วัดหาดเสือเต้น

พิกัด: 17°39′32″N 100°10′57″E / 17.658931°N 100.182629°E / 17.658931; 100.182629
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัดหาดเสือเต้น
แผนที่
ชื่อสามัญวัดหาดเสือเต้น
ที่ตั้งบ้านหาดเสือเต้น หมู่ที่ 6 ตำบลคุ้งตะเภา อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ 53000
ประเภทวัดราษฎร์
นิกายเถรวาท มหานิกาย
เจ้าอาวาสพระอธิการชอุ่ม จนทธมโม
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

วัดหาดเสือเต้น ตั้งอยู่ที่ บ้านหาดเสือเต้น หมู่ที่ 6 ตำบลคุ้งตะเภา อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ สังกัดเขตการปกครองคณะสงฆ์ตำบลคุ้งตะเภา ตัววัดมีเนื้อที่ 10 ไร่ 3 งาน 60 ตารางวา ตั้งอยู่กลางหมู่บ้านหาดเสือเต้น ริมถนนทางหลวงจังหวัด หมายเลข 1213 สายป่าขนุน-ห้วยฉลอง

ประวัติ[แก้]

วัดหาดเสือเต้น ในอดีตสถานที่ตั้งวัดนั้นยังเป็นที่ป่า บริเวณทางด้านหน้าวัดเป็นทางเรียบ ด้านหลังเป็นหาดทรายของแม่น้ำน่าน ตามคำบอกเล่าสืบต่อกันมาว่ามีเสืออยู่อาศัยในบริเวณป่านั้น เมื่อถึงเวลากลางคืนพระจันทร์เต็มดวง เสือตัวนั้นชอบออกมาหากิน และมาเล่นที่ชายหาดกินน้ำ บางทีก็กระโดดโลดเต้นเล่นอยู่ตรงนั้น เลยเรียกหมู่บ้านนั้นว่าบ้านหาดเสือเต้น เพื่อจำง่ายจึงตั้งชื่อวัดให้เป็นอันเดียวกับหมู่บ้านว่า วัดหาดเสือเต้น

วัดหาดเสือเต้น ปัจจุบันมีเนื้อที่ดินในโฉนด 8 ไร่ 2 งาน ตั้งอยู่ที่ราบกลางหมู่ที่ 6 ด้านหน้าติดถนนสายป่าขนุน - ห้วยฉลอง ด้านหลังติดแม่น้ำน่าน อาณาเขตครอบคลุมศรัทธาพุทธศาสนิกชน 2 หมู่บ้าน คือหมู่ 6 และ 8 ตำบลคุ้งตะเภา ตัววัดห่างจากตัวเมืองอุตรดิตถ์ 13 กิโลเมตร ผู้สร้างวัดคือ พ่อหนู คงรอด และพ่อคำ อินมา (ผู้มอบถวายที่ดินสร้างวัดคือ พ่อมี อินยา (อดีตผู้ใหญ่บ้านหมู่ 6) และ พ่อเภา จินดาประทุม) และได้รับอนุญาตให้ตั้งวัดเมื่อปี พ.ศ. 2530[1] ต่อมาก็มีผู้ศรัทธามาสร้างและบูรณะพัฒนาวัดมาตลอดจนถึงปัจจุบัน

รายนามเจ้าอาวาส ตั้งแต่รูปแรกจนถึงปัจจุบัน[แก้]

  • รูปที่ 1. พระอธิการสวงค์ อิสสโร พ.ศ. 2521 ถึง พ.ศ. 2522
  • รูปที่ 2. พระครูประดิษฐ์ ฐานกโร พ.ศ. 2522 ถึง พ.ศ. 2539
  • รูปที่ 3. พระอธิการชอุ่ม จนทธมโม พ.ศ. 2539 ถึง ปัจจุบัน


อาณาเขตที่ตั้งวัด[แก้]

  • ทิศเหนือ ยาว 65 เส้น 2 ศอก จดที่นางอิน / นางย้อย
  • ทิศใต้ ยาว 65 เส้น จดถนนป่าขนุน - ห้วยฉลอง
  • ทิศตะวันออก ยาว 62 เส้น 2 ศอก จดที่นางแก้ว / นายบุญ
  • ทิศตะวันตก ยาว 46 เส้น จดทางสาธารณะ

พื้นที่ตั้งของวัดมีลักษณะอยู่กลางลานหมู่บ้าน ด้านหน้าติดถนนทางหลวงจังหวัด หมายเลข 1213 สายป่าขนุน-ห้วยฉลอง ด้านหลังติดแม่น้ำน่าน ด้านข้างทั้ง 2 ข้าง เป็นหมู่บ้านหาดเสือเต้น

ศาสนสถาน-ถาวรวัตถุ[แก้]

ซุ้มประตูวัดหาดเสือเต้นสร้างปี พ.ศ. 2550
  • อุโบสถ กว้าง 9 เมตร ยาว 18 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2534 เป็นอาคารคอนกรีต เสริมเหล็ก จิตรกรรมฝาหนังพระเจ้าสิบชาติ (พระเวสสันดร)
  • ศาลาการเปรียญ กว้าง 22 เมตร ยาว 25 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2506 เป็นอาคารไม้ มุงหลังคากระเบื้อง
  • หอสวดมนต์ กว้าง 8 เมตร ยาว 15 เมตร สร้างเมื่อพ.ศ. 2521 เป็นอาคาร 2 ชั้น ครึ่งตึกครึ่งไม้ ชั้นบนเป็นไม้ ชั้นล่างเป็นคอนกรีต
  • กุฏิสงฆ์ จำนวน 1 หลัง เป็นอาคารไม้ 1 หลัง
  • ซุ้มประตูไม้ทรงไทย จำนวน 1 ซุ้ม
  • ศาลาเอนกประสงค์ กว้าง 12 เมตร ยาว 30 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2530 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก
  • ศาลาบำเพ็ญกุศล จำนวน 1 หลัง สร้างด้วยไม้ 1 หลัง

ข้อมูลจำเพาะ[แก้]

  • ได้รับพระบรมราชานุญาตให้สร้างวัด ตามพระราชบัญญัติลักษณะการปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. 121 เมื่อปี พ.ศ. 2430

ที่ดินเฉพาะบริเวณที่ตั้งวัด มีเนื้อที่ 10 ไร่ 3 งาน 60 ตารางวา โดยมีหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นโฉนด เลขที่ 8378 กรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นของวัด

สังกัดการปกครองคณะสงฆ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  • ชอุ่ม จนทธมโม.พระอธิการ. เอกสาร . อุตรดิตถ์ : วัดหาดเสือเต้น, ๒๕๔๗. (อัดสำเนา)

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

17°39′32″N 100°10′57″E / 17.658931°N 100.182629°E / 17.658931; 100.182629