วัดช้างให้ราษฎร์บูรณาราม

พิกัด: 6°40′12″N 101°10′06″E / 6.6699°N 101.168467°E / 6.6699; 101.168467
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัดช้างให้ราษฎร์บูรณาราม
แผนที่
ชื่อสามัญวัดช้างให้ราษฎร์บูรณาราม, วัดช้างให้
ที่ตั้งตำบลควนโนรี อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี
ประเภทวัดราษฎร์
นิกายมหานิกาย
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

วัดช้างให้ราษฎร์บูรณาราม เดิมชื่อ วัดช้างให้ ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 ตำบลควนโนรี อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี สังกัดคณะสงฆ์ มหานิกาย ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 ตามพระราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 74 ตอน 15 หน้า 451 - 252 เขตวิสุงคามสีมา ยาว 80 เมตร กว้าง 40 เมตร เนื้อที่จำนวน 12 ไร่ ทำพิธีผูกพัทธสีมา เมื่อวันเสาร์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2501 ตรงกับวันขึ้น 13 ค่ำ

ประวัติ[แก้]

พระยาแก้มดำเจ้าเมืองไทรบุรี สร้างเมืองใหม่ได้อธิษฐานปล่อยช้างให้ออกเดินทางไปในป่า โดยมีเจ้าเมืองและไพร่พลเดินติดตามไป เมื่อช้างหยุดอยู่ ณ ที่แห่งหนึ่ง แล้วร้องขึ้นสามครั้ง จึงสร้างเมืองใหม่ ณ ที่ตรงนั้นสมัยโบราณกาล คนมลายูซึ่งยังนับถือพุทธศาสนา พระยาแก้มดำจึงได้สร้างวัดช้างให้

ต่อมาใน พ.ศ. 1300 กษัตริย์ครองกรุงศรีวิชัยแห่งปาเล็มบังมีอานุภาพแผ่อาณาเขตเข้ามาถึงแหลมมลายูและได้ก่อสรางปูชนีย์ทางพระพุทธศาสนาไว้หลายแห่ง ศิลาจารึกแผ่นหนึ่งที่นครศรีธรรมราชจารึกว่า "พ.ศ. 1318 เจ้าเมืองศรีวิชัยได้มาก่อพระเจดีย์องค์หนึ่งที่นครศรีธรรมราชและพระพุทธไสยาสน์ในถ้ำแห่งภูเขาวัดหน้าถ้ำ (ปัจจุบันชื่อ วัดคูหาภิมุข) ตั้งอยู่ ตำบลหน้าถ้ำ อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา ได้สร้างในสมัยศรีวิชัย ระหว่าง พ.ศ. 1318 - พ.ศ. 1400"

ต่อมาได้ปฏิสังขรณ์เพิ่มเติม ซึ่งคงปรากฏอยู่กระทั่งบัดนี้ องค์พระยาวถึง 81 ฟุต 1 นิ้ว ขนาดใหญ่วัดโดยรอบองค์พระ 35 ฟุต

พ.ศ. 1300 กษัตริย์ครองกรุงศรีวิชัยแห่งปาเล็มบัง สร้างเมือง ณ วัดราษฎร์บูรณะ แต่ต่อมาวัดราษฎร์บูรณะได้กลายเป็นวัดร้าง

พ.ศ. 2478 ขุนธำรงพันธุ์ภักดี ขุนพิทักษ์รายา ขายช้างเชื่อกหนึ่ง นำเงินไปบูรณะวัดช้างให้ วัดราษฎร์บูรณะได้เป็นวัดร้าง

พ.ศ. 2480 สถานที่แห่งนี้เป็นเพียงป่ารก มีต้นไม้ใหญ่ พระครูมนูญสมณการ วัดพลานุภาพ ได้ชักชวนชาวบ้านช้างให้และใกล้เคียงไปทำการแผ้วถางวัดร้างแห่งนี้ โดยจัดบูรณะให้เป็นวัดมีพระสงฆ์เข้าอยู่จำพรรษา

พ.ศ. 2484 เจ้าอาวาสได้ลาสิกขา วัดราษฎร์บูรณะจึงไม่มีเจ้าอาวาส วัดราษฎร์บูรณะจึงได้กลายเป็นวัดร้างอีกครั้ง

