วัดป่ากล้วย

พิกัด: 17°37′48″N 100°07′21″E / 17.629987°N 100.122537°E / 17.629987; 100.122537
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัดป่ากล้วย
ซุ้มประตูวัดป่ากล้วย
แผนที่
ชื่อสามัญวัดป่ากล้วย
ที่ตั้งตำบลคุ้งตะเภา อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ 53000
ประเภทวัดราษฎร์
นิกายเถรวาท มหานิกาย
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

วัดป่ากล้วย ตั้งหมู่ที่บ้านป่ากล้วย หมู่ที่ 2 ตำบลคุ้งตะเภา อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ อยู่ในเขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลคุ้งตะเภา มีฐานะเป็นวัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา (มีอุโบสถ) สังกัดการปกครองคณะสงฆ์มหานิกาย ภาค 5

วัดป่ากล้วยเป็นวัดโบราณแห่งแรกในตำบลคุ้งตะเภาที่มีอุโบสถ และเป็นวัดที่มีสำนักปฏิบัติธรรม (โดยพฤตินัย) แห่งเดียวของตำบล ตัววัดตั้งอยู่ติดตลิ่งริมแม่น้ำน่าน (ซึ่งตื้นเขินไปแล้ว) ใกล้กับสำนักงานเทศบาลตำบลคุ้งตะเภา

ประวัติ[แก้]

วัดป่ากล้วย มีที่ดินที่ตั้งวัดจำนวน 11 ไร่ 3 งาน 85 ตารางวา

พุทธศาสนิกชนได้ร่วมใจกันสร้างวัดนี้เพื่อเป็นที่ประกอบศาสนกิจและกิจกรรมของชุมชน ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อพ.ศ. 2420

สำนักวิปัสสนาวัดป่ากล้วย[แก้]

บรรยากาศสำนักปฏิบัติธรรมวัดป่ากล้วย ถ่ายเมื่อปี พ.ศ. 2549

วัดป่ากล้วยมีสำนักปฏิบัติธรรม 1 แห่ง คือ สำนักวิปัสสนาวัดป่ากล้วย มีพระเฉลิมโชค ฉนฺทชาโต เป็นเจ้าสำนัก สำนักปฏิบัติธรรมมีทั้งอุบาสก,อุบาสิกา เข้ามาบวชถือศีล 8,ศีล 5 สำนักปฏิบัติธรรมนี้จัดแยกส่วนสัดสำนักปฏิบัติธรรมเป็นภูมิทัศน์แบบวัดป่า โดยแบ่งเขตพื้นที่ด้านทิศตะวันออกของทางวัดเป็นสำนักเอกเทศ

รายนามเจ้าอาวาสวัดป่ากล้วย[แก้]

รายนามเจ้าอาวาสวัดป่ากล้วยเท่าที่มีหลักฐานสืบค้นได้

ชื่อ ฉายา ตำแหน่งทางคณะสงฆ์ ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
พระอธิการสอน ไม่ทราบฉายา ไม่ทราบ ไม่ทราบปี
พระอธิการอินทร์ ไม่ทราบฉายา ไม่ทราบ ไม่ทราบปี
พระอธิการสมบุญ จนทสิริ ไม่ทราบ ไม่ทราบปี
พระอธิการไสว อุคคโต ไม่ทราบ ไม่ทราบปี
พระมหาจรูญ คุทตจิตโต ไม่ทราบ ไม่ทราบปี
พระอธิการวงษ์ สหธมโม ไม่ทราบ ไม่ทราบปี
พระอธิการแจง ภทฺทปุญโญ ไม่ทราบ พ.ศ. - ปัจจุบัน
พระครูสุธรรมาจารย์ (พร้อม ธนปาโล) - ไม่ทราบ พ.ศ. 2534 - พ.ศ. 2555
พระครูสังฆรักษ์สมหมาย สุขกาโม (รก.จร.) - ไม่ทราบ 10 มกราคม พ.ศ. 2555- พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

อาณาเขตที่ตั้งวัด[แก้]

(รอเพิ่มเติมเนื้อหาในส่วนนี้)

ศาสนสถาน-ถาวรวัตถุ[แก้]

อุโบสถวัดป่ากล้วยบูรณะใหม่เมื่อปี พ.ศ. 2550
  • อุโบสถ กว้าง 6 เมตร ยาว 14 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2420 บูรณะเมื่อ พ.ศ. 2550
  • ศาลาการเปรียญ กว้าง 21 เมตร ยาว 28 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2492
  • หอสวดมนต์ต์ กว้าง 11.50 เมตร ยาว 15.30 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2507
  • กุฏิสงฆ์ จำนวน 4 หลัง เป็นอาคารไม้ 3 หลัง และตึก 1 หลัง
  • วิหารอดีตเจ้าอาวาส กว้าง 4 เมตร ยาว 7.20 เมตร ก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. 2537
  • หอระฆัง กว้าง 2.50 เมตร ยาว 2.50 เมตร
  • กำแพงวัด สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก เมื่อปี พ.ศ. 2520

ข้อมูลจำเพาะ[แก้]

ได้รับพระบรมราชานุญาตให้สร้างวัด ตามพระราชบัญญัติลักษณะการปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. 121 เมื่อปี ?

มีพระบรมราชโองการพระราชทานวิสุงคามสีมา ปี พ.ศ. 2420

ที่ดินของวัด[แก้]

ที่ดินเฉพาะบริเวณที่ตั้งวัด มีเนื้อที่ 11 ไร่ 3 งาน 85 ตารางวา โดยมีหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นโฉนด เลขที่ 8020

และที่ธรณีสงฆ์ มี 1 แปลง รวมเนื้อที่ทั้งสิ้น 1 ไร่ 3 งาน 16 ตารางวา

สังกัดการปกครองคณะสงฆ์[แก้]


ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

17°37′48″N 100°07′21″E / 17.629987°N 100.122537°E / 17.629987; 100.122537