วันชาติสาธารณรัฐจีน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก วันดับเบิลเท็น)
วันชาติแห่งสาธารณรัฐจีน
สัญลักษณ์ของวันดับเบิลเท็น (เกิดจากการรวมของอักษรจีน คำว่า () "ที่แปลว่า 10" ซ้ำสองครั้ง หรือ "วันสองสิบ" ซึ่งหมายถึงวันที่ 10 เดือน 10 (ตุลาคม))
ชื่ออื่นวันดับเบิลเท็น, ดับเบิลเท็นเดย์
จัดขึ้นโดย สาธารณรัฐจีน
ธงของสาธารณรัฐจีน ไต้หวัน (ปัจจุบัน)
ประเภทประวัติศาสตร์, วัฒนธรรม, ประชาธิปไตย, ชาตินิยม
การเฉลิมฉลองเทศกาล ดอกไม้ไฟ, การเชิดมังกรและคอนเสิร์ต
วันที่10 ตุลาคม
ความถี่ทุกปี
ธงของสาธารณรัฐจีน ไต้หวัน วันชาติปีหมิงกว๋อปีที่ 109
ปีสาธารณรัฐ – 10-10-2024
เหลืออีก 177 วัน
เวลาท้องถิ่น

วันดับเบิลเท็น (จีนตัวย่อ: 双十节; จีนตัวเต็ม: 雙十節; พินอิน: Shuāng Shí Jié) เป็นวันชาติของสาธารณรัฐจีน และเฉลิมฉลองการเริ่มต้นของการลุกฮือหวูชาง เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2454 และได้กลายมาเป็นการปฏิวัติซินไฮ่ซึ่งนำไปสู่การล้มล้างราชวงศ์ชิง การล่มสลายของราชวงศ์ชิงยังเป็นเหตุแห่งการสถาปนาสาธารณรัฐจีนเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2455 ดังนั้นรัฐบาลจึงกำหนดวันดังกล่าวให้เป็น วันเฉลิมฉลองชาติ (จีนตัวย่อ: 国庆日; จีนตัวเต็ม: 國慶日; พินอิน: Guóqìng Rì)[1] ความหมายคำว่า ดับเบิลเท็น มาจากการนำอักษรจีน 2 ตัว () "ที่แปลว่า 10" ซ้ำสองครั้ง หรือ "วันสองสิบ" ซึ่งหมายถึงวันที่ 10 เดือน 10 (ตุลาคม) ตรงกับวันปฏิวัติซินไฮ่

ประวัติ[แก้]

วันชาติสาธารณรัฐจีน อาจเรียกอีกชื่อได้ว่า วันดับเบิลเท็น หรือ วันสองสิบ นั้นมีความสำคัญที่ตรงกับวันที่ 10 เดือน 10 ปี ค.ศ. 1911 ได้มีการก่อการกำเริบอู่ชางเกิดขึ้น เพื่อล้มล้างราชวงศ์ชิง เป็นเหตุการณ์สำคัญที่ทำให้เกิดการปฏิวัติซินไฮ่ตามมา จนนำไปสู่การสละราชสมบัติของจักรพรรดิผู่อี๋จักรพรรดิองค์สุดท้ายของราชวงศ์ชิง สิ้นสุดการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของจีนที่มียาวนานกว่า 5,000 ปี และได้มีการเริ่มต้นการปกครองประเทศแบบ "สาธารณรัฐจีน" ดร.ซุน ยัตเซ็น ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีชั่วคราวคนแรกของสาธารณรัฐ วันดับเบิลเท็นหรือวันสองสิบได้กลายเป็นวันชาติของสาธารณรัฐจีนตลอดที่ปกครองในแผ่นดินใหญ่

แต่ด้วยผลของสงครามกลางเมืองจีน รัฐบาลแห่งสาธารณรัฐจีนพ่ายแพ้ให้กับพรรคคอมมิวนิสต์จีนและสูญเสียการควบคุมจีนแผ่นดินใหญ่ และอพยพไปยังเกาะไต้หวันใน พ.ศ. 2492 ส่วนพรรคคอมมิวนิสต์จีนที่ชนะสงครามกลางเมืองได้สถาปนา "สาธารณรัฐประชาชนจีน" ขึ้นปกครองแผ่นดินใหญ่ ได้เปลี่ยนวันชาติมาเป็น วันที่ 1 ตุลาคมของทุกปี ซึ่งถือเป็น วันชาติของสาธารณรัฐประชาชนจีน ที่เฉลิมฉลองในปัจจุบันแทน

ส่วนวันสองสิบหรือวันเฉลิมฉลองชาติของสาธารณรัฐจีนปัจจุบันจึงเฉลิมฉลองแต่เฉพาะในไต้หวันเป็นหลัก จนในภายหลังได้มีการเรียกกันอย่างย่อๆว่า วันชาติไต้หวัน ส่วนการฉลองวันชาติในกลุ่มชาวจีนโพ้นทะเลบางส่วนก็เฉลิมฉลองด้วยเช่นกัน

การเฉลิมฉลองในไต้หวัน[แก้]

