วันเลิฟ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วันเลิฟ
ภาพปกอัลบั้ม วันเลิฟ
สตูดิโออัลบั้มโดย
วางตลาด6 มีนาคม พ.ศ. 2551
บันทึกเสียงสิงหาคม พ.ศ. 2550
แนวเพลงป๊อป
ความยาว38:00
ค่ายเพลงโซนี่ บีเอ็มจี
โปรดิวเซอร์Bobby Sukishiwara และ Rock-A-Holix Production
ลำดับอัลบั้มของทาทา ยัง
เทมเพอเรเจอไรซิง
(2549)เทมเพอเรเจอไรซิงString Module Error: Match not found
วันเลิฟ
(2551)
เดอะเลิฟออฟทาทา
(2552)เดอะเลิฟออฟทาทาString Module Error: Match not found
ซิงเกิลจากวันเลิฟ
  1. "วันเลิฟ"
    จำหน่าย: 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
  2. "ต้นเหตุแห่งความเศร้า"
    จำหน่าย: 6 มีนาคม พ.ศ. 2551
  3. "ไอล์บียัวร์เฟิร์ส, ยัวร์ลาสแอนด์ยัวร์เอฟรีธิง"

"วันเลิฟ" คืออัลบั้มของทาทา ยัง ออกจำหน่ายในช่วงวันที่ 5 - 6 มีนาคม พ.ศ. 2551 [1] เป็นอัลบั้มภาษาไทยชุดที่ 10 และเป็นอัลบั้มที่ 15 เมื่อนับรวมอัลบั้มภาษาอังกฤษด้วย พร้อมกันนี้ยังได้ออกวีซีดี วันเลิฟ เป็นอัลบั้มคาราโอเกะคู่กันอีกด้วย ซึ่งออกจำหน่ายเมื่อวันที่4 เมษายน พ.ศ. 2551 [2]

ข้อมูลอัลบั้ม[แก้]

หลังจากห่างหายการทำอัลบั้มภาษาไทยไปกว่า 4 ปี ทาทา ยัง ได้กลับมาร่วมงานกับนักประพันธ์เพลง และผู้อำนวยการสร้างชื่อดัง ในอัลบั้มนี้ทาทา ได้เปลี่ยนภาพลักษณ์ความเป็นสาวเซ็กซี่ของเธอ ออกมาในรูปแบบความเป็นกันเอง สบายๆ อัลบั้มนี้เริ้มบันทึกเสียงตั้งแต่ช่วงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2550

"วันเลิฟ" เป็นผลงานการประพันธ์ของ เล็ก ปุ้ยสงคราม, มานพ สุขพาสน์เจริญ และ Bobby Sukishiwara อำนวยการสร้างโดย Bobby Sukishiwara และ Rock-A-Holix Production ซึ่งออกจำหน่ายเป็นซิงเกิลแรกของอัลบั้มนี้[3] นอกจากนี้ เล็ก ปุ้ยสงครามยังประพันธ์เพลงอีก 3 เพลงในอัลบั้มนี้ และมานพ สุขพาสน์เจริญยังประพันธ์เพลง "บ้านเดียวกัน" ในอัลบั้มนี้อีกด้วย "วันเลิฟ" ได้รับความนิยมขึ้นชาร์ตอันดับ 7 ในชาร์ตซี๊ด และอันดับ 10 ชาร์ตฮอตเวฟ[4]

"ต้นเหตุแห่งความเศร้า" เพลงบัลลาร์ดฟังสบายๆ เป็นผลงานการประพันธ์ของ เล็ก ปุ้ยสงคราม (ผู้ประพันธ์เพลง "วันเลิฟ) และจรส ฟูพร้อมวงศ์ อำนวยการสร้างโดย Bobby Sukishiwara และ Rock-A-Holix Production เผยแพร่เป็นซิงเกิลที่ 2 ต่อจากเพลง "วันเลิฟ" เริ่มเผยแพร่ในวันเดียวกันกับที่วันจำหน่ายอัลบั้ม

"ไอล์บียัวร์เฟิร์ส, ยัวร์ลาสแอนด์ยัวร์เอฟรีธิง" เพลงป๊อปจังหวะสนุกสนาน ผลงานการประพันธ์ของ ชาญชัย แซ่ก้วย และ S-TER อำนวยการสร้างโดย Bobby Sukishiwara และ Rock-A-Holix Production เป็นซิงเกิลที่ 3 ของอัลบั้มนี้

"อำ" เป็นซิงเกิลที่ 4 ของอัลบั้มนี้ อันเป็นผลงานการประพันธ์ของ เล็ก ปุ้ยสงคราม, Bobby Sukishiwara เป็นอีกหนึ่งเพลงป๊อปจังหวะสนุกสนาน มีชื่อในภาษาอังกฤษว่า "Kidding"

