วัดห้วยปลาดุก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัดห้วยปลาดุก
แผนที่
ที่ตั้งตำบลหินกอง อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี
ประเภทวัดราษฎร์
นิกายมหานิกาย
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

วัดห้วยปลาดุก สังกัด มหานิกาย คณะสงฆ์ภาค 15 ตั้งอยู่บ้านห้วยปลาดุก เลขที่ 59 หมู่ 7 ตำบลหินกอง อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี รหัสไปรษณีย์ 70000ได้รับอนุญาตให้ตั้งเป็นวัด พ.ศ. 2470 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา พ.ศ. 2472 มีเนื้อที่ 23 ไร่

ประวัติ[แก้]

วัดห้วยปลาดุก สร้าง ปี พ.ศ. 2470 ความเป็นมาของวัดห้วยปลาดุก ตำบลหินกอง อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี เป็นสถานที่ตั้งวัดห้วยปลาดุกในขณะนั้นติดต่อกับลำห้วยซึ่งมีปลาดุกมากชุกชุมมาก มีลำห้วยไหลผ่านซึ่งติดกับบ้านทุ่งไล่ไก่หนองน้ำแถบนี้ปลาดุกชุกชุมจึงเรียกขานกันต่อมาว่า “บ้านห้วยปลาดุก” หมู่บ้านห้วยปลาดุกกับหมู่บ้านทุ่งไล่ไก่อยู่ติดกันและอยู่ตำบลเดียวกัน

วัดห้วยปลาดุกเป็นวัดเล็กและมีกุฏิศาลาหลังเล็ก ๆ ประมาณ 2-3 หลังเพื่อใช้ในการทำบุญทำกุศล ศาลาที่สร้างในสมัยนั้นสร้างด้วยไม้โดยญาติโยมช่วยกันหาไม้มาก่อสร้างเมื่อมีศาลาได้มีพระสงฆ์จำพรรษาอยู่ปีละ 3 รูป ไม่มีพระจะปกครองสงฆ์ ที่จำพรรษา ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ได้เดินทางไปอาราธนาพระผู้ใหญ่อาวุโสมาจากวัดข้างเคียง ท่านมีชื่อว่า "อาจารย์เชิด เตชวโร" มาปกครองดูแลสงฆ์ในขณะนั้น ถือว่าอาจารย์เชิด เดชวโร เป็นเจ้าอาวาสรูปแรกที่ปกครองสงฆ์ เมื่อท่านได้มาอยู่ที่วัดก็เริ่มพัฒนาวัดโดยการสร้างอุโบสถและถาวรวัตถุหลายอย่าง แต่ยังไม่แล้วเสร็จท่านได้จำพรรษาอยู่วัดห้วยปลาดุกในขณะนั้นเป็นเวลานานต่อมาท่านอายุมากร่างกายชราภาพลงท่านก็ได้มรณภาพลง

เมื่อท่านอาจารย์เชิด เดชวโร ได้มรณภาพลง ทางคณะสงฆ์และชาวบ้านได้เดินทางไปอาราธนาพระผู้ใหญ่อาวุโส มาดูแลวัดและพระภิกษุสงฆ์ ท่านมีชื่อว่า “พระอธิการพันธ์ ครุฑน้อย” ท่านพระอธิการพันธ์ ครุฑน้อยได้จำพรรษาอยู่ที่วัดไม่นานเท่าใดท่านก็มรณภาพลง

เมื่อท่านพระอธิการพันธ์ ครุฑน้อย ได้มรณภาพลงทางคณะสงฆ์และชาวบ้านได้เดินทางไปอาราธนาพระผู้ใหญ่อาวุโส มาดูแลวัดและพระภิกษุสงฆ์ ท่านมีชื่อว่า "พระอาจารย์เจือน อาจารสมฺปนฺโน" จากวัดห้วยไผ่ อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี ได้เดินทางมาจำพรรษาอยู่ที่วัดห้วยปลาดุก ในขณะที่ท่านอาศัยและจำพรรษาอยู่ที่วัดท่านอาจารย์มีความคิดที่จะสร้างอุโบสถ ท่านจึงทำเรื่องการสร้างอุโบสถ และขอพัทธสีมา มายังกรมการศาสนา เห็นความจำเป็นจึงอนุญาตให้ที่ดิน ในวัดเพื่อสร้างอุโบสถ เมื่อทางกรมศาสนาอนุญาตแล้วการสร้างอุโบสถดำเนินไปโดยลำดับและทำการปิดทองผูกพัทธสีมาปิดทองฝังลูกนิมิตในสมัยหลวงพ่อเจือน อาจารสมฺปนฺโน

รายนามเจ้าอาวาส[แก้]

  • พระอาจารย์เชิด เดชวโร
  • พระอธิการพันธ์ ครุฑน้อย
  • พระครูอมรธรรมรัต (เจือน อาจารสมฺปนฺโน) พ.ศ. 2492-พ.ศ. 2540
  • พระปลัดบรรจง จนฺทปญฺโญ พ.ศ. 2540-ปัจจุบัน

ศาสนสถานภายในวัด[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]