วัดสันปูเลยสะหลีเวียงแก้ว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก วัดสันปูเลย)
วัดสันปูเลยสะหลีเวียงแก้ว
แผนที่
ที่ตั้งตำบลสันปูเลย อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่
ประเภทวัดราษฎร์
นิกายมหานิกาย
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา
วัดสันปูเลยสะหลีเวียงแก้ว
พระครูปลัดวรกร เขมปญฺโญ เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน

วัดสันปูเลยสะหลีเวียงแก้ว เดิมชื่อ วัดสะหลีเวียงแก้ว สันนิฐานว่าสร้างขึ้นเมื่อประมาณ ปี พ.ศ. 2280 และได้รกร้างไป โดยได้มีเริ่มการบูรณะและสร้างเสนาสนะขึ้นมาใหม่โดยปรากฏในทะเบียนรายชื่อวัดของจังหวัดเชียงใหม่ และสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เมื่อวันที่ 1 เดือน ตุลาคม พ.ศ. 2344 และมีชื่อวัดใหม่ว่า “วัดสันปูเลยสะหลีเวียงแก้ว” โดยตั้งอยู่บ้านสันปูเลย เลขที่ 66 หมู่ที่ 1 บ้านสันปูเลย ตำบลสันปูเลย อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่  สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย  ในบริเวณวัดสันปูเลยสะหลีเวียงแก้ว มีเนื้อที่ 12 ไร่ เศษฯ ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของ มูลนิธิพระครูบาน้อย เขมปัญโญ "เพื่อสงเคราะห์เลี้ยงเด็กกำพร้าผู้ยากไร้และการสาธารณสงเคราะห์" และ สมาคมศิษย์วัดสันปูเลยสะหลีเวียงแก้ว จังหวัดเชียงใหม่

วัดสันปูเลย ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 10 เดือน สิงหาคม พ.ศ. 2491 เขตวิสุงคามสีมา กว้าง 40 เมตร ยาว 70 เมตร[1]

เมื่อวันที่ 24 เดือน เมษายน พุทธศักราช 2556 วัดสันปูเลย ได้รับประกาศจากสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ และโดยผ่านความเห็นชอบมติของมหาเถรสมาคม ประกาศให้เปลี่ยนแปลงชื่อวัดใหม่ เป็น วัดสันปูเลยสะหลีเวียงแก้ว อย่างถูกต้องโดยปรากฏในประกาศราชกิจจานุเบกษาหน้าที่ 20 เล่ม 130 ตอนที่ 83 ง ลงวันที่ 8 สิงหาคม 2556[2]

วัดสันปูเลยสะหลีเวียงแก้ว ยังเป็นวัดที่เข้าร่วมโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวเส้นทางแสวงบุญในมิติทางศาสนา ปี พ.ศ. 2558 ของ กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม

สำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดเชียงใหม่ แห่งที่ 19 (โดยมติมหาเถรสมาคม)[แก้]

มติมหาเถรสมาคม ครั้งที่ 14/2560 มติที่ 344/2560 เมื่อวันที่ 30 เดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2560[3] ได้พิจารณาอนุมัติให้วัดสันปูเลยสะหลีเวียงแก้ว ตำบลสันปูเลย อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ได้จัดตั้งสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดเชียงใหม่ แห่งที่ 19 (โดยมติมหาเถรสมาคม) ตามความในข้อ 9 แห่งระเบียบมหาเถรสมาคม ว่าด้วยสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด พ.ศ. 2558 

วัดสันปูเลยสะหลีเวียงแก้ว อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ได้ให้การอบรมสั่งสอนการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน และส่งเสริมให้พุทธศาสนิกชนได้ปฏิบัติธรรมตามแนวสติปัฏฐาน 4 เพื่อถึงธรรมกายของพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นที่รู้จักในผู้ปฏิบัติธรรมนี้ว่า “วิชชาธรรมกาย” และโดยได้ยึดหลักคำสอนของพระเดชพระคุณ หลวงพ่อวัดปากน้ำ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) และพระเดชพระคุณหลวงพ่อ พระราชพรหมเถร วิ. อดีตรองเจ้าอาวาสและอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระ วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ตลอดถึงพระเดชพระคุณหลวงพ่อพระเทพญาณมงคล วิ. (เสริมชัย ชยมงฺคโล) เจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม เจ้าสำนักและอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนา สำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดราชบุรี ประธานศูนย์ประสานงานสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดแห่งประเทศไทย (ศปท.)

เจ้าอาวาส[แก้]

การบริหารการปกครองมีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบนาม 12 รูป ดังนี้

  1. พระครูบาแก้ว รตนปญฺโญ
  2. พระครูบาคำแสน เขมวณฺโณ
  3. พระครูบาทวน สุมงฺคโล
  4. เจ้าอธิการอินถา อาภาโส (อดีตเจ้าคณะตำบลสันปูเลย)
  5. เจ้าอธิการดวงตา รุจิตธมฺโม (อดีตเจ้าคณะตำบลสันปูเลย)
  6. พระครูสังฆรักษ์บุญรัตน์ ปุญฺญรโต
  7. พระเถาวัลย์ ธมฺมรโต (รักษาการแทนเจ้าอาวาส)
  8. พระจรัญ ยสวฑฺฒโน (รักษาการแทนเจ้าอาวาส)
  9. พระศรีบุตร อภิวฑฺฒโน (รักษาการแทนเจ้าอาวาส)
  10. พระอธิการชัยเดช กิตฺติภทฺโท
  11. พระครูพิชัย โชติปญฺโญ
  12. พระครูปลัดวรกร เขมปญฺโญ (ครูบาน้อย)

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]