การสนับสนุนยอดขายของอัลบั้ม[แก้]

โครงการทาทายัง วันเลิฟ[แก้]

โครงการทาทา ยัง วันเลิฟ เป็นหนึ่งในโครงการสนับสนุนยอดขายของอัลบั้มนี้ โดยมีการจัดโครงการนี้ออกเป็นโครงการย่อยๆ ซึ่งมีกิจกรรมดังต่อไปนี้

  • วันเลิฟ วันลีฟ : กิจกรรมที่จะสื่อสารความรักต่อสิ่งแวดล้อม ด้วยการใช้ใบไม้เป็นสัญลักษณ์แทนความรักของทุกคนต่อสิ่งแวดล้อม เพียงคนละ 1 บาท รับใบไม้ 1 ใบ รวมพลังกันที่ต้นไม้วันเลิฟ วันลีฟโดยรายได้ทั้งหมดสมทบทุนมูลนิธิชัยพัฒนา
  • วันเลิฟ วันบุก : กิจกรรมบริจาคหนังสือ
  • วันเลิฟ วันเมมโมรี: กิจกรรมส่งภาพ
  • วันเลิฟวันวอยซ์
  • วันเลิฟ วันบาท:สมทบทุนมูลนิธิชัยพัฒนาฯ เพื่อช่วยสนับสนุน และส่งเสริมในเรื่องของสิ่งแวดล้อมในประเทศ

คอนเสิร์ตทัวร์ ทาทายัง วันเลิฟ รักเดียวเพื่อเมืองไทย[แก้]

วัน / เดือน / ปี สถานที่ จังหวัด
30 มีนาคม พ.ศ. 2551 พอร์ทอารีน่า จังซีลอน จังหวัดภูเก็ต
5 เมษายน พ.ศ. 2551 ฟอรั่ม ชั้น 1 เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพมหานคร
20 เมษายน พ.ศ. 2551 เจริญศรีฮอลล์ เจริญศรี คอมเพล็กซ์ จังหวัดอุดรธานี
5 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 ลานหน้าวิดีโอวอลล์ เซ็นทรัลแอร์พอร์ต จังหวัดเชียงใหม่

รายชื่อเพลง[แก้]

ที่ ชื่อเพลง ผู้ประพันธ์ ความยาว
1 วันเลิฟ เล็ก ปุ้ยสงคราม/มานพ สุขพาสน์เจริญ/Bobby Sukishiwara 4:20
2 บุ่มบ่าม ปัญญา โกเมนไปรรินทร์/นิติวัฒน์ คงพุทธิโชติ/Bobby Sukishiwara/ El-Nono (Rap) 4:03
3 ต้นเหตุแห่งความเศร้า เล็ก ปุ้ยสงคราม/จรส ฟูพร้อมวงศ์ 4:29
4 กู๊ดไทม์ เล็ก ปุ้ยสงคราม/หลวงประกอบทำนองเทศ/Bobby Sukishiwara 3:20
5 ได้โปรด เล้ฏ ปุ้ยสงคราม/หลวงประกอบทำนองไทย/นิติวัฒน์ คงพุทธิโชติ 3:21
6 อำ เล็ก ปุ้ยสงคราม/Bobby Sukishiwara 3:24
7 สิ่งมีชีวิต...ไม่มีหัวใจ เล็ก ปุ้ยสงคราม/จรส ฟูพร้อมวงศ์ 4:17
8 ไอล์บียัวร์เฟิร์ส, ยัวร์ลาสแอนด์ยัวร์เอฟรีธิง ชาญชัย แซ่ก้วย/S-TER 3:47
9 สายลมที่มองไม่เห็น ผู้/นิติวัฒน์ คงพุทธิโชติ 3:55
10 บ้านเดียวกัน มานพ สุขพาสน์เจริญ/จรส ฟูพร้อมวงศ์ 3:57

อ้างอิง[แก้]

  1. "ข้อมูลอัลบั้ม "วันเลิฟ" ของ ทาทา ยัง จากเว็บไซต์โซนี่ บีเอ็มจี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-03-10. สืบค้นเมื่อ 2008-03-06.
  2. "ข้อมูลวีซีดีคาราโอเกะ "วันเลิฟ" ของทาทา ยัง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-11-17. สืบค้นเมื่อ 2008-07-05.
  3. "ข้อมูลอัลบั้ม "วันเลิฟ" ของ ทาทา ยัง จากเว็บไซต์โซนี่ บีเอ็มจี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-03-10. สืบค้นเมื่อ 2008-03-06.
  4. "โซนี่ บีเอ็มจี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-03-10. สืบค้นเมื่อ 2008-03-06.