ชุดที่หนึ่ง ราคาหนึ่งโสฬส

แสตมป์ หรือ ตราไปรษณียากร (postage stamp) ใช้เป็นหลักฐานการชำระเงินค่าบริการไปรษณีย์ มักเป็นกระดาษรูปสี่เหลี่ยมสำหรับติดบนซองจดหมาย มักพิมพ์มาในรูปแผ่น หรือ ชีท ประกอบด้วยแสตมป์หลาย ๆ ดวง ด้านหลังแสตมป์มีกาวฉาบอยู่ กระดาษที่ใช้พิมพ์แสตมป์มักมีสิ่งที่ใช้ป้องกันการปลอมแปลง เช่น ลายน้ำ หรือด้ายสี การสะสมแสตมป์เป็นงานอดิเรกที่นิยมมากอย่างหนึ่ง

แนวคิดเรื่องการใช้แสตมป์เป็นค่าไปรษณีย์ริเริ่มโดยนาย เจมส์ ชาลเมอร์ส (James Chalmers) ชาวสกอตแลนด์ เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2377 และเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2383 ก็ได้ออกแสตมป์ดวงแรกของโลกคือ แสตมป์ เพนนีแบลค (Penny Black) มีราคาหน้าดวง 1 เพนนี แสตมป์ชุดแรกของไทย คือ แสตมป์ชุดที่หนึ่ง หรือ ชุดโสฬศ ออกเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2426 แสตมป์ชุดนี้ออกแบบและพิมพ์ที่บริษัท วอเตอร์โลว์แอนด์ซันส์ (Waterlow and Sons) กรุงลอนดอน


ดู - สนทนา - ประวัติ


กันยายน 2548
รูปปั้นไดโนเสาร์ไทแรนโนซอรัส
รูปปั้นไดโนเสาร์ไทแรนโนซอรัส

ไดโนเสาร์ (Dinosaur) เป็นชื่อเรียกโดยรวมของสัตว์เลื้อยคลานในอันดับใหญ่ Dinosauria ซึ่งเคยครองระบบนิเวศพื้นพิภพในมหายุคเมโสโซอิก เป็นเวลานานถึง 165 ล้านปี ก่อนจะสูญพันธุ์ไปเมื่อ 65 ล้านปีที่แล้ว คำว่า ไดโนเสาร์ ถูกตั้งขึ้นโดย เซอร์ริชาร์ด โอเวน (Richard Owen) นักบรรพชีวินวิทยาชาวอังกฤษ ซึ่งเป็นการผสมของคำในภาษากรีกสองคำ คือคำว่า deinos (ใหญ่จนน่าสะพรึงกลัว) และคำว่า sauros (สัตว์เลื้อยคลาน)

แม้ว่าไดโนเสาร์จะสูญพันธุ์ไปนานหลายล้านปีแล้ว แต่คำว่าไดโนเสาร์ก็ยังเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่เด็ก ๆ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะไดโนเสาร์นั้นนับว่าเป็นสัตว์โลกที่เต็มไปด้วยปริศนา และความน่าอัศจรรย์เป็นอันมากนั่นเอง นอกจากนี้ ไดโนเสาร์ยังได้ปรากฏตัวอยู่ในภาพยนตร์หลายเรื่อง เช่น คิงคอง (ค.ศ. 1933) และ จูราสสิค พาร์ค (ค.ศ. 1993) ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างสูง และไดโนเสาร์ยังเป็นสัตว์ประจำจังหวัดขอนแก่นอีกด้วย


ดู - สนทนา - ประวัติ


ตุลาคม 2548

ฃ ขวด

(ขวด) เป็นพยัญชนะ ตัวที่ 3 ในบรรดาพยัญชนะ 44 ตัวของอักษรไทย จัดอยู่ในกลุ่มอักษรสูง ในระบบไตรยางศ์ ออกเสียงอย่าง ข (ไข่) เป็นอักษรที่เลิกใช้แล้ว ไม่มีคำศัพท์ในหมวดคำ ในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน แต่ยังมีความนิยมใช้อักษร ฃ ในบางแวดวง ในแบบเรียนอักษรไทย ยังคงมีอักษร ฃ อยู่

