วัน อยู่บำรุง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก วันเฉลิม อยู่บำรุง)
วัน อยู่บำรุง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
กรุงเทพมหานคร
ดำรงตำแหน่ง
24 มีนาคม พ.ศ. 2562 – 20 มีนาคม พ.ศ. 2566
ก่อนหน้าสามารถ ม่วงศิริ
ถัดไปรักชนก ศรีนอก
เขตเลือกตั้งเขตบางบอน และเขตหนองแขม (เฉพาะแขวงหนองแขม)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
วันเฉลิม อยู่บำรุง

12 สิงหาคม พ.ศ. 2517 (49 ปี)
เขตบางบอน กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
พรรคการเมืองเพื่อไทย (2551—ปัจจุบัน)
การเข้าร่วม
พรรคการเมืองอื่น
ความหวังใหม่ (2541–2545)
ไทยรักไทย (2545–2550)
พลังประชาชน (2550–2551)
บุตรอาชวิน อยู่บำรุง
นโม อยู่บำรุง
ลดา อยู่บำรุง
บุพการี
ศิษย์เก่าโรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี
โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
มหาวิทยาลัยรามคำแหง (น.บ.)
อาชีพนักการเมือง
ชื่อเล่นหนุ่ม

วัน อยู่บำรุง (เกิด 12 สิงหาคม พ.ศ. 2517) ชื่อเล่น หนุ่ม[1][2] เป็นนักการเมืองชาวไทย กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี (เศรษฐา ทวีสิน)[3]

อดีตผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข[4] อดีตที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม โดยได้รับการแต่งตั้ง ณ วันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555[5] อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร พรรคเพื่อไทย เขาเป็นบุตรชายของ ร.ต.อ. ดร. เฉลิม อยู่บำรุง[6][7] ซึ่งเคยได้รับการกล่าวถึงผ่านสื่อบ่อยครั้ง[1] ในช่วงวัยรุ่นมักเป็นที่พูดถึงจากสังคม จากเหตุทำร้ายร่างกายตามผับ ช่วงปี 2540-2548 ซี่งส่วนมากจะถูกยกฟ้องเพราะหลักฐานไม่เพียงพอ[8]

ประวัติ[แก้]

สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และเคยเป็นประธานรุ่นของโรงเรียน[2] จากนั้น ได้ศึกษาต่อที่คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพเป็นระยะเวลา 2 ปี เมื่อขึ้นปี 3 จึงได้ย้ายไปเรียนต่อที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง และสำเร็จการศึกษาโดยใช้เวลา 3 ปี[1] รวมถึงเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทจากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง[2]

ผลงานด้านการเมือง ได้แก่การแก้ปัญหาจากการเรียกเก็บค่าคุ้มครองที่เกิดขึ้นในวินมอเตอร์ไซค์เถื่อน[9] มีส่วนร่วมในกิจกรรมของกระทรวงสาธารณสุขโดยเป็นแฮปปี้ทอยเลตคนแรกของประเทศไทย และมีส่วนร่วมในกิจกรรมของแอร์พอร์ตลิงก์ โดยเป็นมิสเตอร์แอร์พอร์ตลิงก์คนแรกของประเทศไทย[10] รวมทั้งเป็นผู้จัดการแข่งขันมวยนัดพิเศษร่วมกับเมืองชัย กิตติเกษม ผู้เป็นอดีตแชมป์โลก เพื่อนำรายได้ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2554[11]

การดำรงตำแหน่งทางการเมือง[แก้]

  1. ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2551 (ชวรัตน์ ชาญวีรกูล)[12]
  2. รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง พ.ศ. 2551 (ชวรัตน์ ชาญวีรกูล)[13]
  3. ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม พ.ศ. 2554 (กิตติศักดิ์ หัตถสงเคราะห์)[14]
  4. ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม พ.ศ. 2555 (รองศาสตราจารย์ ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์)
  5. ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม พ.ศ. 2556 (พล.อ.พฤณท์ สุวรรณทัต)[15]
  6. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เขตหนองแขม (แขวงหนองแขม) เขตบางบอน พรรคเพื่อไทย พ.ศ. 2562
  7. ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจํากระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2567[16]

การเลือกตั้ง พ.ศ. 2562[แก้]

ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขต ในเขตเลือกตั้งที่ 26 เขตหนองแขม (เฉพาะแขวงหนองแขม) เขตบางบอน กรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคเพื่อไทย โดยได้คะแนน 30,538 คะแนน[17] โดยก่อนหน้านี้เคยลงเลือกตั้งถึงสองครั้ง ครั้งแรกเมื่อปี 2544 ในนามพรรคความหวังใหม่[18] โดยลงเลือกตั้งผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2544 ที่เขตเลือกตั้งที่ 37 (เขตทวีวัฒนา เขตหนองแขม และเขตบางแค) ได้คะแนนเสียง 17,074 คะแนน ได้อันดับ 3 โดยอันดับ 2 คือพรรคประชาธิปัตย์[19] และอันดับ 1 คือพรรคไทยรักไทย ซึ่งในครั้งนั้นร้อยตำรวจตรีอาจหาญ อยู่บำรุงก็ลงเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งที่ 35 (เขตบางขุนเทียน และเขตบางบอน) แต่แพ้ที่นั่งให้กับพรรคไทยรักไทย ส่วนครั้งที่สองการเลือกตั้งผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2554 ในนามพรรคเพื่อไทยที่เขตเลือกตั้งที่ 28 (ประกอบด้วยเขตบางบอน และเขตหนองแขม ได้รับคะแนน 40,465 คะแนนได้อันดับ 2 สูสีกับพรรคประชาธิปัตย์ ที่ได้คะแนน 41,601 คะแนน[20]

