วิกฤตเกาหลี พ.ศ. 2556

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วิกฤตเกาหลี พ.ศ. 2556
ส่วนหนึ่งของ การแบ่งประเทศเกาหลี

ประเทศในคาบสมุทรเกาหลี: เกาหลีเหนือสีส้มและเกาหลีใต้สีฟ้า เมืองหลวงทั้ง 2 ประเทศ คือ กรุงเปียงยางและโซล ซึ่งแสดงจุดสีแดง
วันที่24 มกราคม พ.ศ. 2556 - 14 สิงหาคม พ.ศ. 2556
(6 เดือน 2 สัปดาห์)
สถานที่
สถานะ

เกาหลีเหนือและเกาหลีใต้กลับมาดำเนินการที่เขตอุตสาหกรรมแคซ็อง

คู่สงคราม
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ

วิกฤตเกาหลี พ.ศ. 2556 หรือ วิกฤตการณ์เกาหลีเหนือ เป็นความตึงเครียดรอบใหม่ระหว่างเกาหลีเหนือ กับเกาหลีใต้ สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น โดยเริ่มต้นจากเกาหลีเหนือปล่อยดาวเทียมควังมย็องซ็อง-3 ยูนิต 2 เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2555 และการทดลองนิวเคลียร์เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 วิกฤตการณ์นี้มีลักษณะเป็นการยกระดับวาทศิลป์โดยรัฐบาลเกาหลีเหนือใหม่ภายใต้คิม จ็อง-อึน และการกระทำที่ส่อการโจมตีด้วยอาวุธนิวเคลียร์ต่อเกาหลีใต้และสหรัฐอเมริกาในอนาคตอันใกล้[2]

เบื้องหลัง[แก้]

การปล่อยดาวเทียมควังมย็องซ็อง-3 ยูนิต 2[แก้]

วันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2555 เพื่อเป็นการรำลึกวันคล้ายวันเกิดครบ 100 ปีของคิม อิลซุง ผู้ก่อตั้งเกาหลีเหนือ ได้มีการปล่อยดาวเทียม ชื่อ ควังมย็องซ็อง-3 สู่อวกาศ

จากนั้น สหรัฐอเมริกาแถลงตอบโต้การกระทำของเกาหลีเหนือทันที คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติได้อนุมัติบทลงโทษใหม่กับเกาหลีเหนือในการปกปิดการทดสอบขีปนาวุธ เหตุการณ์นี้ได้สร้างความวิตกเป็นอย่างมากสื่อหลายสำนักทั่วโลกรวมทั้งจีน รัสเซีย และญี่ปุ่นได้รายงานข่าวว่าเกาหลีเหนือได้เข้าร่วมกลุ่มประเทศที่สามารถผลิตและส่งดาวเทียมในโลก กองบัญชาการป้องกันห้วงอากาศ-อวกาศอเมริกาเหนือ (North American Aerospace Defense Command) รายงานว่าทั้งดาวเทียมและชิ้นส่วนที่ลอยอยู่บนอวกาศ "มิได้เป็นปัจจัยคุกคามความมั่นคงของสหรัฐอเมริกา"

รัฐบาลเกาหลีกล่าวว่าการปล่อยครั้งนี้เป็นเพียงการนำดาวเทียมขึ้นสู่วงโคจรและปฏิเสธว่าเป็นการเคลื่อนไหวทางการทหาร ในวันที่ 22 มกราคม รัฐบาลเกาหลีเหนือเดินหน้าจดทะเบียนกับสหประชาชาติ โดยแถลงว่าดาวเทียมดังกล่าวเป็นดาวเทียมสังเกตการณ์ ซึ่งออกแบบมาเพื่อตรวจสอบพืชผล ทรัพยากรป่าไม้และภัยพิบัติธรรมชาติของโลก ที่มีคาบเวลาโหนด (nodal period) 95 นาที 25 วินาที

กระนั้น ชาติส่วนใหญ่ในโลกประณามการกระทำดังกล่าว แม้กระทั่งจีน ซึ่งตามสนธิสัญญาทางทหารกำหนดให้ป้องกันเกาหลีเหนือในกรณีถูกรุกราน นอกเหนือจากนั้น คู่ปรับแต่อดีตของเกาหลีเหนือ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้อ้างว่า การกระทำดังกล่าวเป็นการทดสอบทางทหารเพื่อเตรียมทำสงคราม โดยมีภารกิจเดียว คือ ยั่วยุคู่ปรับทางการเมือง

หลังการปล่อย ชาวเกาหลีเหนือเฉลิมฉลองเหตุการณ์ดังกล่าว วันรุ่งขึ้น เกาหลีเหนือจัดการเฉลิมฉลองครั้งมโหฬารในจัตรุสกรุงเปียงยางเพื่อแสดงว่าปฏิบัติการดังกล่าวดำเนินไปสำเร็จอย่างไร

วิธีการบังคับของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ[แก้]

หลังการปล่อยดาวเทียมครั้งนั้น คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติจัดการประชุมเพื่อถกเหตุการณ์ดังกล่าว ตามคำร้องของญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและเกาหลีใต้ ผลคือ คณะมนตรีฯ ออกคำแถลงประธานาธิบดีซึ่งสมาชิกคณะมนตรีฯ 15 ประเทศรู้สึกว่าการปล่อยดังกล่าวเป็นการทดสอบขีปนาวุธ

