วัดพระบาทมิ่งเมืองวรวิหาร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัดพระบาทมิ่งเมืองวรวิหาร
พระอารามหลวงแห่งแรกในจังหวัดแพร่
แผนที่
ชื่อสามัญวัดพระบาท
ที่ตั้งถนนเจริญเมือง ตำบลในเวียง อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ 54000
ประเภทพระอารามหลวง
เจ้าอาวาสพระราชเขมากร (ประยุทธ ภูริทตฺโต)
ความพิเศษเป็นศูนย์กลางการศึกษาพระพุทธศาสนาใน จังหวัดแพร่
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

วัดพระบาทมิ่งเมือง ตั้งอยู่ถนนเจริญเมือง อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ แต่เดิมเป็นวัดราษฎร์ต่อมาในปี พ.ศ. 2498 ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตยกฐานะวัดพระบาทมิ่งเมือง เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร

วัดพระบาทมิ่งเมืองมาจากสองวัดรวมกัน ได้แก่ วัดพระบาท และวัดมิ่งเมือง ตั้งอยู่ห่างกันเพียงมีถนน กั้นเท่านั้น วัดพระบาทเป็นวัดของพระยาอุปราชหรือเจ้าหอหน้า ส่วนวัดมิ่งเมืองเป็นวัดของเจ้าผู้ครองนครแพร่ เมื่อเมืองนครแพร่ถูกล้มเลิกระบบเจ้าผู้ครองนคร วัดทั้งสองก็ถูกทอดทิ้งอยู่ในสภาพทรุดโทรมมาก กระทั่งคณะกรมการจังหวัดเห็นสมควรรวมสองวัดเข้าด้วยกัน ให้ชื่อว่า วัดพระบาทมิ่งเมือง

วัดนี้เป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธโกศัยศิริชัยมหาศากยมุนี พระคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดแพร่ และยังมีพระเจดีย์มิ่งเมือง ซึ่งเป็นเจดีย์เก่าแก่มีรอย พระพุทธบาทจำลองอยู่ภายใน นอกจากนี้วัดนี้ยังเป็นที่ตั้งของอาคารยาขอบอนุสรณ์เพื่อระลึกถึง "ยาขอบ"หรือ นายโชติ แพร่พันธุ์ นักเขียนผู้ล่วงลับไปแล้วซึ่งเป็นทายาทเจ้านครเมืองแพร่องค์สุดท้าย

รายนามเจ้าอาวาส[แก้]

ลำดับ รายนาม ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
วัดพระบาท
1 พระครูพุทธวงษาจารย์ (ทองคำ พุทฺธวโส) พ.ศ. 2410 — 2455
2 พระปลัดคันธะ คนฺธวิชโย พ.ศ. 2455 — 2464
3 พระอธิการคำลือ กญจโน พ.ศ. 2464 — 2474
4 พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (ฟู อตฺตสิโว) พ.ศ. 2474 — 2492
วัดมิ่งเมือง
1 ครูบามณีวรรณ พ.ศ. 2365 — 2387
2 ครูบาวงษ์ พ.ศ. 2387 — 2420
3 ครูบาไชยลังการ์ พ.ศ. 2420 — 2462
4 พระครูมหาญาณสิทธิ์ (โท้ กญฺจโน) พ.ศ. 2462 — 2488
5 พระมหาโพธิวงศาจารย์ (สุจี กตสาโร) พ.ศ. 2488 — 2491
วัดพระบาทมิ่งเมืองวรวิหาร
1 พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (ฟู อตฺตสิโว) พ.ศ. 2492 — 2518
2 พระมหาโพธิวงศาจารย์ (สุจี กตสาโร) พ.ศ. 2518 — 2554
3 พระราชเขมากร (ประยุทธ ภูริทตฺโต) พ.ศ. 2554 - ปัจจุบัน

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]