พ.ศ. 2488 เกิดสงครามทหารญี่ปุ่นยกพลขึ้นเมืองไทยผ่านไปประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์ รถไฟสายใต้วิ่งจากหาดใหญ่ไปสถานีสุไหงโก-ลก ชายแดน ขนทหารและสัมภาระผ่านหน้าวัดช้างให้ วัดช้างให้ก็อยู่ในสภาพเดิมยังมิได้บูรณะ วัดช้างให้ซึ่งตั้งติดอยู่กับทางรถไฟเป็นทางผ่านไปยังจังหวัดยะลา นราธิวาส และชายแดนมาเลเซีย เจ้าอาวาสวัดช้างให้ต้องรับภาระหนักต้องจัดหาที่พักหาอาหารมาเลี้ยงดูผู้คนที่มาขอพักอาศัยพักแรมในระหว่างเดินทาง วัดได้มีถาวรวัตถุ ดังนี้ ศาลาการเปรียญ อุโบสถ หอฉัน หอระฆัง กุฏิ สถูปบรรจุอัฐิหลวงพ่อทวด กำแพงวัด อาคารเรียน โรงเรียนสมเด็จหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด

พ.ศ. 2497 สร้างกำแพงอุโบสถ แทนอุโบสถหลังเดิมที่ปรักหักพังจนเหลือแต่ฐานราก และได้ทำพิธีปลุกเสกพระเครื่องหลวงพ่อทวดวัดช้างให้ ณ เนินดินบริเวณอุโบสถเก่า ได้ปัจจัยสมทบสร้างอุโบสถ

พ.ศ. 2499 พิธียกช่อฟ้าอุโบสถ

พ.ศ. 2500 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา

พ.ศ. 2501 ทำพิธีผูกพัทธสีมา

สถานที่[แก้]

พระธาตุเจดีย์วัดช้างให้ รูปแบบ เป็นเจดีย์ 5 ยอด โดยมีองค์ใหญ่อยู่ตรงกลาง ด้านล่างเป็นห้องโถง มีระเบียงเป็นวิหารคตรอบองค์พระเจดีย์ ฉัตรทองคำหนัก 100 บาท เป็นฉัตร 7 ชั้น ประดับทับทิมประดิษฐานอยู่บนยอดเจดีย์ ภายในองค์พระธาตุเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ความสูง 59.09 เมตร

  • วางศิลาฤกษ์ วันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2509
  • พิธียกฉัตรทองคำยอดเจดีย์ วันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2520
  • วันจันทร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2530 บรรจุพระบรมสารีริกธาตุในองค์พระเจดีย์
  • วันพุธที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2531 พิธีบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ
  • วันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2495 ทำพิธีวางศิลาฤกษ์อุโบสถวัดช้างให้
  • วันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2499 ทำพิธียกช่อฟ้า
  • วันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา (ยาว 80 เมตร กว้าง 40 เมตร )
  • วันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2501 ทำพิธีผูกพัทธสีมา
  • พ.ศ. 2507 สร้างศาลาการเปรียญ เสร็จ พระประธานปางปฐมเทศนาพระพุทธไสยาสน์ พวงชุมพู วิหารสมเด็จหลวงพ่อทวด สถูปหลวงพ่อทวด เดิมเป็นเสาแก่นไม้ปักหมายเอาไว้ เรียกกันในภาษาท้องถิ่นว่า เขื่อน
  • พ.ศ. 2484 พระครูวิสัยโสภณ ได้ทำการบูรณะด้วยการก่ออิฐถือปูนห่อหุ้มเสาไม้ไว้
  • พ.ศ. 2503 สร้างกุฏิปัจจุบันเป็นที่ประดิษฐานรูปเหมือนหุ่นขึ้ผึ้ง พระครูวิสัยโสภณ (ทิม ธมฺมธโร)

รายนามเจ้าอาวาส[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  • หนังสือตำนานเมืองปัตตานีนั้น พระศรีบุรีรัฐพิพิธ (สิทธิ์ ณ สงขลา)

6°40′12″N 101°10′06″E / 6.6699°N 101.168467°E / 6.6699; 101.168467