วันพ่อแห่งชาติ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วันพ่อแห่งชาติ
การประดับธงชาติและธงประจำพระองค์เฉลิมพระเกียรติในช่วงพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา
ความสำคัญเป็นวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และวันชาติ
การเฉลิมฉลองเทิดทูนพระเกียรติคุณของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
การถือปฏิบัติดูในบทความ
เริ่ม5 ธันวาคม พ.ศ. 2523 (43 ปี)
วันที่5 ธันวาคม

วันพ่อแห่งชาติ ตรงกับวันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และเป็นวันชาติ[1][2] อีกทั้งยังมีเลขมงคลอีกคือเลข ๙ ซึ่งเป็นเลขที่เกี่ยวข้องกับพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โดยเฉพาะเป็นเลขประจำรัชกาล

กิจกรรมวันพ่อแห่งชาติจัดติดต่อกันทุกปีตั้งแต่ พ.ศ. 2523 โดยการริเริ่มของ คุณหญิงเนื้อทิพย์ เสมรสุต นายกสมาคมผู้อาสาสมัครและช่วยการศึกษา สัญลักษณ์ที่ใช้ในวันพ่อได้แก่ ดอกพุทธรักษา ซึ่งมีชื่ออันเป็นมงคล

ประวัติ[แก้]

วันพ่อแห่งชาติ ได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรก เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2523 โดยคุณหญิง เนื้อทิพย์ เสมรสุต นายกสมาคมผู้อาสาสมัครและช่วยการศึกษา หลักการเหตุผลที่มีการจัดตั้งวันพ่อแห่งชาติขึ้น เนื่องจากพ่อเป็นบุคคลผู้มีพระคุณและมีบทบาทสำคัญต่อครอบครัว สังคม ที่ผู้เป็นลูกจะต้องเคารพเทิดทูนและตอบแทนพระคุณด้วยความกตัญญู และสังคมควรที่จะยกย่องให้เกียรติรำลึกถึงผู้เป็นพ่อ จึงถือเอาวันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เป็น "วันพ่อ"

ในวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2559 ภายหลังการเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559 ก็ได้มีการประกาศจากรัฐบาลของประเทศไทยว่า "วันพ่อแห่งชาติ" ของประเทศไทย จะยังคงไว้ ให้เป็นวันที่ 5 ธันวาคมของทุกปีต่อไปตามเดิม

วัตถุประสงค์[แก้]

กิจกรรม[แก้]

  1. ประดับธงชาติไทยบริเวณอาคารบ้านเรือน ร่วมกันใส่เสื้อสีเหลือง ประดับผ้าผูก จัดโต๊ะหมู่สักการะ
  2. จัดพิธีศาสนสงฆ์ ทำบุญตักบาตร อุทิศเป็นพระราชกุศล เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
  3. จัดกิจกรรมเกี่ยวกับการบำเพ็ญสาธารณประโยชน์เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลหรือเรียกว่า "จิตอาสา"

อ้างอิง[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]