จอมทัพ อดีตประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐจีน เจียง ไคเชก เป็นประธานในวันชาติสาธารณรัฐจีน ในปี ค.ศ. 1966
การเฉลิมฉลองโดยการยิงดอกไม้ไฟที่ไต้หวัน

ในระหว่างการสถาปนาสาธารณรัฐจีนในแผ่นดินใหญ่ของจีน เกาะไต้หวันตกอยู่ภายใต้การปกครองของญี่ปุ่นซึ่งเริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ. 1895 และสิ้นสุดในปี ค.ศ. 1945 หลังการประกาศยอมแพ้ของจักรวรรดิญี่ปุ่นในสงครามโลกครั้งที่สอง ไต้หวันได้รับเอกราชและได้กลับมาเป็นส่วนหนึ่งของสาธารณรัฐจีนอีกครั้ง

ในไต้หวัน การเฉลิมฉลองอย่างเป็นทางการเริ่มจากการประดับธงชาติสาธารณรัฐจีนหน้าบริเวณทำเนียบประธานาธิบดีควบคู่ไปกับการร้องเพลงชาติสาธารณรัฐจีน ในที่สาธารณะ และจะมีการเฉลิมฉลองที่ทำเนียบประธานาธิบดีเป็นที่แรก จากนั้นจะมีการสวนสนามของกองทัพแห่งชาติ หรือ พิธีสวนสนามวันชาติสาธารณรัฐจีน การเฉลิมฉลองยังประกอบด้วย วัฒนธรรมแบบจีนและวัฒนธรรมพื้นแบบไต้หวัน อาทิเช่น การเชิดสิงโต, การเชิดมังกร, วงบรรเลงตีกลอง และการแสดงพื้นเมืองของชาวพื้นเมืองไต้หวัน เมื่อถึงเวลากลางคืน ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐจีนจะออกอากาศถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์อวยพรประชาชน และจะมีการยิงดอกไม้ไฟตามเมืองสำคัญๆทั่วเกาะไต้หวัน

พิธีสวนสนามของทหาร[แก้]

การเดินสวนสนามฉลองวันชาติที่ไต้หวัน ในปี ค.ศ. 1950
นักศึกษาถือรูปภาพของดร.ซุน ยัตเซ็น ในระหว่างวันเฉลิมฉลองชาติในปี ค.ศ. 1965
รถถังของกองทัพสาธารณรัฐจีน ขณะสวนสนามผ่านหน้าทำเนียบประธานาธิบดีในปี ค.ศ. 1966
ประธานาธิบดี หม่า อิงจิ่ว กล่าวสุนทรพจน์ในวันชาติสาธารณรัฐจีน ปี ค.ศ. 2010
นักเรียนทหารจากสถาบันทหารแห่งสาธารณรัฐจีน เข้าร่วมการเดินขบวนในการฉลองวันชาติสาธารณรัฐจีน ปี ค.ศ. 2011

กองทัพแห่งสาธารณรัฐจีนมีธรรมเนียมที่จะจัดกิจกรรมการเดินสวนสนามทางทหารในช่วงวันเฉลิมฉลองชาติ โดยมีการเดินสวนสนามของเหล่าทหารของกองทัพพร้อมอาวุธยุทโธปกรณ์ผ่านลานหน้าทำเนียบประธานาธิบดี โดยปกติแล้วจะมีเจ้าหน้าที่ทหาร, คณะผู้แทนรัฐสภาผู้ทรงเกียรติและเอกอัครราชทูตจากประเทศต่างๆได้รับเชิญให้เข้าร่วมชมการเดินสวนสนามด้วย

การเดินสวนสนามได้ถูกจัดขึ้นอย่างไม่ต่อเนื่องเป็นระยะๆในระหว่างช่วงที่สาธารณรัฐจีนอยู่ที่ไต้หวัน การเดินสวนสนามในวันที่ 10 ตุลาคม ค.ศ.1949 เป็นการเดินสวนสนามที่จัดขึ้นเป็นครั้งแรกต่อสาธารณชนที่ไต้หวัน มี เฉิน เฉิง ดำรงตำแหน่งเจ้าหน้าที่ตรวจตราการเดินสวนสนาม การเดินสวนสนามได้ถูกยกเลิกเนื่องจากเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้งและการวิพากษ์วิจารณ์ว่าสิ้นเปลืองงบประมาณ จนถึงสมัยที่ประธานาธิบดี หม่า อิงจิ่วได้ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี การเดินสวนสนามได้ถูกจัดขึ้นอีกครั้ง

การเดินสวนสนามจะมีธรรมเนียมการตะโกนร้องขานว่า "สาธารณรัฐจีนจงเจริญ!" ("จงฮวา หมิงกว๋อ ว่านซุ่ย!" (中華民國萬歲)) หลังจากการสิ้นสุดการประกาศสุนทรพจน์ของประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐจีน

การเฉลิมฉลองนอกดินแดนไต้หวัน[แก้]

จีนแผ่นดินใหญ่[แก้]

ฮ่องกง และ มาเก๊า[แก้]

ดินแดนโพ้นทะเล[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]