วัดโพธิ์รัตนาราม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัดโพธิ์รัตนาราม
แผนที่
ที่ตั้งตำบลปากแรต อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี
ประเภทวัดราษฎร์
นิกายมหานิกาย
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

วัดโพธิ์รัตนาราม ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 5 ตำบลปากแรต อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี เป็นวัดหลักของตำบลปากแรต ตั้งบนพื้นที่ 15 ไร่ เป็นวัดราษฎร์ สังกัดมหานิกาย ปัจจุบันมีพระครูโพธิรัตนาธร(สุรัตน์ธมฺมสโร) เป็นเจ้าอาวาส ปัจจุบันมีพระจำพรรษาประมาณ 30 รูป เป็นหนึ่งในวัดที่ได้รับการยกย่องด้านวิปัสสนากรรมฐานมากที่สุดของอำเภอบ้านโป่ง และชุมชนก็ร่วมใจในการจัดกิจกรรม

ประวัติ[แก้]

  • ประวัติความเป็นมาของวัดโพธิ์รัตนาราม เริ่มต้นขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2485 ซึ่งตรงกับปีที่ประเทศสยามของเราเกิด สงครามโลกครั้งที่ 2 บริเวณวัดดอนตูมเป็นที่ตั้งค่ายทหารญี่ปุ่นและเฉลยต่างชาติเป็นจุดยุทธศาสตร์ของ ข้า ศึกทำให้พระภิกษุสามเณรไม่ปลอดภัยทั้งทางบกและทางอากาศท่านพระครูปัญญาธิการ(หลวงพ่อเต่า) ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสพร้อมด้วยพระครูโสภณรัตนากร(หลวงพ่อเพิ่ม)รองเจ้าอาวาส ท่านทั้งสองได้พาพระภิกษุ สามเณรอพยพหลบหนีภัยสงครามมาสร้างกุฎิมุงหลังคาด้วยจากหลังเล็กๆ เพื่ออา ศัยจำพรรษาเป็นการ ชั่วคราวในที่ของวัดโพธิ์รัตนารามปัจจุบัน ซึ่งเดิมทีเป็นป่าละเมาะและเป็นที่ลุ่มไม่ค่อยมีคนอาศัยอยู่
  • ต่อมาใน ปีพ.ศ. 2487 เมื่อสงครามเลิกพระภิกษุสามเณรก็กลับวัดดอนตูมตามเดิมในระหว่างที่พระภิกษุสามเณรพัก อาศัยในช่วงเวลาที่เกิดสงครามอยู่นั้น ชาวบ้านเห็นความสะดวกในการทำบุญตักบาตรซึ่งมีจิตศรัทธาร่วม แรงร่วมใจกันสละทรัพย์สินซื้อ ที่ดินบริเวณนั้นเป็นเนื้อที่ 26ไร่ 3 งาน เพื่อสร้างที่พักสงฆ์ต่อมาชาวบ้านจึง ได้ไปนิมนต์พระภิกษุสงฆ์มาจำพรรษาโดยให้ชื่อว่า “ที่พักสงฆ์โพธิ์คู่” ระหว่างนั้นมีหลวงพ่อหมอกเป็นเจ้าสำ นัก
  • ต่อมาเมื่อปีพุทธศักราช 2500 สำนักสงฆ์โพธิ์คู่ ได้เปลี่ยนฐานะ เป็นวัดโพธิ์รัตนาราม มาจนถึงปัจจุบัน ส่วน มากชาวบ้านมักจะเรียกว่า วัดโพธิ์คู่ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม พุทธศัก ราช 2504 และที่กว้าง 20เมตร ยาว 31.50 เซนติเมตรและได้ประกอบพิธีผูกพันธสีมาปิดทองฝังลูกนิมิต เมื่อปีพุทธศักราช 2509 ปัจจุบันพระอุโบสถได้ทำการบูรณะใหม่ ในรูปแบบสแตนเลสคือกุนอกและกุในด้วย สแตนเลส กำแพงแก้วก็หุ้มด้วยสแตนเลสทั้งหมดงบประมาณ 15 ล้านบาท
  • ในปีพุทธศักราช2500ในปีที่ได้เป็นวัดนั้นระหว่างนั้นพระอธิการไปล์เป็นเจ้าอาวาสได้สร้างศาลาการเปรียญ ขึ้น 1 หลัง เป็นอาคารไม้ 2 ชั้น กว้าง 15.50 เมตร ยาว 17 เมตร ปัจจุบัน ได้ผุพังไปตามกาลเวลาและได้ทำ การรื้อถอน ในปีพุทธศักราช 2542 และได้ทำการสร้างขึ้นใหม่ กว้าง 24 เมตร ยาว 30 เมตร โดยใช้ชื่อว่า ศาลาศรัทธาประชาสรรวค์และได้ทำการฉลองไปเมื่อวันที่ 7 กันยายน พุทธศักราช 2544

