วัดใหญ่ท่าเสา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัดใหญ่ท่าเสา
ซุ้มประตูวัดใหญ่ท่าเสา
แผนที่
ชื่อสามัญวัดใหญ่ท่าเสา
ที่ตั้งตำบลท่าอิฐ อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ 53000
ประเภทวัดราษฎร์
นิกายเถรวาท (มหานิกาย)
เจ้าอาวาสพระครูอุปถัมภูริทัต (พระไทย สปญฺโญ)
กิจกรรม433 ตำบลท่าอิฐ อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ 53000
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

วัดใหญ่ท่าเสา ตั้งอยู่ที่ถนนสำราญรื่น ตำบลท่าอิฐ อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นวัดโบราณ สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย[1] มีโบราณสถานและปูชนียวัตถุมากมาย ปัจจุบันวัดใหญ่ท่าเสาได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่ม 114 ลงวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2540 มีพื้นที่ได้รับประกาศเป็นโบราณสถานประมาณ 2 ไร่ 3 งาน 51 ตารางวา[2]

ประวัติ[แก้]

อาณาเขตที่ตั้งวัด[แก้]

  • ที่ดินอันเป็นที่ตั้งวัด 1 แปลง มีเนี้อที่ 32 ไร่ 2 งาน 55 ตารางวา
  • ที่ดินอันเป็นที่ธรณีสงฆ์ ตั้งอยู่หน้าวัดติดถนนสำราญรื่นจนถึงลำน้ำน่าน มีเนื้อที่ 11ไร่ 2 งาน 56 ตารางวา

อาณาเขตโบราณสถาน[แก้]

วัดใหญ่ท่าเสาได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่ม 114 ลงวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2540 มีพื้นที่ได้รับประกาศเป็นโบราณสถานประมาณ 2 ไร่ 3 งาน 51 ตารางวา ครอบคลุมเขตพุทธาวาสที่เป็นที่ตั้งอุโบสถ หอไตรและศาลาการเปรียญทั้งหมด

ศาสนสถาน-โบราณสถาน[แก้]

ศาสนสถาน[แก้]

  • วิหารหลวงพ่อเย็ก
  • อาคารปฏิบัติธรรม
  • กุฏิ

โบราณสถาน[แก้]

  • หอไตร
  • อุโบสถ
  • ศาลาการเปรียญ

ปูชนียวัตถุ-โบราณวัตถุ[แก้]

ปูชนียวัตถุ[แก้]

  • รูปหล่อหลวงพ่อเย็ก

โบราณวัตถุ[แก้]

  • ยานมาศ สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาในรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ จัดแสดงอยู่ที่ศาลาการเปรียญ ยานมาศนี้เชื่อกันว่าเป็นยานมาศที่พระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาอุทิศถวายบูชาพระมหาธาตุเมืองฝาง และอาจใช้เป็นยานมาศประจำตัวพระสังฆราชาเมืองสวางคบุรี (เมืองฝาง) เพราะที่มาของยานมาศนี้สันนิษฐานว่า นำมาจากวัดพระฝางสวางคบุรีมุนีนาถในราวสมัยรัชกาลที่ 4 โดยหลวงพ่อเย็ก อดีตเจ้าอาวาสวัดใหญ่ท่าเสาซึ่งได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสวางคบุรี

ในปี พ.ศ. 2444 สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงตรวจพบว่าวัดท่าเสามียานมาศลักษณะเดียวกัน 2 หลัง[3] ปัจจุบันเหลือเพียงหลังเดียว โดยหลังที่จัดแสดงอยู่ในปัจจุบันได้ย้ายกลับมาจากศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดอุตรดิตถ์ในปี พ.ศ. 2551

ข้อมูลจำเพาะ[แก้]

  • ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2423

อ้างอิง[แก้]

  1. "สารานุกรมวัฒนธรรมไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-27. สืบค้นเมื่อ 2007-09-05.
  2. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนโบราณสถานและกำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน (วัดเมืองปอน (ร้าง) และวัดต่อแพ จังหวัดแม่ฮ่องสอนวัดธาตุโขง (ร้าง)วัดธาตุเขียว (ร้าง)วัดร้อยข้อ (ร้าง) จังหวัดเชียงรายวัดเชียงแสน วัดหมื่นพริก (ร้าง) จังหวัดเชียงใหม่ วัดหนองห้า จังหวัดพะเยา วัดใหญ่ชัยมงคล วัดยมราช จังหวัดพิษณุโลก วัดคุ วัดดงดีปลี วัดโบสถ์ จังหวัดสุโขทัย วัดพระเจดีย์ทอง จังหวัดกำแพงเพชร เจดีย์ยุทธหัตถี วัดพระบรมธาตุ จังตาก วัดห้วยเขน จังหวัดพิจิตร วัดใหญ่ท่าเสา จังหวัดอุตรดิตถ์), เล่ม 114, พิเศษ 87 ง, 29 กันยายน พ.ศ. 2540, หน้า 2
  3. สมเด็จ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์.จดหมายเหตุระยะทางไปพิษณุโลก[ลิงก์เสีย]. (พระนคร : โรงพิมพ์พระจันทร์, ๒๕๐๖). หน้า ๑๒.