หลักฐานเก่าแก่ที่สุดที่ปรากฏการใช้ ในภาษาไทย คือ ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง หรือศิลาจารึกหลักที่ 1 มีการใช้ ฃ อยู่ 11 คำ หลังจากนั้นเริ่มมีการใช้ และ สับสน ครั้นถึงสมัยรัชกาลที่ 7 เมื่อปทานุกรมของกระทรวงธรรมการ พ.ศ. 2470 ระบุว่า “ฃ เป็นพยัญชนะตัวที่สามของพยัญชนะไทย แต่บัดนี้ไม่มีที่ใช้” เป็นอันหมดวาระของ โดยสิ้นเชิง ข้อสังเกตคือคำว่า "ขวด" ซึ่งเป็นชื่อของพยัญชนะตัวนี้ ก็ไม่เคยเขียนด้วย (นั่นคือ ฃวด) มาก่อนเลย


ดู - สนทนา - ประวัติ


พฤศจิกายน 2548

นโปเลียน โบนาปาร์ต

นโปเลียน โบนาปาร์ต เกิดที่เมืองอาจัคซิโอ บนเกาะคอร์ซิกา เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม ค.ศ. 1769 เขาเป็นนายพลในช่วง การปฏิวัติฝรั่งเศส ดำรงตำแหน่งผู้ปกครองประเทศฝรั่งเศส ตั้งแต่ปลายปี ค.ศ. 1799 และได้กลายเป็นจักรพรรดิ ของชาวฝรั่งเศสภายใต้พระนามว่า นโปเลียนที่ 1 เป็นผู้มีชัยและปกครองดินแดนส่วนใหญ่ของทวีปยุโรป และได้แต่งตั้งให้แม่ทัพ และพี่น้องของเขาขึ้นครองบัลลังก์ ในราชอาณาจักรยุโรปหลายแห่งด้วยกัน

เนื่องจากเขาไม่สามารถดับไฟสงคราม ที่โหมกระหน่ำประเทศฝรั่งเศสมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1792 ลงได้ ซ้ำยังต้องผ่านการสู้รบครั้งแล้วครั้งเล่า นโปเลียนได้เห็นจักรวรรดิของเขาล่มสลาย ภายในสิบปีนับตั้งแต่เขาขึ้นครองราชย์ เหลือไว้แต่เพียงผลงานทางราชการมากมาย ที่ชายผู้ไม่ธรรมดาคนนี้ได้สร้างไว้


ดู - สนทนา - ประวัติ


ธันวาคม 2548

แผนภาพคลื่นสึนามิกำลังเคลื่อนตัวเข้าสู่ชายฝั่ง

คลื่นสึนามิ จากภาษาญี่ปุ่น 津波 (สึนะมิ) แปลว่า คลื่นชายฝั่ง เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติในลักษณะของระลอกคลื่น ที่เกิดขึ้นจากการที่น้ำในทะเลสาบหรือในท้องมหาสมุทรจำนวนมหาศาล เกิดการเคลื่อนย้ายถ่ายเทจากบริเวณหนึ่งสู่อีกบริเวณหนึ่งอย่างรวดเร็ว ซึ่งมักปรากฏหลังแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ แผ่นดินไหวใต้ทะเล ภูเขาไฟระเบิด ดินถล่ม แผ่นดินทรุด หรืออุกกาบาตขนาดใหญ่ตกสู่พื้นทะเลหรือมหาสมุทรบนผิวโลก คลื่นสึนามิที่เกิดขึ้นนี้ จะถาโถมเข้าสู่พื้นที่ชายฝั่งทะเลด้วยความรวดเร็วและรุนแรง ทำให้เกิดการสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินได้

คลื่นสึนามินั้นสามารถเดินทางได้เป็นระยะทางไกล ๆ โดยไม่สูญเสียพลังงาน และสามารถเข้าทำลายชายฝั่งที่อยู่ห่างไกลจากจุดกำเนิดหลายพันกิโลเมตรได้ โดยทั่วไปแล้วคลื่นสึนามิซึ่งเป็นคลื่นในน้ำ จะเดินทางได้ช้ากว่าการสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวที่เป็นคลื่นที่เดินทางในพื้นดิน ดังนั้น คลื่นอาจเข้ากระทบฝั่งภาย หลังจากที่ผู้คนบริเวณนั้นรู้สึกว่าเกิดแผ่นดินไหว เป็นเวลาหลายชั่วโมง อ่านต่อ...


ดู - สนทนา - ประวัติ