ท้ายสุด วันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2556 คณะมนตรีฯ สรุปว่าจะลงโทษเกาหลีเหนือจากการปล่อยดาวเทียม ซึ่งคณะมนตรีฯ พิจารณาว่าเป็นการทดสอบขีปนาวุธ ฝ่ายเกาหลีเหนือปฏิเสธว่าวิธีการบังคับของคณะมนตรีฯ ถูกกำหนดภายใต้การสนับสนุนของสหรัฐอเมริกาเพื่อรบกวนการพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีของเกาหลีเหนือ โดยกล่าวว่า เทคโนโลยีจรวดซึ่งใช้ปล่อยดาวเทียมเป็นแบบเดียวกับที่ใช้กับขีปนาวุธ

การตอบสนองของเกาหลีเหนือ[แก้]

หลังจากที่คณะมนตรีฯ มีบทลงโทษเกาหลีเหนือ ในวันที่ 23 มกราคม รัฐบาลเกาหลีเหนือประกาศจะยังทดลองต่อไป ไม่เพียงแต่ทุ่มเทกับขีปนาวุธเท่านั้น แต่ชัดเจนว่ามีความพยายามจะเอื้อวัตถุประสงค์อาวุธนิวเคลียร์ด้วย ยิ่งไปกว่านั้น เกาหลีเหนือยังข่มขู่สหรัฐอเมริกาโดยตรง ว่าสามารถยิงขีปนาวุธพิสัยไกลถล่มสหรัฐอเมริกาได้

เราไม่ปิดบังว่าเราจะปล่อยดาวเทียมและจรวดพิสัยไกล และดำเนินการทดสอบนิวเคลียร์ในระดับสูงกว่าต่อไป การต่อสู้ระยะใหม่ต่อสหรัฐอเมริกา ศัตรูอาฆาตของชาวเกาหลี

รัฐบาลเกาหลีเหนือกล่าวหาสหรัฐอเมริกาที่สหประชาชาติ ว่ากำลังนำ "ขบวนการที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนต่อเกาหลีเหนือ" โดยวิธีการบังคับใหม่และประวิงความพยายามของรัฐบาลที่จะพัฒนาเศรษฐกิจ โทรทัศน์ของรัฐยังกล่าวว่า "นี่ได้พิสูจน์อีกครั้งแล้วว่าเกาหลีเหนือต้องปกป้องเอกราชด้วยตนเอง ได้มาประจักษ์แล้วว่าไม่อาจมีการทำให้คาบสมุทรเกาหลีปลอดทหารได้ก่อนที่โลกจะปลอดนิวเคลียร์"

ลำดับเหตุการณ์[แก้]

มกราคม พ.ศ. 2556[แก้]

ในวันที่ 1 มกราคม คิม จ็อง-อึน อวยพรเนื่องในวันขึ้นปีใหม่ผ่านสถานีโทรทัศน์ของรัฐบาลเพื่อความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นกับเกาหลีใต้[3][4]

ในการตอบโต้ต่อการอนุมัติของมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติซึ่งประณามการยิงจรวดที่ประสบความสำเร็จครั้งล่าสุดของพวกเขาและกำหนดบทลงโทษที่รุนแรงยิ่งขึ้น เกาหลีเหนือแถลงในวันที่ 24 มกราคม ว่ามีความมุ่งมั่นที่จะพุ่งเป้าไปที่สหรัฐอเมริกาในขีปนาวุธและโครงการนิวเคลียร์ คำแถลงได้เรียกสหรัฐอเมริกาว่า"ศัตรูคู่อาฆาตของประชาชนเกาหลี"[5]

กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556[แก้]

ในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ เกาหลีเหนือดำเนินการทดลองอาวุธนิวเคลียร์ซึ่งถูกประณามอย่างกว้างขวางจากนานาประเทศ สามวันต่อมาในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ เกาหลีเหนือแจ้งจีนว่าจะดำเนินการทดลองนิวเคลียร์ต่อหนึ่งหรือสองครั้งในปี พ.ศ. 2556[6]

มีนาคม พ.ศ. 2556[แก้]

เมษายน พ.ศ. 2556[แก้]

พฤษภาคม พ.ศ. 2556[แก้]

มิถุนายน พ.ศ. 2556[แก้]

สิงหาคม พ.ศ. 2556[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Abe ordena adoptar "todas las medidas posibles" para defender a Japón de las amenazas norcoreanas" (ภาษาสเปน). Europapress.es. 2013-04-06. สืบค้นเมื่อ 2013-04-14.
  2. MacAskill, Ewen (March 29, 2013). "US warns North Korea of increased isolation if threats escalate further". Washington, D.C.: The Guardian. สืบค้นเมื่อ April 5, 2013.
  3. New Year Address Made by Kim Jong Un( เก็บถาวร 2013-04-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน)
  4. Lucy Williamson (January 1, 2013). "North Korea's Kim Jong-un makes rare new year speech". BBC. สืบค้นเมื่อ April 5, 2013.
  5. Sanger, David (January 24, 2013). "North Korea Issues Blunt New Threat to United States". The New York Times. สืบค้นเมื่อ January 24, 2013.
  6. Lim, Benjamin Kang (February 15, 2013). "North Korea tells China of preparations for fresh nuclear test". Beijing: Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-03-31. สืบค้นเมื่อ April 5, 2013.