วัลลภ เจียรวนนท์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

วัลลภ เจียรวนนท์ (12 มกราคม พ.ศ. 2484 - ปัจจุบัน) เป็นนักธุรกิจ ตระกูล เจียรวนนท์ ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง รองประธานอาวุโส เครือเจริญโภคภัณฑ์ (CP) นายกสมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนสารสิทธิ์พิทยาลัย นายกสมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนสารสิทธิ์พิทยาลัย และ นายกสมาคมกิตติศักดิ์อัสสัมชัญ อดีตนายกสมาคมศิษย์เก่าอัสสัมชัญ รองประธานมูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ฯ ประธานคณะกรรมการดำเนินการจัดงานมหกรรมสัตว์เลี้ยงแห่งประเทศไทย[1]อดีตประธานคณะกรรมการจัดหาโลหิตศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย 10 สมัย เป็นหนึ่งในผู้บุกเบิกเครือซีพี เช่นเดียวกับ ธนินท์ เจียรวนนท์ ซึ่งเป็นประธานกรรมการและประธานคณะผู้บริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์ คนปัจจุบัน

วัลลภ เจียรวนนท์ เกิดเมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2484 เป็นบุตรชายของนายชนม์เจริญ เจียรวนนท์ ซึ่งเป็นน้องชายแท้ๆของนายเอ๊กซอ แซ่เจี่ย ชาวจีนโพ้นทะเล ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งบริษัทเจียไต๋ บริษัทนำเข้า และจำหน่ายเมล็ดพันธุ์พืชที่มีชื่อเสียงในขณะนั้น วัลลภ เจียรวนนท์ มีศักดิ์เป็นลูกพี่ลูกน้องกับ นายธนินท์ เจียรวนนท์[2] สำหรับด้านการศึกษา ในปี พ.ศ. 2492 ได้เข้าศึกษาที่ โรงเรียนสารสิทธิ์พิทยาลัย พร้อมกับ ธนินท์ เจียรวนนท์ และ เชิดชัย เจียรวนนท์ ต่อมาได้เข้าศึกษาที่ โรงเรียนอัสสัมชัญ(อสช 18537) ตามลำดับ และจบการศึกษาจากด้านบริหารธุรกิจจากประเทศออสเตรเลีย วัลลภก็ได้กลับมาช่วยดูแลธุรกิจของครอบครัว โดยทำทุกอย่าง เช่น ตั้งแต่แบกหาม ขับรถขนของ และเป็นเซลส์ที่ออกเดินสายขายเมล็ดพันธุ์ด้วยตัวเอง ซึ่งเป็นการฝ่าอุปสรรคมากมายตลอดช่วงชีวิตตอนหนุ่มของเขา [3] จนในที่สุด บริษัท เจียไต๋ เติบโตเป็นบริษัทขายเมล็ดพันธุ์ฯลฯที่มีส่วนแบ่งตลาดมากที่สุดในประเทศไทย เป็นบริษัทที่มั่นคง และเป็นฐานกำลังสำคัญ ที่ทำให้ขยายการลงทุนสู่ธุรกิจอื่น ๆ และเติบใหญ่เป็นเครือเจริญโภคภัณฑ์ บริษัทชั้นนำของประเทศไทยที่มีการลงทุนในประเทศต่างๆทั่วโลกกว่า 20 ประเทศ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระเจ้าหลานเธอฯ โปรดเกล้าฯพระราชทานสุนัขทรงเลี้ยงโชว์ความสามารถในงานมหกรรมสัตว์เลี้ยงฯ
  2. http://info.gotomanager.com/news/details.aspx?id=36935[ลิงก์เสีย]
  3. http://www.boybdream.com/manager-news-content.php?newid=133242[ลิงก์เสีย]
  4. "ประกาศ เรื่องพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (นักธุรกิจและคู่สมรส)" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 138 (ตอนที่ 3 ข): หน้า 2. 1 กุมภาพันธ์ 2564. สืบค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2564. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้าและฝ่ายใน ประจำปี 2546" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 125 (9 ข): 2. 4 พฤษภาคม 2546. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2564. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. "ประกาศ เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 138 (ตอนที่ 3 ข): หน้า 4. 1 กุมภาพันธ์ 2564. สืบค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2564. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)