ในปีพุทธศักราช 2500 นั้น หลวงพ่อไปล่ยังได้สร้าง มณฑปประดิษฐาน พระป่าเลไลย์อีก 1 หลัง กว้าง 8 เมตร ยาว 10 เมตรปัจจุบันนี้ทางกรรมการวัดได้ทำการบูรณะใหม่ขึ้นมาแทนหลังเก่ากว้าง 11.05 เมตร ยาว 13.05 เมตร ใช้เวลาการสร้างในเวลา 3เดือนใช้งบประมาณในการบูรณะทั้งสิ้น 536,334 บาทสร้าง แล้วเสร็จในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2549

  • ต่อมาในปีพุทธศักราช 2501โดยการนำของพระครูโสภณรัตนากรและหลวงพ่อไปล่พร้อมด้วยบ้านหนองปลาตองช่วยกันสละทรัพย์สร้างโรงเรียนขึ้นมา 1หลังแบบอาคารชั้นเดียวมี 4ห้องเรียน(ประถมปีที่ 1-4) และมีมุขหน้า 1 ห้องรวมเป็น 5 ห้อง สร้างด้วย เงินชาวบ้านทั้งหมด 55,500 บาทรวมค่าก่อสร้างทั้งสิ้น 100,000 บาท และจัดพิธีเปิดป้ายอาคารเรียน เมื่อวันที่ 15มิถุนายน พ.ศ. 2505 โดยมีหลวงพ่อเพิ่มและ หลวงพ่อไปล์เป็นประธานฝ่ายสงฆ์และนายอำเภอบ้านโป่งเป็นประธานเปิดป้ายอาคารเรียนที่ชื่อ “โรงเรียน วัดโพธิ์รัตนาราม” หลังจากนั้นอีกไม่นาน หลวงพ่อไปล์ ท่านได้ทำหนังสือลาออกจากการเป็นสมภาร แล้ว กลับไปจำพรรษาที่วัดท่าพระเขตภาษีเจริญกรุงเทพและมรณภาพที่นั้น
  • สรุปได้ว่าหลวงพ่อหมอกเป็น เจ้าสำนักสงฆ์โพธิ์คู่ได้ 5 ปีจากปี 2485-2490 จากนั้น หลวงพ่อไปล่ก็เป็น เจ้าอาวาส จนได้ตั้งวัด และได้ขอวิสุงคามสีมาเมื่อปี พ.ศ. 2504 สุดท้ายท่านก็สร้างโรงเรียนวัดโพธิ์รัตนา รามแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2505จากนั้นท่านก็กลับวัดท่าพระอันเป็นภูมิลำเนาเดิมของท่าน รวมแล้วท่านเป็นเจ้าอาวาสที่ วัดนี้ได้ 15 พรร ษา จากปี พ.ศ. 2490-2505 เมื่อวัดว่างจากสมภารไม่นานชาวบ้านก็ได้นิมนต์พระสมุห์ทองใบ(ไม่ทราบ ฉายา) มาจากนนทบุรี มาดำรงตำแหน่ง เจ้าอาวาสช่วงนั้น นับว่าเป็นบุญต่อ วัดโพธิ์คู่เป็นอย่างมากที่ได้ สมภารเก่ง และเป็นที่ศรัทธาแก่ญาติโยมในสมัยนั้นเป็นอย่างมาก ท่านเห็นว่าทางวัดได้ขอวิสุงคามสีมาไว้ แล้วแต่ยังไม่ได้สร้างอุโบสถท่านจึงได้ริเริ่มสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2507 มาแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2508 ปิดทอง ฝังลูกลูกนิมิตในปีพ.ศ. 2509ต่อมาในปี พ.ศ. 2517ท่านได้ลาสิกขาต่อมาชาวบ้าน(น่ายห่อ ยืนนาน) ได้ไปนิมนต์พระวิชัย(ไม่ทราบฉายา)มาเป็นสมภารต่อจากพระสมุห์ทองใบแต่ก็อยู่ได้แค่ปีเดียวก็เกิดมีปัญหาและท่านได้ลาออกจากวัดไปในปี พ.ศ. 2514 และในปีเดียวกันนั้นก็ได้หลวงพ่อหลงมาเป็นสมภารแต่ก็ อยู่ได้เพียง 2 พรรษา ก็มรณาพ