การทำงานเพื่อสังคม[แก้]

เมื่อปี พ.ศ. 2557 ได้ก่อตั้ง กลุ่ม "ใจถึง...พึ่งได้" เป็นกลุ่มที่รวบรวมผู้รัก และชื่นชอบแนวคิด และหลักการทำงานเพื่อสังคมในแบบของวัน อยู่บำรุง เป็นครอบครัวใหญ่ ที่นายวันเป็นหัวหน้าครอบครัว เรียกว่า "ครอบครัวใจถึง...พึ่งได้" ที่มีแนวคิดรณรงค์ให้ทุกคนให้การช่วยเหลือสังคม และมุ่งเน้นในการทำความดีเป็นหลัก ตามคำนิยามของผู้เป็นหัวหน้าครอบครัว #ใจถึงพึ่งได้ ให้ไว้ว่า #หมั่นทำดีกันต่อไปซักวันต้องได้ดี ซึ่งปัจจุบันมีผู้ติดตามจำนวนหลายแสนคน[21]

ชีวิตส่วนตัว[แก้]

ด้านชีวิตส่วนตัว วัน อยู่บำรุง มีบุตรชายกับภรรยาคนก่อน ชื่อ อาชวิน อยู่บำรุง[22] ส่วนบุตรชายคนที่สองชื่อ นโม และลูกสาวคนสุดท้องชื่อ ลดา[1]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 "วัน อยู่บำรุง" เปลี่ยนไม่ได้ ถ้าเปลี่ยนไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริง - ข่าวการเงิน
  2. 2.0 2.1 2.2 วัน อยู่บำรุง - ข่าวไทยรัฐออนไลน์
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเรื่องแต่งตั้งกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี เล่ม 141 ตอนพิเศษ 76 ง วันที่ 15 มีนาคม 2567
  4. อดีตผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
  5. วัน-ฐิติมา รับตำแหน่ง เลขานุการ-ที่ปรึกษารัฐมนตรีคมนาคม - ข่าวไทยรัฐ
  6. "ลูกวัน"ประสาน"พ่อเหลิม"ปราบวินมอ'ไซค์ ขึงขังลงพื้นที่หาข้อมูลพรุ่งนี้
  7. กางแผน 'วัน อยู่บำรุง' ควงดาบอาญาสิทธิ์ปราบมาเฟียวินเถื่อน!
  8. "พลิกแฟ้มคดี "อยู่บำรุง"". www.chaliang.com.
  9. "วัน อยู่บำรุง ลงพื้นที่ ตรวจวินมอเตอร์ไซค์ - Mthai News". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-05. สืบค้นเมื่อ 2012-12-17.
  10. ""วัน อยู่บำรุง" มิสเตอร์แอร์พอร์ตลิงก์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-03-27. สืบค้นเมื่อ 2012-12-17.
  11. "'วัน'พาอดีตแชมป์โลก มอบเงินช่วยน้ำท่วม - กรุงเทพธุรกิจ ออนไลน์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-14. สืบค้นเมื่อ 2022-02-03.
  12. ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2551
  13. รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง พ.ศ. 2551
  14. ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม พ.ศ. 2554
  15. ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม พ.ศ. 2556
  16. "'ครม.' ไฟเขียว ตั้ง 'วัน อยู่บำรุง' นั่ง กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี". กรุงเทพธุรกิจ. 13 กุมภาพันธ์ 2024. สืบค้นเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  17. ยืนหนึ่ง! วัน อยู่บำรุง ขอบคุณคะแนนเสียง ได้เป็น ส.ส.สมัยแรก เผยความในใจ!
  18. "วันที่รอคอยของ... "วัน อยู่บำรุง"". คมชัดลึกออนไลน์. 2019-01-12.
  19. "18 ปีที่รอคอย 'วัน อยู่บำรุง' ได้เป็น ส.ส. ขอบคุณพี่น้องที่ไว้ใจ ฝากถึงคนที่หลอกลวงประชาชน เจอกันในสภา". THE STANDARD. 2019-05-09.
  20. matichon (2019-01-06). "'วัน อยู่บำรุง' การเป็นผู้แทนฯ ไม่ใช่มรดก เซ็นให้กันไม่ได้". มติชนออนไลน์.
  21. วัน อยู่บำรุง กร้าวพร้อมลุยศึกเลือกตั้ง เชื่อพลัง ใจถึงพึ่งได้ ส่งเข้าสภา
  22. หล่อสาวกรี๊ด "กาโม่-อาชวิน อยู่บำรุง" รู้ไหมเขาลูกใคร? : มติชนออนไลน์
  23. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๖, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๔ ข หน้า ๓, ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
  24. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๘, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]