  • ต่อมาปี พ.ศ. 2516 ก็แต่งตั้งพระอธิการคง จิตตคโมเป็นเจ้าอาวาสและ หลวงพ่อคงรูปนี้ท่านเป็นพระท้องถิ่นคือบ้านท่านอยู่ข้างวัดนี้เอ'หลวงพ่อคง ท่านเป็นพระชอบธุดงค์เข้าป่าแสงหาครูบาอาจารย์ที่เก่ง เพื่อไปเรียนวิชาอาคมต่าง ๆ ต่อมา ท่านก็สร้าง วัตถุมงคลไวhหลายอย่าง เช่น ปลัดขิก พระสมเด็จ ด้านหลังเป็นจิ้งจกสองหาง และชนิดที่ เป็น เหรียญ สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2520 ต่อมาประมาญในปี พ.ศ. 2530 ท่าน ได้วางรากฐานศาลาการเปรียญ ขึ้น 1 หลัง แต่ไม่แล้วเสร็จท่านก๊มรณภาพเสียก่อน ใน พ.ศ. 2535 ด้วยอาการหัวใจวายเฉียบพลันทางวัดดอนตูม โดยหลวงพ่อพระครูอินทคุณาวสัย (เจ้าอาวาสวัดดอนตูม)และเป็นเจ้าคณะตำบลบ้านโป่ง ต. สวนกล้วย ต.ปากแรต ท่านก็ได้ส่งพระอาคมอานันโทมารักษาการเจ้าอาวาสวัดโพธิ์รัตนารามแต่ก็อยู่ ได้เพียงเดือนเดียวก็ลาออก เพราะท่านมีสำนักของท่านอยู่แล้ว คือ วัดปากลำขาแข้งจ.กาญจนบุรีเมื่อพระ อาคมอานันโทลาออก หลวงพ่อพระครูอินทคุณาวสัย ได้พิจารณารูปใหม่ขึ้นมาแทนที่ จึงเห็นสมควร แก่ หลวงพ่อจรูญ อุชุจาโร ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสกิจการสงฆ์ท่านได้สานต่อสร้างศาลา (คงประชา ศรัทธา) จนแล้วเสร็จและสร้างหอสวดมนต์ ญ.สส ขึ้นอีก 1 หลัง และศาลาศรัทธาประชาสวรรค์ และ หอ ระฆังประทับตราสัญลักษณ์ 50 ปี ครองราชย์ และ กุฎิ เจ้าอาวาสอีก 1 หลัง และซุ้มประตูวัดพร้อมแก้ว และปัจจุบัน นี้กำลังทำการ บูรณะอุโบสกด้วยสแตนเลสพร้อมกำแพงแก้วกำหนดแล้ว เสร็จสมบูรณ์ ประ มาณ ปี พ.ศ. 2553

รายนามเจ้าอาวาส[แก้]

  • หลวงพ่อหมอก พ.ศ. 2485 ถึง พ.ศ. 2490
  • หลวงพ่อไปล์ พ.ศ. 2490 ถึง พ.ศ. 2505
  • พระสมุห์ทองใบ พ.ศ. 2505 ถึง พ.ศ. 2513
  • พระอาจารย์วิชัย พ.ศ. 2513 ถึง พ.ศ. 2514
  • หลวงพ่อหลง พ.ศ. 2514 ถึง พ.ศ. 2516
  • พระอธิการคง จิตตคโม พ.ศ. 2516 ถึง พ.ศ. 2535
  • พระครูโสภิตประชาสรรค์ (จรูญ อุชุจาโร) พ.ศ. 2535 ถึง พ.ศ. 2551
  • พระครูโพธิรัตนาธร (สุรัตน์ ธมมฺสโร) พ.ศ. 2551 ถึง ปัจจุบัน